การซื้อประกันนั้นถือเป็นการลงทุนให้กับตัวเองในอีกรูปแบบหนึ่งของชีวิต แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนสูงเหมือนการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ แต่การลงทุนในประกันนั้นเป็นสิ่งที่เราจะได้รับกลับมานั้นคือ “ความสบายใจ” จากการที่เราได้ป้องกันความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีประกันควบการลงทุนที่เราจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนควบคู่ไปกับการป้องกันความเสี่ยงอีกด้วย คำถามของเพื่อน ๆ หลายคนที่อัศวินมักได้รับมาเสมอ คือ ถ้าเราจะเลือกซื้อประกันด้วยตัวเอง ต้องเช็คเรื่องอะไรบ้าง อัศวินก็อยากจะแนะนำเช็คลิสต์ให้เพื่อน ๆ ได้ลองนำไปใช้ดูกับตัวเองนะครับ

สำรวจความเสี่ยงของตัวเราเองก่อน

อัศวินอยากจะบอกว่า การซื้อประกันคือการที่เราจะโอนย้ายความเสี่ยงของเราไปให้ทางบริษัทประกัน สิ่งแรกที่เราจะต้องทำก็คือวิเคราะห์ก่อนว่าเรามีความเสี่ยงอะไรบ้างในชีวิต ตัวอย่างเช่น หากเราทำงานเป็นพนักงานขาย ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อย ๆ ต้องขับรถไปไหนมาไหนตลอดเวลา เราอาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุได้ การทำประกันอุบัติเหตุจึงเป็นสิ่งที่จะต้องอยู่ในแผนป้องกันความเสี่ยงของเรา

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ หากเราเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องทำงานเพื่อหาเงินมาดูแลสมาชิกอีกหลาย ๆ คนในบ้าน ถ้าอยู่ ๆ เราป่วยขึ้นมา ก็จะทำให้เราจะต้องนำเงินมารักษาและอาจจะทำให้ครอบครัวขาดรายได้ ก็เป็นความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพและชีวิตที่เราควรจะต้องหาทางป้องกันนะครับ

เลือกประกันที่ครอบคลุมความต้องการ

เมื่อเราเห็นความเสี่ยงของเราอย่างรอบด้านแล้ว ก็ต้องลองมานั่งคิดกันต่อนะครับว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงจริง ๆ จะกระทบกับเราและคนรอบตัวมากแค่ไหน ซึ่งเราจะได้นำมาประเมินกันต่อได้ว่า เราจะต้องมีหลักประกันมากเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น เพื่อน ๆ บางคนอาจจะมีลูกที่ยังเล็กอยู่ ซึ่งถ้าหากเราป่วยขึ้นมาไม่สามารถทำงานได้ ก็จะไม่มีเงินมาเลี้ยงดูลูก รวมถึงการส่งลูกไปเรียนหนังสือ

ผลกระทบนี้สูงมาก เราเองก็ต้องพิจารณาในเรื่องของการทำประกัน ให้ครอบคลุมความเสี่ยงตรงนี้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่แตกต่างไป เช่น ลูกเราอยู่ในวัยทำงานและรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว เราอาจจะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการเงินที่ต้องมีให้เขาก็ได้ อาจจะพิจารณาทำประกันให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลก็พอครับ

สำรวจความสามารถในการจ่ายเบี้ย

นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยงและการสำรวจความคุ้มครองแล้ว การบริหารความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกันก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในประกันนะครับ เพราะอย่าลืมว่าการลงทุนในประกันนั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำอย่างหนึ่งที่เราต้องส่งให้กับทางบริษัทประกันทุกๆ ปี ทำให้เราต้องคำนึงถึงสภาพคล่องทางการเงินและการใช้ชีวิตของเราด้วย ไม่ใช่จ่ายเบี้ยเยอะ จนคุณภาพชีวิตลดลงจนทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต อันนี้ถือว่าเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีนะ

เช็คความน่าเชื่อถือบริษัทประกันก่อนซื้อ

อัศวินอยากจะเน้นย้ำตรงนี้มาก ๆ เลยนะครับ การซื้อประกันในแต่ละครั้งนั้น หมายความว่าเรากำลังมอบหน้าที่ให้บริษัทประกันคุ้มครองเราในระยะยาว บางทีอาจจะเป็นระยะเวลายาวถึง 20-30 ปีเลยก็ได้ หากเราเลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือสูง ทำกิจการมานาน มีเงินทุนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมทำให้เราอุ่นใจและเชื่อมั่นในความคุ้มครองได้ในระยะยาว

ลองคิดกันเล่น ๆ นะครับว่า หากเราไปซื้อประกันโดยที่ไม่ได้มีความน่าเชื่อถือ แม้ประกันจะดีขนาดไหน แต่บริษัทประกันไม่สามารถให้ความคุ้มครองกับเราได้ตามที่ตกลงกันไว้ ก็อาจจะทำให้แผนทางการเงินที่เราวางไว้ผิดพลาดได้เช่นกันครับ ตรงนี้ต้องนำไปพิจารณาดี ๆ นะ

หากตอนนี้คุณกำลังมองหาประกันเอาไว้ดูแลชีวิตและทรัพย์สินอยู่ ที่มีทั้งประสบการณ์และความน่าเชื่อถือมาอย่างยาวนาน อัศวินขอแนะนำ iLink แบบประกันชีวิตควบการลงทุนโดยกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต อุ่นใจได้มากกว่าด้วยสัญญาเพิ่มเติมแบบ UDR ให้คุณเลือกเพิ่มความคุ้มครองได้ดั่งใจหลากหลายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ พร้อมประโยชน์ที่เหนือกว่าด้วย

  • การันตีความคุ้มครองต่อเนื่อง 5 ปีแรกแม้มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนจะไม่เพียงพอ
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด 280 เท่า*
  • ให้ผลประโยชน์สูงสุด 3 ต่อ กรณีเสียชีวิต  
  • แนบสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงได้ ความคุ้มครองสูงสุด 200%

สนใจติดต่อสอบถามที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ได้ที่ โทร 1159 หรือทางเว็บไซต์ https://ktaxa.live/ilink-cs-21

บทความนี้เป็น Advertorial