Philip Fisher ถือเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นที่มีอิทธิพลสูงมากต่อแนวทางการวิเคราะห์หุ้นแบบ Value Investing ที่แม้กระทั่ง Warren Buffet ก็ยังยกย่องให้เป็นอาจารย์อีกหนึ่งท่านเคียงคู่กับ Benjamin Graham

แนวทางการลงทุนของ Philip ต้องบอกว่า เป็นการผสมผสานระหว่าง Value + Growth ซึ่งเหมาะกับทุกช่วงสภาวะของตลาด เป็นการผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ใครก็ตามที่ใช้แนวทางนี้ จะพบว่า ความสนุกใน VI World นั้น มันเจ๋งแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ ต้องบอกว่าแนวทางของ Philip Fisher ถือเป็น Growth Way มากกว่า จนใครหลายคนยกย่องให้เขาเป็น the father of growth investment

เอาละ เกริ่นมานาน ไปดูหลักคิดขั้นเทพ 15 เรื่อง ที่เอาไว้เลือกหุ้นที่ "ใช่" ในสไตล์ของ the father of growth investment กันเถอะครับ

1. บริษัทที่คุณสนใจ มีตลาดผู้ซื้อรองรับ เพียงพอต่อการเติบโตของยอดขายไปอีกหลายปีหรือเปล่า?

รายได้บริษัท ควรจะมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น และยอดขายที่เพิ่มขึ้น ก็ควรจะมาจากผู้ซื้อรายใหม่ๆ (ถึงจะดีและอุ่นใจได้)

2. บริษัทที่คุณสนใจ ผู้บริหารมีมุมมองอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์ที่ขายปัจจุบัน?  

ผู้บริหารที่เก่งนั้น จะมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดเรื่องของเวลาและจำนวนยอดขายคร่าวๆไว้ในใจล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนา หรือหาสินค้าทดแทน แต่สิ่งที่อยู่ในใจเขานั้น จะเป็นอะไร นั่นคือสิ่งที่นักลงทุนควรรู้

3. บริษัทที่คุณสนใจ มีการลงทุนในด้านการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือเปล่า?

มันเป็นเรื่องปกติเหลือเกินที่สินค้าจะถูกทดแทน หรือล้าสมัยไป ก็คงมีแต่ผู้ประกอบการที่ปรับตัว และพร้อมพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเท่านั้น ที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า กำไรบริษัทจะยังโตต่อเนื่องตามเป้าได้จริง

4. บริษัทที่คุณสนใจ มีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าดีกว่าคู่แข่งหรือเปล่า?

ผลิตภัฑณ์ที่ดี ต้องได้รับการโปรโมท และวางจำหน่ายในทำเลที่ดี ไม่ว่าจะช่องทางปกติ หรือทาง Online ก็ตาม ไม่อย่างนั้น มันก็เป็นแค่สินค้าที่น่าจะดี แต่ก็ไม่ดีซักที เพราะคนใช้หรือผู้ซื้อมีจำนวนไม่มากพอ ที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้บริษัทลงทุนและพัฒนาต่อไป

5. บริษัทที่คุณสนใจ มีส่วนต่างกำไร (Profit Margin) ที่น่าสนใจไหม?

กำไรต้องโตสอดคล้องกับยอดขาย และจะยิ่งดีขึ้นไปอีก ถ้ากำไรนั้นโตดีกว่ายอดขาย

6. บริษัทที่คุณสนใจ คิดจะทำให้ Profit Margin ดีขึ้นได้อย่างไร?

คุณต้องหาปัจจัยสำคัญ หรือกลยุทธ์ของบริษัทที่จะทำให้กำไรของบริษัทโตขึ้นได้ เช่น แผนการลดต้นทุนการผลิต แล้วลองจินตนาการดูว่า มันทำได้จริงหรือไม่ เป็นไปได้หรือเปล่า

7. บริษัทที่คุณสนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร กับพนักงาน เป็นอย่างไร?

จากความเชื่อที่ว่า การทำงานจะราบรื่น หากทุกฝ่ายเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน

8. บริษัทที่คุณสนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร กับผู้บริหาร เป็นอย่างไร?

เกมส์การเมืองเกิดขึ้นกับทุกองค์กร แต่การเมืองที่เข้มข้นเกินไป จะทำร้ายองค์กรได้ในระยะยาว ดังนั้น ความสัมพันธ์ของผู้บริหารแต่ละแผนกจึงสำคัญเช่นกัน

9. บริษัทที่คุณสนใจ มีการวางแผนเรื่องคนและพนักงานในระยะยาวดีแค่ไหน?

เช่น การให้โอกาสแก่พนักงานที่มีความสามารถ และการวางตัวผู้บริหารที่จะได้รับความไว้วางใจ ให้สานต่อธุรกิจในรุ่นต่อๆไป

10. บริษัทที่คุณสนใจ เก่งแค่ไหนในเรื่องของการควบคุมค่าใช้จ่าย?

การควบคุมค่าใช้จ่าย (Cost Control) ถือเป็นเครื่องวัดประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทที่ดีมาก และแสดงให้เห็นถึงความเก่งของผู้บริหารในการรีดศักยภาพของบริษัทออกมา

11. บริษัทที่คุณสนใจ มีมุมไหนที่ดูโดดเด่นและพิเศษกว่าคู่แข่งหรือเปล่า?

สินค้าและบริการ ควรจะมีจุดเด่นและความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาว

12. บริษัทที่คุณสนใจ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับกำไรในระยะสั้น หรือระยะยาว มากกว่ากัน?

ถ้าถามผู้บริหารคนไหน ก็ย่อมตอบว่าให้ความสำคัญในระยะยาวแน่นอน แต่การกระทำ และกลยุทธ์ที่ออกมานั้น จะเป็นตัวตัดสินว่า เขาพูดความจริงหรือพูดเท็จ และแน่นอน คุณควรลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์มากพอในการทำธุรกิจระยะยาว

13. บริษัทที่คุณสนใจ ในอนาคตอันใกล้ที่พอจะเห็นนั้น คุณคิดว่ามีโอกาสหรือไม่ ที่จะขาดสภาพคล่องจากกลยุทธ์ปกติ หรือการขยายธุรกิจในอนาคต จาก Checklist  12 ข้อแรกที่กล่าวมา?

มีหลายบริษัทเหลือเกินที่วาดแผนธุรกิจไว้สวยหรู และดูดีไปหมด แต่กลับขาดการวางแผนเรื่องเงินทุน หรือขาดสภาพคล่อง ทำให้สะดุดและอาจกระทบสายการผลิตทั้งหมด ดังนั้น การที่บริษัทมีสภาพคล่องดี และก่อหนี้สินในการบริหารไม่เยอะ ย่อมเป็นเหมือนหลักประกันในการทำธุรกิจในระยะยาวได้

14. บริษัทที่คุณสนใจ ผู้บริหารหรือเจ้าของ เป็นคนเปิดเผยขนาดไหน?

ยิ่งผู้บริหารกล้าแสดงความเห็นหรือเล่าความจริงทั้งในด้านดีและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ถือหุ้น ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ แต่ไม่จำเป็นต้องเล่าทุกเรื่องถึงขั้นเรื่องส่วนตัว แค่กล้ายอมรับในสิ่งที่ตัวเองเคยทำผิดพลาด และตอบคำถามกับเราด้วยความจริงใจ เท่านี้ก็เกินพอแล้ว

15. บริษัทที่คุณสนใจ เก็บความลับที่มีความสำคัญต่อภาพลักษณ์และการดำเนินธุรกิจได้ดีแค่ไหน?

ถึงเราจะอยากเห็นความจริงใจจากผู้บริหารมากแค่ไหน แต่ทั้งผู้บริหาร และเราเองก็ควรรู้ว่า คำตอบใดที่ไม่ควรตอบ เพราะถ้าตอบสุ่มสี่สุ่มห้า ความน่าเชื่อถือของบริษัทจะหมดไป แล้วนักลงทุน หรือลูกค้าคนไหนจะเชื่อในบริษัทนี้ ทั้งๆที่เป็นธุรกิจที่ดีจริง

ครบ 15 ข้อแล้วนะครับ จะเห็นว่า Checklist นี้ จริงๆก็เหมือนเป็นการสรุปรวบรวมสิ่งที่นักลงทุนสาย VI ต้องศึกษาและทำความเข้าใจอยู่แล้ว แต่บ่อยครั้ง ตัวผมเâ