ตั้งแต่ปีใหม่มาจนถึงตอนนี้ @TAXBugnoms เชื่อเหลือเกินว่า หลายๆคนคงเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2557 กันแล้วใช่ไหมครับครับ แต่ก่อนจะยื่นรายการภาษีนั้น วันนี้เรามาตรวจสอบดูว่า  "ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับมนุษย์เงินเดือน" นั้นมีอะไรบ้าง จะได้ลดหย่อนถูกวิธีและครบถ้วน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่เราควรได้ ไม่งั้นอายพี่สรรพากรแย่เลยคร้าบ

 

แต่ก่อนอื่น เรามารู้จักกันก่อนว่า เจ้าค่าลดหย่อนนั้น คือ "รายการต่างๆที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว" ยกตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆที่พูดไปแล้วก็ช้ำใจ ว่าทำไมชีวิตตรูทำไมถึงหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดแค่ 40% ของเงินเดือนในปีนั้นแต่ไม่เกิน 60,000 บาทเท่านั้น!! มายก้อดดด แบบนี้มันต้องเพิ่มตัวช่วยในการลดภาษีตัวอื่นๆกันบ้างล่ะ  ซึ่งค่าลดหย่อนสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ นั้น ประกอบด้วยรายการต่อไปนี้คร้าบบบบ

 

มนุษย์เงินเดือน ลดหย่อนภาษี-01 (1)

 

 

โดยค่าลดหย่อนแต่ละประเภทนั้น หลังจากที่เรานำมรายได้มาหักค่าใช้จ่ายในอัตรา 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาทแล้ว สามารถหักค่าลดหย่อนดังต่อไปนี้ครับ

 

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนสำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นแบบแสดงรายการ สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนนี้ได้เต็มที่ 30,000 บาทอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ (นี่เต็มที่แล้วหรือ? เอ๊ะ.. เสียงใครกระซิบ)

 

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนของคู่สมรส กรณีที่คู่สมรส (สามี-ภรรยา) ของเราที่ไม่มีเงินได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน เราจะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนเพิ่มอีกจำนวน 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้ครับ

  • คู่สมรสที่ว่า...ต้องมีการจดทะเบียนสมรส
  • คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ในระหว่างปี หรือมีแต่เลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีกับเรา

 

3. ค่าลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และ ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร 2,000 บาท 

  • คำว่า “บุตร” หมายถึง บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ คนละ 15,000 บาท
  • หักบุตรตามอายุได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะทีมีชีวิต) โดยเราต้องเป็นคนเลี้ยงดูบุตร
  • บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี แต่ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • การนับจำนวนบุตรที่นำมาลดหย่อน ต้องนับตามจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ทุกคน
  • สำหรับบุตรที่กำลังศึกษาภายในประเทศ จะได้รับค่าลดหย่อนเพิ่มเติมอีกคนละ 2,000 บาท โดยคำว่าการศึกษาหมายถึงตั้งแต่ ชั้นอนุบาลไปจนถึงปริญญาเอก (ไม่รวมชั้นเตรียมอนุบาล) 
  • บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป

 

4. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จำนวน 100,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย โดยสามารถหักได้ตามที่จ่ายไปจริง ในจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทครับ

 

5. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุด 120,000 บาท ถ้าหากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท ซึ่งส่วนนี้จะหมายความรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของคู่สมรส (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) แต่มีเงื่อนไขนิดหน่อยครับว่าตัวคุณพ่อคุณแม่ที่นำไปลดหย่อนนั้น จะต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู และลูกจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้นครับ

 

6. เบี้ยประกันชีวิต มี 2 ประเภท คือ

  • ประกันชีวิต (แบบทั่วไป) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท 
  • ประกันชีวิต (แบบบำนาญ) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 

โดยประกันชีวิตแบบทั่วไปนั้นในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาทครับ

สำหรับใครที่สงสัยว่าประกันชีวิตของตัวเองเป็นแบบไหน ให้สอบถามจากตัวแทนประกันได้เลยครับ และอย่าลืมสังเกตใบเสร็จรับเงินค่าประกันด้วยว่า ได้ระบุว่าสามารถนำไปลดหย่อนได้จำนวนเท่าไหร่ครับ 

 

7. ค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาท หากเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เราสามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีครับ

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ
2 วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับลูกกตัญญู

 

8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันนี้สามารถหารกันสำหรับลูกหลายๆคนได้ด้วยครับ 

 

9. เงินสมทบ กบข. และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 500,000 บาท เงินสมทบกบข. (สำหรับข้าราชการ) และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน) สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท 

 

10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท  กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ไว้สำหรับวางแผนเกษียณ โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นผลตอบแทน

 

แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมนิดนึงสำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มนี้ คือ
ผลรวมของ RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ
เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท!!!

 

11. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมกา&#