ช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงจนพอร์ตหลายคนติดลบไปตาม ๆ กัน ทำให้เริ่มไม่แน่ใจว่าการลงทุนในหุ้นจะยังให้ผลตอบแทนที่ดีหรือไม่?

จริง ๆ แล้วในระยะยาว หุ้นก็ยังให้ผลตอบแทนได้ดีเสมอครับ เพียงแต่ต้องมีเทคนิคกันหน่อย นั่นก็คือการเลือกลงทุนใน “เมกะเทรนด์” เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง และสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ

สิ่งที่น่าสนใจหลังจากนี้ คือการลงทุนเมกะเทรนด์ในต่างประเทศ เพราะโครงสร้างธุรกิจ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปไกล เห็นได้ชัดจากการฟื้นตัวหลังยุคโควิด ที่ตอนนี้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ และเดินหน้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจกันแล้ว

แต่ถ้าใครไม่มีเวลาติดตามตลาด หรือยังจับจังหวะซื้อ-ขายหุ้นไม่ได้ การซื้อกองทุนก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพมาคอยดูแลให้เรา ซึ่งในช่วงปลายปีแบบนี้หลายคนก็กำลังมองหากองทุนเพื่อช่วยลดหย่อนภาษีอย่าง SSF และ RMF อยู่พอดี

ตอนนี้ทาง บลจ.กรุงศรี ก็มี 4 คู่หูกองทุนที่น่าสนใจ มาในธีมการลงทุนต่างประเทศ ที่คัดเลือกหุ้นเมกะเทรนด์ที่มีการเติบโตสูง รับรองว่าถูกใจนักลงทุนระยะยาวแน่นอน จะมีกองทุนไหนบ้างไปดูกันเลย

1. กองทุน KFGGSSF / KFGGRMF

กองทุนนี้จะลงทุนผ่าน Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund ที่ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาว*จาก Morningstar ซึ่งทาง Baillie Gifford มองว่า หุ้นส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาด อาจสร้างผลตอบแทนไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของตลาดมากนัก จึงเลือกมองหาหุ้นที่เป็น Fat Tail ที่มีอยู่น้อยมากในตลาดแต่สร้างผลตอบแทนได้สูง

*ที่มา Morningstar Rating: Baillie Gifford ณ 30 มิ.ย. 64

การจัดอันดับจาก Morningstar ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด

กองทุนหลักมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตในอนาคต ซึ่งธีมใหญ่ ๆ ที่กองทุนเข้าไปลงทุน ก็อย่างเช่น Retail, E-Commerce, Software, Wealth, Media และ Health Care

ซึ่งกลยุทธ์ของกองทุนจะเน้นหุ้นของบริษัททั่วโลกที่มีการเติบโต (Growth) สูง แต่ไม่ใช่เติบโตสูงแค่ภายในปีเดียวหรือเพียงไตรมาสเดียว แต่เน้นภาพรวมระยะยาว 10 ปี ดังนั้นจึงเป็นเหมือนการรวบรวมหุ้นเติบโตสูงไว้ในกองทุนเดียว

จะเห็นได้ว่าผลการดำเนินงานของกองทุนหลักเรียกได้ว่าโดดเด่นมาก ในยามที่ตลาดหุ้นเป็นบวก กองทุนก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีชี้วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2563 ที่มีการระบาดของโควิด-19 หรือในช่วงนี้ตลาดหุ้นติดลบ กองทุนนี้ก็ขาดทุนน้อยกว่าดัชนีชี้วัด

2. กองทุน KFUSSSF / KFUSRMF

กองทุนนี้สไตล์จะใกล้เคียงกับ KFGG คือเน้นการลงทุนระยะยาว 10 ปีเหมือนกัน แต่จะเจาะการลงทุนในหุ้นของตลาดหุ้นอเมริกาซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูง บริหารโดย Baillie Gifford แต่คนละทีมบริหาร ดังนั้นจึงมีมุมมองและธีมการลงทุนที่แตกต่างกัน

เห็นได้ว่าธีมการลงทุนของ KFUSSSF และ KFUSRMF จะเน้นมุมมองของเมกะเทรนด์ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต ดังนี้

1. Future of Commerce : รูปแบบการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์

2. New Enterprise : ผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. Battle for Our Attention : ผู้ให้บริการข้อมูล สื่อความบันเทิงต่าง ๆ

4. Evolution of Transportation : ความก้าวหน้าของเทคโนโลยียานพาหนะ

5. Capital Allocation : การจัดสรรเงินทุน

6. Digitization of Finance : ตลาดการเงินในยุคดิจิทัล

7. Innovative Healthcare : ความก้าวหน้าทางวิทยาการทางการแพทย์

8. Change in Education : ธุรกิจการศึกษาออนไลน์

กองทุน KFUSSSF และ KFUSRMF สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าดัชนี้ S&P 500 ของตลาดหุ้นอเมริกาซึ่งสะท้อนศักยภาพการเติบโตของกองทุนได้ดี  (ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

แม้ว่ากองทุน KFGG และกองทุน KFUS จะมีหุ้นซ้ำกันอยู่ 12 ตัว คิดเป็นน้ำหนักที่ซ้ำกัน 35% (หรือราว 1 ใน 3) แต่ก็ยังมีหุ้นอื่น ๆ อีก 65% ที่ไม่ซ้ำกัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือหุ้นในส่วนที่แตกต่างกันนั้น สามารถสร้างผลการดำเนินงานได้ดีทั้ง 2 กองทุน

ดังนั้นการมีทั้งกองทุน KFGG และกองทุน KFUS อยู่ในพอร์ต จึงเหมือนได้หุ้นจากหลาย ๆ เซคเตอร์เข้ามาช่วยผสมและช่วยกระจายความเสี่ยง โดยที่ยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงเช่นกัน

แต่ถ้าปีนี้ ต้องตัดสินใจเลือกกองทุนตัวใดตัวหนึ่งก่อน ก็อาจจะเลือก KFUS เพราะมีธีมการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกา ซึ่งกำลังเติบโตได้ดี ขณะที่ KFGG นั้นมีหุ้น Tech ของจีน ซึ่งตอนนี้อาจจะยังสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีนัก แต่ในอนาคตจะต้องกลับมามีผลการดำเนินงานที่ดีแน่นอน เพราะไม่ว่าอย่างไรเทคโนโลยีก็ยังเป็นเมกะเทรนด์ของการลงทุน

3. กองทุน KFCLIMASSF / KFCLIMARMF

KFCLIMASSF และ KFCLIMARMF เป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่มีเทคโนโลยีลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั่วโลก แม้ว่าบางประเทศจะมีนโยบายด้านอื่น ๆ บางอย่างที่ขัดแย้งกัน แต่ในเรื่องของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) นั้น เหล่าประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ต่างเห็นตรงกันทั้งหมด

ดังนั้น นโยบายเรื่อง Climate Change จึงเป็นเทรนด์ใหญ่ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็น “ธีมการลงทุนแห่งทศวรรษ”

เมื่อก่อนนี้ นโยบายเรื่อง Climate Change ยังเป็นเพียงการรณรงค์เท่านั้น แต่ปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศเริ่มเปลี่ยนเป็นกฎหมายบังคับใช้ ทำให้บริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมืออาจต้องเจอกับ “Climate Wall” ถูกกีดกันทางการค้า ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ จึงต้องนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาด/พลังงานทดแทน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กองทุนจะกระจายการลงทุนตามสัดส่วนดังภาพ โดยมุ่งเน้นในธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามด้วยธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ และเมื่อมองสัดส่วนการลงทุนรายภูมิภาค ก็จะให้น้ำหนักกับประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่งตามด้วยกลุ่มประเทศในยุโรป

แม้ว่าในช่วงปี 2018 กองทุนหลักจะอยู่ในช่วงติดลบ เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา ตลาดจึงเกิดความกังวลทำให้หุ้นที่เคลื่อนไหวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรม, เทคโนโลยี และวัสดุ ปรับตัวลดลง แต่ปีต่อ ๆ มากองทุนหลักก็มีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง

4. กองทุน KFINFRASSF / KFINFRARMF

กองทุนนี้จะลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีการเติบโตสูง โดยลงทุนผ่าน Credit Suisse การลงทุนในเซคเตอร์ Infrastructure มีข้อดีคือ ช่วยกระจายการลงทุนให้หลากหลายในยามที่ตลาดมีความผันผวนสูง และตัวธุรกิจก็มีความมั่นคง เพราะเป็นสิ่งพื้นฐานที่มนุษย์ทั่วโลกต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

เชื่อว่าหลายคนยังไม่มีหุ้นโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในพอร์ตการลงทุน เพราะมองว่ามีโอกาสเติบโตไม่มาก แต่กองทุน KFINFRASSF / KFINFRARMF เล็งเห็นจุดนี้ จึงมีการผสมผสานระหว่างโครงสร้างพื้นฐานดั้งเดิม เช่น ท่าอากาศยาน ทางรถไฟ ท่าเรือ ฯลฯ กับโครงสร้างพื้นฐานแห่งโลกอนาคต เช่น เมืองอัจฉริยะ เครือข่ายการสื่อสาร คลื่นสัญญาณใหม่ พลังงานทดแทน ฯลฯ การลงทุนจึงได้ทั้งความมั่นคง และการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผลตอบแทนภาพรวมเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก ถือว่าทำได้ดี แต่เมื่อมอง YTD ที่น้อยกว่านั้น เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เพราะการ Rotation ของตลาดหุ้นโลกที่กลุ่ม Tech กำลังมาแรง แต่ข้อดีของกองทุนนี้คือ “การปรับพอร์ตเร็ว” จากเดิมที่เลือกลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน Next Gen เป็นหลัก แต่เมื่อเกิดการ Rotation จึงปรับพอร์ตชั่วคราวสู่เซคเตอร์ Energy เช่น ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ และกลุ่ม Traditional เช่น ทางด่วน ท่าเรือ ฯลฯ

พูดง่าย ๆ คือการ Rotation ของตลาดหุ้นโลกดังกล่าว ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนลดลง แต่กองทุนก็มีการปรับพอร์ตอย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ ทำให้ยังรักษาผลตอบแทนสม่ำเสมอได้ เมื่อเทียบกับกองทุน Infrastructure ทั่วโลก ถือว่ากองทุน KFINFRASSF / KFINFRARMF นั้นอยู่ในอันดับต้น ๆ

กองทุน KFUS และ KFGG เหมาะกับใคร?

คนที่ต้องการผลตอบแทนสูง ฉีกออกจากตลาดมาก ๆ แต่ด้วยความที่ลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตสูง จึงมีความผันผวนสูงเช่นกัน แต่ก็สามารถทดแทนได้ด้วยการถือครองระยะยาว

กองทุน KFCLIMA เหมาะกับใคร?

คนที่ไม่ต้องการรับความผันผวนมาก แต่ก็ยังต้องการผลตอบแทนที่เอาชนะตลาดได้พอสมควร

กองทุน KFINFRA เหมาะกับใคร?

คนที่ต้องการกระจายพอร์ตการลงทุน เน้นความมั่นคง สม่ำเสมอ และให้ความสนใจกับการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานแห่งโลกอนาคต

ปกติแล้วช่วงไตรมาส 4 จะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของตลาดหุ้น แต่ปีนี้สถานการณ์ยังไม่แน่นอน เพราะมีข่าวด้านลบพอสมควร ทั้งเรื่องความผันผวน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยนโยบาย ฯลฯ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นชั่วคราวเท่านั้น หากใครต้องการลงทุนระยะยาว นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการลงทุน

ซึ่งความผันผวนในตลาดหุ้น สามารถทดแทนได้ด้วยการลงทุนระยะยาวใน “เมกะเทรนด์” โดยกองทุน SSF และ RMF จาก บลจ.กรุงศรี ก็ตอบโจทย์นี้ ด้วยการคัดเลือกหุ้นบริษัทเติบโตดีจากทั่วโลก มาให้ลงทุนผ่านกองทุนที่ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งเราจะต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 10 ปีอยู่แล้ว หากเราเลือกธีมการลงทุนได้ถูกต้องแม่นยำ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ

ผู้ที่สนใจสามารถขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือเว็บไซต์ www.krungsriasset.com หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม และ RMF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวเพื่อเกษียณอายุ

ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

  • KFUSRMF, KFUSSSF  มีนโยบายลงทุนใน Baillie Gifford Worldwide US Equity Growth Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง และกองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน / กองทุนลงทุนกระจุกตัวในทวีปอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • KFCLIMASSF, KFCLIMARMF มีนโยบายลงทุนใน DWS Invest ESG Climate Tech (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง และกองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน
  • KFINFRASSF, KFINFRARMF มีนโยบายลงทุนใน Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง และกองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFGGSSF, KFGGRMF มีนโยบายลงทุนใน  Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง และกองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFCLIMASSF / KFCLIMARMF / KFUSSSF / KFUSRMF มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้    ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไร/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

บทความนี้เป็น Advertorial