เนื่องด้วย วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันสุขภาพจิตโลก อัศวินจึงอยากชวนเพื่อนๆ ทุกคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องเงิน มาหาทางบริหารสุขภาพจิตไปพร้อมกับบททดสอบที่อัศวินได้เตรียมไว้ให้เพื่อนๆ ได้ลองมาสำรวจอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมต่างๆ พร้อมกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อสุขภาพจิตของเราเพื่อให้ชีวิตของเรานั้นดีขึ้นไม่มากก็น้อยครับ 

ก่อนอื่นเลย อัศวินอยากจะเล่าให้ฟังว่าปัญหาสุขภาพจิตนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยนะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตอยู่ ล้วนส่งเสริมให้เราเกิดความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตได้ ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่า เราจะสามารถสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร งั้นลองมาเช็คอาการเบื้องต้นกัน

ร่างกายเริ่มผิดปกติ

หากวันหนึ่งที่เราตื่นขึ้นมาทำงานด้วยอาการเท้าชา หัวใจสั่นผิดปกติ หายใจลำบาก ร่างกายกำลังฟ้องเราว่า ภาพรวมของสุขภาพจิตของเรานั้นกำลังเข้าสู่โหมดความเครียด ซึ่งทำให้ประสาทต่างๆ ในร่างกายถูกเร่งเร้าให้ทำงานมากกว่าปกติ และหากเป็นอยู่บ่อยครั้ง อาจนำมาสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ก็เป็นได้

เริ่มมองตัวเองในแง่ร้าย

อาการนี้บ่งบอกถึงสภาพจิตใจที่เริ่มผิดปกติ ในกรณีที่เราเริ่มมองตัวเองในแง่ร้ายเกินไปอยู่บ่อยครั้ง และมีความคิดไม่ดีต่อคนรอบข้าง เริ่มวิตกกังวลอยู่บ่อยครั้ง และมีการย้ำคิดย้ำทำบ่อยๆ จนควบคุมความคิดตัวเองไม่ค่อยได้ นี่คือสัญญาณอันตรายว่าสุขภาพจิตของเรากำลังเจอปัญหาเสียแล้ว 

เริ่มรู้สึกเซื่องซึม

อาการในข้อนี้คือสิ่งที่สะท้อนถึงปัญหาทางอารมณ์ของคนที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต นอกจากอาการที่เซื่องซึมมากกว่าปกติ อัศวินอยากให้สังเกตว่า หากมีอาการวิตกกังวล หวาดกลัว เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เพลีย และเหนื่อยง่าย นั่นหมายถึงเราอาจมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ด้วย

เมื่อแนวโน้มสุขภาพจิตของเราส่งสัญญาณไปในทางที่ไม่ดี ดังนั้น เราจึงต้องมีกลวิธีเช็คสุขภาพจิตกับโรคซึมเศร้า ให้เราได้รู้ว่า ภาวะด้านจิตใจของเรานั้นอยู่ในระดับไหน เพื่อให้เราได้รู้เท่าทันและป้องกันความเสี่ยงกับชีวิตเอาไว้ก่อนย่อมดีกว่า โดยวิธีเช็คสุขภาพจิตกับโรคซึมเศร้านี้ จะเป็นการให้ระดับคะแนนกับประเด็นคำถามที่ถูกออกแบบมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างดี และจะมีระบบคำนวณระดับคะแนนพร้อมแบ่งเกณฑ์ว่าเราอยู่ในเกณฑ์ไหนนั่นเอง เช่น 

  1. เบื่อไม่อยากทำอะไร
  2. นอนหลับยาก
  3. เบื่ออาหาร
  4. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
  5. คิดทำร้ายตัวเอง 

โดยหากใครอยากรู้ว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น อัศวินอยากให้ทุกคนลองเข้าไปเช็คให้คะแนนตัวเองกับประเด็นคำถามต่างๆ จากชุดคำถามของทางมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตามลิงก์นี้เลยนะครับ https://bit.ly/2VYzkXB

หากใครได้ลองทำแล้วอยู่ในเกณฑ์ปกติอัศวินก็ยินดีด้วยนะ แต่หากใครอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงในระยะเริ่มต้น อัศวินอยากจะบอกว่าไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเราสามารถค่อยๆ เยียวยารักษาและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเพื่อทำให้จิตใจและร่างกายของเราดีขึ้นจากวิธีเหล่านี้

หาผู้รับฟังที่ดี

ความเครียด ความวิตกกังวล สามารถแก้ไขได้ด้วยการเจอผู้รับฟังที่ดี ซึ่งผู้รับฟังที่ดีก็อาจอยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อนที่เราสนิทและไว้ใจต่อการบอกความลับ และความกังวลใจให้พวกเขาได้รับฟัง ซึ่งทำให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยวที่จะแก้ไขปัญหาที่ค้างคาใจอยู่คนเดียวบนโลกใบนี้นั่นเอง

ออกกำลังกายให้ผ่อนคลาย

เรื่องของสุขภาพจิตไม่ได้ต้องแก้ไขที่จิตใจอย่างเดียว แต่เราสามารถแก้ไขได้จากการออกกำลังกายในสไตล์ที่เราชื่นชอบ เช่น การวิ่ง การเล่นโยคะ หรือการไปหากีฬาที่เล่นเป็นทีม เพื่อพบปะผู้คน นอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและจิตใจแล้ว เรายังได้เจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ต่อการรักษาความรู้สึกได้ด้วยเช่นกัน 

งานอดิเรกจะเยียวยาความหมายของชีวิต 

ข้อสุดท้ายของการเยียวยาที่อัศวินอยากแนะนำ คือข้อมูลคำแนะนำจากแพทย์ นั่นคือการหางานอดิเรกที่น่าสนใจมาทำ เพื่อช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิและจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ดีขึ้น แถมงานอดิเรกบางงานยังอาจเป็นงานที่ช่วยเยียวยาจิตใจ และเพิ่มความหมายของการมีชีวิตอยู่ให้เราได้ด้วยเช่นกัน

ท้ายที่สุดแล้ว อัศวินอยากจะบอกว่าการบริหารสุขภาพจิตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตเรา การปล่อยให้ตัวเองเครียดนั้นย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจและการกระทำในด้านอื่นๆ ดังนั้น หากเกิดอาการเครียดจนจิตตก ก็อย่าลืมปรึกษาคนใกล้ตัว หาเวลาออกกำลังกาย และหางานอดิเรกทำ แต่หากไม่ไหวจริงๆ ก็สามารถโทรไปปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตได้ที่ 1323 ได้เหมือนกัน และหากอาการไม่ดีก็ควรไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านนี้เลยดีกว่า

แม้เราจะรู้ทั้งสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตแล้ว แต่จะดีกว่านี้หากเรามีการวางแผนความเสี่ยงด้วยการลงทุนในประกัน iLink ประกันชีวิตควบการลงทุน จากกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ที่สามารถสร้างความอุ่นใจได้ด้วยสัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR  ให้คุณเลือกเพิ่มความคุ้มครองได้ดั่งใจ หลากหลายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ พร้อมประโยชน์ที่เหนือกว่าด้วย

  • การันตีความคุ้มครองต่อเนื่อง 5 ปีแรก แม้มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนจะไม่เพียงพอ
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด 280 เท่า*
  • ให้ผลประโยชน์สูงสุด 3 ต่อ กรณีเสียชีวิต  
  • แนบสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงได้ ความคุ้มครองสูงสุด 200%

สนใจติดต่อสอบถามที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ได้ที่ โทร 1159 หรือทางเว็บไซต์ https://ktaxa.live/ilink-cs-21

อ้างอิง:

แบบทดสอบโรคซึมเศร้า https://bit.ly/2VYzkXB

วิธีเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี https://bit.ly/3lHxvam