ถ้าถามนักลงทุนหลายๆ คนว่า ลงทุนในกองทุนรวมได้อะไรบ้าง? คำตอบส่วนใหญ่คงไม่พ้น โอกาสของกำไร (โอกาสสร้างผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุน) และรวมถึงโอกาสในการได้รับเงินปันผล (ถ้ากองทุนรวมนั้นมีนโยบายจ่ายปันผล) ใช่ไหมครับ

แต่ถ้าใครรู้จักกับ กองทุนเปิดกรุงไทย ยกกำลังสุข(ภาพ) หรือ Krung Thai Happy Health (KTHH) อาจจะต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ เพราะการลงทุนในกองทุนรวมนี้จะได้ “ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่ม” มาด้วย 

ใช่ครับ... ฟังไม่ผิดหรอกครับ ลงทุนแล้วได้ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มด้วย และไม่ใช่การได้แบบเป็นของแถม แต่มันเพิ่มขึ้นตามมูลค่าเงินลงทุนด้วยครับ แต่ก่อนที่จะไปว่าถึงเรื่องราวของประกัน ผมขอเชิญหันกลับมาทำความรู้จักกับกองทุนนี้ให้ดีก่อนครับ 

รู้จักกับกองทุนเปิดกรุงไทย ยกกำลังสุข(ภาพ)

สำหรับกองทุน KTHH เป็นกองทุนใหม่ที่เปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 3-21 สิงหาคม 2563 โดยมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (Fund of Funds) หลากหลายประเภท ตั้งแต่หน่วย CIS กองทุนรวมอีทีเอฟ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยมีกลยุทธ์ในการบริหารแบบ Active Management (หรือเอาชนะผลตอบแทนของตลาด) นั่นเองครับ ซึ่งกรอบการลงทุนสามารถเป็นได้ตามรูปด้านล่างนี้ครับ

โดยตัวอย่างพอร์ตการลงทุนตามตารางด้านบน ใช้สมมติฐานในการลงทุนกองทุน Fund of Fund ของ KTAM และมีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มที่ 1.50% ต่อปี และมีการปรับพอร์ต (Rebalance) ในทุกๆเดือนตามสัดส่วนดังนี้ครับ

ผลการดำเนินงานในอดีตที่ได้จากตัวอย่างพอร์ตการลงทุนข้างต้น มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ดังนั้น ถ้าเรามองภาพรวมของการลงทุนในกองทุนนี้ (เฉพาะส่วนของการจัดพอร์ทและนโยบายการลงทุน) ก็จะเห็นว่ากองทุนนี้เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระยะกลางหรือระยะยาว และสามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (จากการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ) ร่วมกับการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทที่มีความเสี่ยงแตกต่างกันไป (ซึ่งตรงนี้อยู่ที่ความเสี่ยงของแต่ละคนที่ยอมรับได้แล้วล่ะครับ)

แต่อย่างที่บอกไปครับ โอกาสการได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนนี้ไม่ได้มีแค่การลงทุน แต่เขายังพูดในเรื่องของประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มด้วย โดยผู้ที่มีมูลค่าเงินลงทุนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะได้รับแผนความคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุที่ดูแลจากทางทิพยประกันภัย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ครับ

โดยหลักการของการได้รับความคุ้มครองตามแผนการลงทุนนั้นจะมีรายละเอียดดังนี้ครับ

ความคุ้มครองตามแผนการลงทุนที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลา

  1. กรณีซื้อหน่วยลงทุน ณ วันที่ IPO โดยมีมูลค่าเงินลงทุนเป็นไปตามที่กำหนด จะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่จดทะเบียนกองทุนเป็นต้นไป (อย่างในกรณีนี้ความคุ้มครองจะเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ครับ)
  2. กรณีซื้อหน่วยลงทุนหลังจากวันที่ IPO หากเป็นการซื้อภายในวันที่ 20 ก่อนเวลา 15.30 น. ของเดือนนั้น ๆ วันที่จะได้รับสิทธิ์คุ้มครองคือวันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่ลงทุน แต่ถ้าหากซื้อหลังวันที่ 20 จะได้รับความคุ้มครองในวันที่ 1 ของเดือนที่ถัดจากเดือนที่ลงทุน 2 เดือนครับ เช่น
    1. ซื้อหน่วยลงทุนวันที่ 18 กันยายน 2563 ได้รับความคุ้มครองวันที่ 1 ตุลาคม 2563
    2. ซื้อหน่วยลงทุนวันที่ 21 กันยายน 2563 ได้รับความคุ้มครองวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563

โดยความคุ้มครองจะสิ้นสุดในกรณีที่มีมูลค่าเงินลงทุนคงเหลือต่ำกว่า 50,000 บาท (มูลค่าเงินลงทุนคงเหลือ = มูลค่าเงินที่ผู้ถือหน่วยซื้อ / สับเปลี่ยนเกองทุน - มูลค่าเงินที่ผู้ถือหน่วย ขาย /สับเปลี่ยนออกจากกองทุน) โดยวันสิ้นสุดความคุ้มครองจะเป็นวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ทำรายการขายหน่วยลงทุนครับ เช่น ขายหน่วยลงทุนวันที่ 22 กันยายน 2563 จะถือว่าสิ้นสุดความคุ้มครองในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 หรืออีกกรณีหนึ่งคือ กรณีกรมธรรม์ประกันสิ้นสุดข้อตกลงกับทางกองทุนเปิดกรุงไทย ยกกำลังสุข(ภาพ) กับ บริษัทประกันภัย

การคิดต้นทุนเฉลี่ยในการได้รับสิทธิความคุ้มครอง

โดยหลักการของการคิดแผนการลงทุนนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตามมูลค่าเงินลงทุน (ต้นทุนสะสมของเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน) ที่แตกต่างกันไป และมีเงื่อนไขในการคำนวณตามตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

จากตัวอย่างแรก จะเห็นว่ากรณีแผนประกัน (ความคุ้มครอง) จะเปลี่ยนตามต้นทุนสะสมของเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งหากมีการลงทุนเพิ่มแล้วถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็สามารถได้ปรับแผนประกันตามสิทธิที่ได้รับจาก 1 เป็น 2 และกลับลงมาเป็น 1 เมื่อต้นทุนต้นทุนสะสมของเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนเปลี่ยนแปลงครับ

จากตัวอย่างที่สอง แผนประกัน (ความคุ้มครอง) จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการขายหน่วยลงทุน และถ้าหากขายหน่วยลงทุนจนมีมูลค่าต้นทุนสะสมของเงินลงทุนต่ำกว่ามูลค่าที่กำหนดไว้คือ 50,000 บาท จะถูกบังคับขายหน่วยลงทุนทั้งหมด และหมดสิทธิได้รับความคุ้มครอง

จากตัวอย่างที่สาม แผนประกัน (ความคุ้มครอง) จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการขายและซื้อหน่วยลงทุน โดยดูจากมูลค่าต้นทุนสะสมของเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้สนใจในมูลค่าของหน่วยลงทุน (NAV) ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่

จากตัวอย่างสุดท้าย กรณีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวจะเห็นว่าแผนประกัน (ความคุ้มครอง) ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าต้นทุนสะสมของเงินลงทุนเมื่อไร แผนประกันจะถูกปรับเปลี่ยนตามมูลค่าต้นทุนสะสมของเงินลงทุนเช่นกันครับ

ดังนั้นโดยสรุปของความคุ้มครองที่ได้รับ จะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ วันเวลาที่ซื้อหน่วยลงทุน และ มูลค่าของต้นทุนสะสมของเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการลงทุนนั่นเองครับ 

ค่าธรรมเนียม

สำหรับในส่วนของค่าธรรมเนียม ทางกองทุนมีการคิดค่าบริหารจัดการดังนี้ครับ

แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนของ KTAM เหมือนกัน ทางกองทุนนี้จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซ้ำซ้อนกับกองทุนปลายทางครับ

บทสรุป

โดยรวมแล้ว นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนของนักลงทุนที่ต้องการทั้งโอกาสจากการลงทุนและประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มที่ช่วยคุ้มครองความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ซึ่งถ้าหากใครต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนนี้ ดูได้ที่ https://www.ktam.co.th/mutual-fund-detail.aspx?IdF=416 หรือ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 ในเวลาทำการ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือ สามารถสอบถามแผนการคุ้มครองสุขภาพได้ที่: บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ศูนย์บริการลูกค้า 1736 กด 1

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพและอุบัติเหตุและเงื่อนไขกรมธรรม์เพิ่มเติมเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนมีปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง และความเสี่ยงจากราคาผันผวนของราคาหลักทรัพย์ เป็นต้น และกองทุนนี้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

บทความนี้เป็น Advertorial