หลังจากเหตุการณ์ปฏิรูปเศรษฐกิจจีนในปี 1978 

ประเทศจีนก็ไม่เคยเหมือนเดิมอีกต่อไป

อย่างที่ทราบกันดีว่าถึงแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม และไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแต่ประเทศจีนในปัจจุบันก็ถือว่าเป็นประเทศที่ใช้ระบอบทุนนิยมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากการปฏิรูปประเทศโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ประเทศจีนที่เคยรวบอำนาจไว้เพียงที่รัฐศูนย์กลางก็เริ่มเปิดอำนาจให้เอกชนเริ่มเติบโต จีนเริ่มเปิดให้ประชาชนสามารถมีธุรกิจของตนเอง และเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ผันธุรกิจบางอย่างจากรัฐให้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ การตัดสินใจครั้งนั้นจึงถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ผลักดันให้ประเทศจีนขึ้นก้าวสู่เวทีเศรษฐกิจโลก

จีนพัฒนาตัวเองจากประเทศการเกษตรที่มีผลิตภัณฑ์หลักเป็นเหมืองแร่ พืชไร่ น้ำมันดิบ ปศุสัตว์ และการประมง กลายมาเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป จนจีนได้กลายเป็นประเทศที่มีชื่อว่า “โรงงานของโลก” ด้วยภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขนาดเดินไปที่ไหนก็เจอคำว่า “Made in China” สินค้าส่งออกกลายเป็นเคมีภัณฑ์ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และวัตถุดิบส่งโรงงานอุตสาหกรรม

จากในปี 1978 ประชากรจีนหนึ่งคนมีรายได้ประมาณ 156.40 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี การเปิดประเทศด้านเศรษฐกิจทำให้จีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2016 ประชากรจีนหนึ่งคนมีรายได้ประมาณ 8,123.18 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี (อ้างอิงจากข้อมูล GDP per Capita จาก World Bank) หรือคิดเป็นการเติบโตทบต้นที่ 10.95% ทบต้นเป็นเวลา 38 ปีที่ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก

ประเทศจีนในปัจจุบันไม่ใช่ดินแดนแห่งสวรรค์ค่าแรงถูกอีกต่อไป

จากข้อมูลของ China Briefing และ Vietnam Briefing เปิดเผยว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของจีนในเมืองเสินเจิ้น ในปี 2018 เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,200 หยวนต่อเดือน (333.18 เหรียญสหรัฐต่อเดือน) ในขณะที่ค่าแรงในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต่ำกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น ค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 9,900 บาทต่อเดือน (313.39 เหรียญสหรัฐต่อเดือน) ค่าแรงขั้นต่ำประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 15,360 เปโซต่อเดือน (295.53 เหรียญสหรัฐต่อเดือน) และค่าแรงขั้นต่ำของประเทศเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 3,980,000 ดองต่อเดือน (176.31 เหรียญสหรัฐต่อเดือน)

เมื่อรายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มสูงขึ้น ประเทศจีนก็เติบโตสู่ความเป็น New Economy

เมื่อค่าแรงประชากรเพิ่มสูงขึ้น ประชากรก็จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ในขณะที่ฐานการผลิตอาจจะเริ่มย้ายไปที่ประเทศที่ต้นทุนการผลิตถูกกว่า ประเทศจีนในปัจจุบัน จึงหันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น อุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจของประเทศ และเติบโตดีกลายเป็นการท่องเที่ยว ค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค สื่อ เทคโนโลยีและโทรคมนาคม

รวมไปถึงภาคธนาคารและการเงิน จาก Copycat China ก็กลายเป็น Creative China เราได้เห็นสินค้าและบริการแบรนด์จีนระดับโลกมากขึ้น เช่น Xiaomi, Huawei, Lining, WeChat, ROV ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้เป็นอย่างดีว่าจีนกำลังจะกลายเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงซึ่งเป็นถนนสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วนั่นเอง

ทั้งหมดจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารของประเทศจีน ในเกือบทุกๆ ด้าน จนเกิดการเติบโตแทบทุกมุมของอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้จีนนั้นก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจในที่สุด โดยมีสิ่งสะท้อนจาก การเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในระดับ 6-7% ต่อปี ซึ่งมากกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เกิน 3% ต่อปี

สาเหตุมาจากการขับเคลื่อนด้วยนโยบายรัฐบาลจีน ที่ได้สร้างผลผลิตทางนโยบายที่ชื่อว่า Greater Bay Area เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน โดยเชื่อมโยงเมืองสำคัญในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ประกอบไปด้วย ฮ่องกง มาเก๊า และมณฑ, กวางตุ้งเข้าด้วยกัน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก

ปัจจุบัน Greater Bay Area มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 66 ล้านคน โดยมีขนาดเศรษฐกิจ เป็น 2 เท่าและมีพื้นที่เป็น 3 เท่าของ San Francisco Bay Area ในอนาคต Greater Bay area จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มเมืองท่าทั้งหมด

นอกจากนี้ประเทศจีนยังส่งเสริมนโยบายยกระดับนวัตกรรม รัฐบาลจีน ลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยคิดเป็น 55.98% ของ GDP ประเทศไทยซึ่งปัจจุบันจีนมีจำนวนนักศึกษาปริญญาตรี และนักวิจัยที่จบปริญญาเอก ในโครงการ STEM (Science Technology Engineering Mathematic) มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้ตลาดแรงงานของจีนเต็มไปด้วยบุคลากรที่พร้อมจะยกระดับนวัตกรรมของประเทศ

นั่นจึงเป็นอีกสาเหตุที่ระยะหลัง จีนจึงมีบริษัท Start-up เกิดใหม่มากมาย โดยมีการระดมทุนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า Unicorn ในแต่ละปีมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกาอีกด้วย

ASP-EVOCHINA คือ กองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนในการวิวัฒน์ของประเทศจีน

ASP-EVOCHINA หรือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัส อีโวลูชั่น ไชน่า อิควิตี้ (Asset Plus Evolution China Equity Fund) คือกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนในการเติบโตของประเทศจีน โดยจับเทรนด์การเติบโตสู่ยุคเศรษฐกิจเกิดใหม่ (New Economy) และงานสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง (Value Added)

ASP-EVOCHINA จะกระจายการลงทุนเป็น 2 ส่วน โดยจะลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศในสัดส่วนไม่เกิน 70% และลงทุนตรงในหุ้นรายตัวไม่เกิน 30% โดยคงนโยบาย All China หรือลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียน หรือดำเนินธุรกิจหลักอยู่ในประเทศจีน

กองทุนหุ้นต่างประเทศที่ ASP-EVOCHINA จะไปลงทุนต่อได้แก่กองทุนรวม Mirae China Growth Equity Fund ของ Mirae Asset ที่เน้นกลยุทธ์การเลือกหุ้นรายตัวแบบ Bottom-up เน้นหุ้นจีนที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาว โดยหัวใจของกลยุทธ์การเลือกหุ้นจีนที่ Mirae Asset เลือกใช้มี 3 ข้อคือ Growth Focus, Concentrated Portfolio และ Long Term Perspective

Growth Focus คือมุ่งเน้นการเติบโต โดยวิเคราะห์ไปทั้งเหตุและผลที่เกิดขึ้น เลือกจากเหตุ คือดูบริษัท ที่มีนวัตกรรม มีโครงสร้างกิจการที่ดี มีเทคโนโลยีทันสมัย ได้รับประโยชน์จากภาครัฐ และสภาพประชากรในประเทศจีน สะท้อนออกมาในผล คือมีการเติบโตของรายได้อย่างสม่ำเสมอ

Concentrated Portfolio คือเน้นลงทุนในหุ้นอย่างกระจุกตัว ประเทศจีนนั้น ไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกา ที่พัฒนาระบบเศรษฐกิจมานาน จนธุรกิจจำนวนมากในประเทศแข็งแกร่งแล้ว ประเทศจีนมีหุ้นที่แข็งแกร่ง และเหมาะกับการลงทุนในระยะยาวไม่มาก (แต่ไม่มากในที่นี้ก็คือหลายสิบบริษัท แต่อาจจะไม่มากเป็นร้อยบริษัทอย่างสหรัฐอเมริกา) การลงทุนในหุ้นจีนของ Mirae Asset จึงมุ่งเน้นการไปที่การเลือกหุ้นดีแบบกระจุกตัวมากกว่าการเลือกหุ้นแบบกระจายตัว ซึ่งตรงนี้ลงทุนศาสตร์ก็เห็นด้วย เพราะรู้สึกว่าหุ้นจีนที่เติบโตได้ดีมากในระยะยาวก็ไม่ได้มีมากพอให้ซื้อแบบกระจายตัวด้วยเช่นกัน

Long Term Perspective คือ ลงทุนด้วยมุมมองระยะยาว ปัจจัยตรงนี้จะสะท้อนออกมาในตัวเลข Annual Turnover ที่ระดับ 33% ซึ่งตีความได้ว่ามีการสลับหุ้นใหม่ประเทศ 33% ของพอร์ตในรอบปี ตัวเลขตรงนี้ถือว่าไม่สูงเลย เพราะกองทุนที่เน้นเล่นสั้นอาจมีตัวเลข Annual Turnover สูงถึง 200% ในขณะที่ตัวเลขค่าเฉลี่ยการถือครองหุ้น ก็ถือว่ายาวสมนโยบาย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 ปี ซึ่งถือว่าสูงสำหรับกองทุนรวม (อ้างอิงตัวเลขจาก Mirae China Asset Growth Equity Fund เดือนสิงหาคม ปี 2018)

นโยบายการลงทุนหุ้นรายตัวที่ ASP-EVOCHINA จะจัดสัดส่วนไว้ที่ไม่เกิน 30% ของกองทุนรวมนั้น ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวทางของ Mirae Asset คือวิเคราะห์กิจการอย่างละเอียด และเลือกลงทุนในระยะยาว โดยตัวอย่างหุ้นที่กองทุนคาดว่าจะลงทุนก็ได้แก่ China Traditional Chinese Medicine Holdings, Fosun Pharmaceutical, CSPC Pharmaceutical Group ซึ่งเป็นหุ้นในกลุ่มของบริษัทยา ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีการเติบโตสูงมากในประเทศจีน

ตรงนี้ลงทุนศาสตร์ค่อนข้างประทับใจ เพราะหุ้นบางตัวก็ตรงกับหุ้นที่ลงทุนศาสตร์ตามข่าว และข้อมูลกิจการอยู่ แถมหุ้นที่เลือกมาก็ไม่ใช่หุ้นยอดนิยมของจีนที่นักลงทุนทั่วโลกใครๆ ก็รู้จักอย่าง BABA, Tencent, Baidu แต่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยาที่แตกต่างออกไป ตรงนี้ก็สะท้อนภาพได้ดีว่า ผู้จัดการกองทุน มองลึกไปถึงการวิวัฒน์ของจีนได้จริงๆ

ASP-EVOCHINA เปิดขายหน่วยลงทุนรอบ IPO ในวันที่ 19 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2561 ลดค่าธรรมเนียม ซื้อจาก 1.5% เป็น 1% หากใครสนใจก็ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.assetfund.co.th

ขีดเส้นใต้ว่า ASP-EVOCHINA เหมาะกับคนที่เชื่อในการเติบโตของจีนในระยะยาว

ตลาดหุ้นจีนถือเป็นอีกตลาดหุ้นหนึ่งที่มีความผันผวนสูง นักลงทุนที่ลงทุนควรมีความรู้และความเข้าใจในความผันผวนนี้ดี แนวคิดการลงทุนควรเป็นการถือยาวและยิ่งสามารถทยอยลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยทำให้ลดประเด็นเรื่องความผันผวนไปได้มาก ตลาดหุ้นจีนถือเป็นอีกหนึ่งตลาดหุ้นที่มีข่าวร้ายบ่อยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เชื่อเถอะ วอร์เรน บัฟเฟตเคยบอกไว้ว่า ข่าวร้ายนี่แหละคือเพื่อนแท้ของนักลงทุน

ไจ้เจี้ยน!

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial