สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินเสมอตอนช่วงปลายปี คือ “เข้าสู่ช่วงลดหย่อนภาษีประจำปีอีกแล้ว คงต้องวางแผนลดหย่อนภาษี” ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลือกที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น คือ กองทุนที่ตอบโจทย์เป้าหมายการเงินของเรา อย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่แต่ละคนเลือกใช้เพื่อวางแผนลดภาษีไปพร้อมกับเป้าหมายการเงินที่มี

แต่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษี สิ่งที่จะช่วยให้เราเลือกตอบโจทย์ได้ชัดเจนกว่าเก่า นั่นคือ เราต้องรู้ว่า เรามีเป้าหมายอย่างไร และควรเลือกกองทุนแบบไหนเพื่อให้สอดคล้องกับการประหยัดภาษีที่ได้รับ

ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้กองทุน RMF เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายในวัยเกษียณ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) หรือมองว่าสิ่งที่เราจะได้ประโยชน์จาก RMF อาจจะไม่ใช่จบแค่เป้าหมายเกษียณ แต่เป็นการเตรียมเงินไว้ในอนาคตอีกหลายสิบปีข้างหน้า เพื่อตอบโจทย์การใช้จ่ายด้านอื่น อย่างการวางแผนเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ให้ลูกหลาน  หรือ ทำตามความฝันอื่น ๆ ในยามที่เราไม่ได้ทำงาน ก็ไม่ผิดอะไร หากระยะเวลาที่เลือกใช้ เป้าหมาย และความเสี่ยงนั้นตอบโจทย์ที่เราต้องการ

เช่นเดียวกับ กองทุน SSF ที่ใช้ตอบคำถามถึงเป้าหมายการเงินในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่าเรามีเป้าหมายอะไรที่อยากคว้ามาให้ได้บ้าง ถ้าเป็นวัยทำงาน อาจจะเป็นการดาวน์บ้านในฝัน เก็บเงินไปปั้นธุรกิจ หรือ เตรียมวางแผนชีวิตในวัยกลางคน หรือ ใช้สำหรับเป้าหมายตามใจ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพียงแต่เราต้องคิดและเข้าใจเงื่อนไขกับสิ่งที่เราเลือกลงทุน

แต่มาถึงตรงนี้ คำถามที่มีคือ ในช่วงการลงทุนผันผวนแบบนี้ เราเลือกกองทุนแบบไหนดี เพื่อให้เป้าหมายการเงินที่มีนั้นไม่ผิดพลาด ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะสิ่งที่เราต้องตอบให้ได้ คือ

1. เราเข้าใจสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนแค่ไหน มองอนาคตไว้อย่างไรบ้าง? เนื่องจากกองทุนในทุกวันนี้มีให้เลือกมากมาย ทั้งหลากหลายสินทรัพย์ที่ลงทุน ต่างประเทศ เทคโนโลยี สุขภาพ มีมากมายแตกต่างกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจในพื้นฐานของสินทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องเข้าใจ

2. เรามองเห็นโอกาสแบบไหน และรับความเสี่ยงได้เท่าไร เมื่อเข้าใจแล้ว สิ่งที่ต้องคิดให้ชัดต่อคือ แล้วโอกาสที่เราเห็นจากสินทรัพย์นั้นมันเป็นอย่างไร ซึ่งต้องมองกันไปที่ข้างหน้า ไม่ใช่แค่กำไรดี หรือ ขาดทุนหนักในตอนนี้ เพราะยิ่งสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

3. อย่าลืมว่า ลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาว ไม่ใช่แค่วันนี้ หรือ ไม่กี่ปี อย่างน้อยที่สุดก็ 10 ปี (สำหรับ SSF) หรือไปจนถึงอายุ 55 ปี (สำหรับ RMF) ดังนั้นไม่ใช่ลงทุนแล้วปล่อยทิ้ง ต้องคอยดูกันต่อ บริหารกันต่อไป ความน่าเชื่อถือของกองทุนและสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนถือว่าสำคัญมากไม่แพ้กันอย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันกองทุนส่วนใหญ่จะมีรูปแบบ Theme การลงทุนชัดเจนอยู่แล้ว เหลือแค่เราต้องเลือกและทำความเข้าใจว่า เราอยากได้กองทุนแบบไหนนั่นแหละ

แต่สำหรับใครที่ยังคิดไม่ออก ลองพิจารณาดู Theme การลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจในอนาคตจากทาง KTAM กันบ้าง ซึ่งมีทั้งหมด 4 กองทุน ดังนี้

Theme การลงทุนชื่อกองทุนสินทรัพย์ที่ลงทุนเหมาะสำหรับระดับความเสี่ยงของกองทุน
สุขภาพKT-HEALTHC RMFเน้นลงทุนใน Janus Henderson Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีอย่างน้อย 80% ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กับการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวกับการรักษาหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีการแพทย์ และคาดหวังการเติบโตจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ในระยะยาว7
ประเทศจีนKT-Ashares RMFเน้นลงทุนใน Allianz Global Investor Fund - Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อย 70% ในตลาดหุ้น A-Shares ของจีนและตลาดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นของประเทศจีน โดยคาดหวังจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในระยะยาว ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงปรับฐาน ถือเป็นโอกาสในการสะสมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุน6
เอเชียและตลาดเกิดใหม่KT-ASIAG-SSFเน้นลงทุนใน JPMorgan Funds – Asia Growth Fund (กองทุนหลัก) โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนอย่างน้อย 67% ในหุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ในภูมิลำเนาหรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) รวมถึงตลาดเกิดใหม่ผู้ที่สนใจตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยคาดหวังการเติบโตในภูมิภาคเอเชียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 6
เวียดนามKT-VIETNAM-SSFเน้นลงทุนโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีอย่างน้อย 80%ในหุ้นที่จดทะเบียน และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือมีรายได้หลัก และ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามผู้ที่สนใจตลาดเวียดนามที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต ซึ่งมีปัจจัยบวก ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาครัฐที่ผ่อนคลาย การเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ และระดับราคาหุ้นที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา6

แน่นอนว่าในช่วงที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจ โรคระบาด หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดความผันผวน แต่ถ้าหากเรามองเป้าหมายระยะยาว และวางแผนสะสมกองทุนได้ตลอดทั้งปี ด้วยวิธี DCA (Dollar Cost Averaging : การลงทุนแบบทยอยลงทุนเป็นงวดๆ ด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน) และติดตามผลตอบแทนจากการลงทุนไป ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่สะดวก เพื่อเป้าหมายระยะยาวที่เราต้องการ สำหรับคนที่มีชีวิตหลายด้านต้องรับผิดชอบแบบเรา ๆ

ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญ คือ เป้าหมายการเงินที่เรามี และ การเลือกสินทรัพย์ที่ลงทุนร่วมกับการจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับที่เราต้องการ และผลของความผันผวนของผลตอบแทนนี่แหละ จะเป็นสิ่งที่บอกว่า เราเข้าใจสินทรัพย์ลงทุนมากแค่ไหน อย่าลืมเช็คความต้องการ ความเสี่ยง และเป้าหมายของตัวเองให้ดี ในทุกๆ ปีที่เราวางแผนลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนเหล่านี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ที่เหมาะสมกับชีวิตเรา

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ คลิก

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/ หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

บทความนี้เป็น Advertorial