ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และส่งผลต่อคนทำงานที่เป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้าง ปิดกิจการ หรือว่าให้ออกจากงานด้วยความจำเป็น

เมื่อชีวิตต้องออกจากงานแบบไม่ทันคาดคิด อาจจะมีคำถามตามมาติดๆ มาว่า แล้วกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ที่มีอยู่ จะทำยังไงดี ? เอาเงินออกมาใช้เลยดีไหม หรือว่าจะบริหารจัดการต่อไปให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรามาฟังคำตอบกันครับ

ประเด็นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับการเสียภาษี

สำหรับคนที่ตัดสินใจนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมา ต้องเจอกับปัญหาในเรื่องของภาษี อาจจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมากเพราะต้องนำมารวมกับเงินเดือนทั้งก้อน (กรณีทำงานไม่ถึง 5 ปี) หรือเสียภาษีลดลงหน่อยเพราะสามารถแยกคำนวณภาษีออกมาต่างหากได้ (กรณีทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) 

ถ้าไม่อยากเสียภาษีจาก PVD ต้องทำอย่างไร? วางแผนแบบไหน? 

สำหรับคนที่คิดว่าจะไม่นำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาเนื่องจากต้องการเก็บเงินก้อนนี้ให้ทำงานสร้างผลตอบแทนต่อรอวันเกษียณ และมองว่าตัวเองมีเงินสดหมุนเวียนเพียงพอและยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินส่วนนี้ มีหนทางที่จะทำให้เราไม่เสียภาษีอยู่ 3 วิธีครับ

  1. ย้ายไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ โดยทางเลือกนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อที่ทำงานใหม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรองรับ 
  2. ขอคงเงินไว้ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมก่อน เนื่องจากสถานการณ์แบบนี้บีบบังคับให้หางานใหม่ลำบาก หรืออาจจะต้องเป็นฟรีแลนซ์ รวมถึงที่ทำงานบางทีก็อาจจะไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ 
  3. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการคงเงินปีละ 500 บาท 
  4. เงื่อนไขของกองทุนนั้นเปิดให้คงเงินได้กี่ปี
  5. เปิดให้เปลี่ยนนโยบายลงทุนได้หรือไม่ กรณีเปิดให้เปลี่ยนได้ นโยบายลงทุนมีทางเลือกหลากหลายแค่ไหน 
  6. ถ้านายจ้างปิดกิจการ จะไม่สามารถคงเงินได้
  7. ย้ายไป RMF for PVD คือการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรามี ไปลงทุนต่อในกองทุน RMF ของ บลจ.แห่งใดแห่งหนึ่งที่รองรับเงินโอนจาก PVD ซึ่งตรงนี้จะมีข้อดีตรงที่
    • แผนเกษียณ ไม่ล่มกลางคัน 
    • สามารถนับอายุสมาชิกต่อเนื่องจาก PVD เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
    • สามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่ต้องการ ตามนโยบายของแต่ละ บลจ. ที่มีกองทุนประเภทต่างๆให้เลือกมากมาย
    • ไม่จำเป็นต้องซื้อ RMF ต่อเนื่อง เพราะเป็นการสับเปลี่ยนมาจาก PVD โดยสามารถขายได้ตอนอายุครบ 55 ปี เหมือนกับ RMF หรือ PVD ปกติ
    • ที่สำคัญยังไม่ต้องเสียภาษี ณ วันที่เราโอนเงินไป RMF for PVD อีกด้วย แต่ในกรณีที่เอาเงินออกจากกองทุนก่อนที่จะอายุ 55 ปี อัตราภาษีที่ต้องเสีย ขึ้นอยู่กับ “อายุงาน” ก่อนวันที่เราจะโอนเงิน PVD ไป RMF for PVD  สำหรับกรณีทำงานไม่ถึง 5 ปีต้องนำมารวมกับรายได้ทั้งปีเพื่อคำนวณภาษี  หรือกรณีทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ได้สิทธิแยกคำนวณภาษีออกมาต่างหาก ทำให้เสียภาษีลดลง 

ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณภาษีกันนะครับนาย ก และนาย ข ได้เงินจากกองทุนเท่ากันแต่มีอายุงานต่างกันดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

นาย ก มีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท ถูกเลิกจ้างโดยมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1,600,000 บาท (แบ่งเป็นเงินสะสม 700,000 บาท เงินสมทบและผลประโยชน์ 900,000 บาท) มีอายุงาน 18 ปี 

นาย ก สามารถคำนวณภาษี โดยนำส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์จำนวน 900,000 บาท แยกออกมาคำนวณต่างหากจากเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี ซึ่งการแยกคำนวณแบบนี้จะมีผลให้ส่วนของเงินสมทบต้องเสียภาษีจำนวน 23,700 บาท

โดยในส่วนของเงินเดือน 500,000 บาท ถ้าหากลองคำนวณคร่าวๆโดยหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียวจำนวน 160,000 บาท (โดยไม่มีค่าลดหย่อนอื่น) นาย ก จะต้องเสียภาษีจำนวน 11,500 บาท เมื่อรวมกับส่วนที่แยกคำนวณจะเสียภาษีทั้งสิ้น 35,200 บาท

ตัวอย่างที่ 2

นาย ข มีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท ถูกเลิกจ้างโดยมีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1,600,000 บาท (แบ่งเป็นเงินสะสม 700,000 บาท เงินสมทบและประโยชน์ 900,000 บาท) มีอายุงาน 4 ปี

กรณีนี้ นาย ข ต้องนำส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์จำนวน 900,000 บาทไปรวมกับรายได้ทั้งปีเพื่อคำนวณภาษี ซึ่งมีผลให้รายได้ของนาย ข ที่ต้องเสียภาษีกลายเป็น 1,400,000 บาท และถ้าเราลองคำนวณคร่าวๆโดยหักเพียงค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียวจำนวน 160,000 บาท (โดยไม่มีค่าลดหย่อนอื่นเพิ่มเติม) นาย ข จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้นจำนวน 175,000 บาท

ดังนั้น แม้จะมีเงินได้เท่ากันแต่อายุงานต่างกัน ก็เสียภาษีต่างกันแล้ว แต่ถ้าทั้งคู่เลือกทางเลือกที่ 3 ก็สามารถชะลอการเสียภาษีไปได้ นอกจากนี้ถ้าลงทุนใน RMF for PVD จนอายุ 55 ปีและเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปี (สามารถนับอายุสมาชิกต่อเนื่องจาก PVD ได้แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประกาศกำหนด) ก็ไม่ต้องเสียภาษีสักบาทเลย

จะเห็นว่าทางเลือกที่ 3 เหมาะกับใครหลายคนมากกว่าทางเลือกที่ 1และ 2 (โดยเฉพาะในตอนนี้ที่เป็นภาวะวิกฤต) เพราะมีความยืดหยุ่นและสะดวกมากกว่าในหลายด้านครับ

RMF for PVD ของ บลจ. กรุงศรี รองรับเงินโอนจาก PVD มากถึง 24 กองทุน

ขออนุญาตขายกันตรงๆแบบนี้ละกันครับ สำหรับใครที่สนใจโอนย้ายเงินจาก PVD มายังกองทุน RMF ทาง   บลจ.กรุงศรี ก็มีทางเลือกหลากหลายให้เลือกลงทุนมากถึง 24 กองทุน ตั้งแต่ตราสารตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำไปจนถึงหุ้นต่างประเทศ หุ้นเฉพาะกลุ่ม หรือสินทรัพย์ทางเลือก โดยเราสามารถจัดสัดส่วนการลงทุนและบริหารพอร์ตได้ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ จะสับเปลี่ยนกองทุนแบบไหนก็ได้ตามใจเราเลยครับผม

อ้อ ทาง บลจ.กรุงศรี เขาฝากแนะนำ RMF for PVD กองทุนเด่นๆ มาให้ด้วยนะครับ ซึ่งได้แก่

KFAFIXRMF ลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือใกล้เกษียณเน้นความมั่นคงมากกว่าโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง

3 ดี RMF กองทุนผสมหลากหลายสินทรัพย์ ลงทุนครบทั้งในตราสารหนี้ หุ้น REITs กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มี 3 กองทุนให้เลือกคือ KFHAPPYRMF KFGOODRMF และ KFSUPERRMF ต่างกันตรงสัดส่วนการลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนเลือกได้เหมาะกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ ข้อดีคือไม่ต้องคอยตามสถานการณ์และปรับพอร์ตเอง ผู้จัดการกองทุนจะปรับสัดส่วนการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

KFS100RMF ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ของไทย มีโอกาสเติบโตระยะยาวไปพร้อมกับดัชนี SET100

KFGBRANRMF ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund ซึ่งจะเน้นลงทุนหุ้นบริษัทเจ้าของแบรนด์ดัง มีความแข็งแกร่งของยอดขายที่ทนทานต่อวัฎจักรเศรษฐกิจ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคที่ลูกค้ายังคงต้องซื้อต้องใช้แม้ในยามเศรษฐกิจชะลอตัว

สามารถตามไปอ่านรายละเอียดกองทุน RMF ที่แนะนำทั้งหมดได้ที่ https://www.krungsriasset.com/TH/Plan-your-investment/Learn-about-Investment/RMF-for-PVD-investment.html

ข้อมูลเพิ่มเติมและโปรโมชั่นพิเศษสำหรับ เงินโอนจาก PVD มาสู่ RMF https://www.krungsriasset.com/TH/News/Promotion/RMFPVD2020_TH.html

หวังว่าจะได้คำตอบดีๆในการจัดการการเงินในวิกฤตช่วงนี้กันนะครับ ซึ่งในจุดนี้ ถ้าใครบริหารจัดการเงินตัวเองได้ดี มีสภาพคล่อง ย่อมเห็นโอกาสมากกว่าแน่นอนครับ

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าเราจะต้องเปลี่ยนงานหรือออกจากงานด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ถ้าเรามีทางเลือกในการจัดการการเงินที่ดี ผมเชื่อว่าเราไปต่อได้อย่างแน่นอนครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับผมมม

บทความนี้เป็น Advertorial