แฟนเพจหลายคนโพสต์มาถามว่าเป็นฟรีแลนซ์ มีรายได้ขึ้นๆลงๆ จะออมเงินยังไง มีวิธีจัดการเงินแบบไหนบ้าง แล้วถ้ามีหนี้ด้วยจะทำอย่างไร อืมมมม เป็นคำถามที่น่าสนใจมากๆ คิดว่าน่าจะมีหลายคนที่เป็นแบบนี้ เราขอตอบพร้อมกันในบทความ "3เรื่องที่ฟรีแลนซ์ควรรู้" ทีเดียวเลยนะจ๊ะ

 

จากประสบการณ์ในอดีตที่เคยทำงานประจำและปัจจุบันเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว ทำให้รู้อย่างหนึ่งว่ามันมีวิธีจัดการเรื่องเงินที่แตกต่างกัน  สำหรับคนที่กำลังจะลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์และคนที่เป็นฟรีแลนซ์อยู่แล้วก็อาจจะนำไอเดียนี้ไปลองปรับใช้ดูนะจ๊ะ (บทความนี้จะเขียนวิธีการจัดการเงินของฟรีแลนซ์นะจ๊ะ ส่วนคนที่ทำงานประจำอ่านได้ที่ บทความนี้ 4 ขั้นตอนสร้างบัญชีเงินเดือนขั้นเทพ!! คลิกที่นี่)

 

รายได้ของฟรีแลนซ์

 

ฟรีแลนซ์หรือคนที่ทำงานอิสระ แม้ว่าได้ทำงานตามความฝันก็จริง แต่มันเป็นอาชีพที่มีรายได้แปรปรวนยิ่งกว่าคนวัยทอง บางเดือนมีเงินก้อนไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ให้เราบันเทิงเริงใจ บางเดือนเงินเข้ามาแบบกระปริบกระปรอยให้พอมีประทังชีวิตไปวันๆ ในขณะที่บางเดือนน้ำตาเล็ดเพราะไม่มีเงินกระเด็นเข้ากระเป๋ามาเลยสักบาท

 

ยัง!! ยัง ยังไม่หมดแค่นี้ ถ้าคิดที่จะรักอิสระก็ต้องดูแตัวเอง ด้วยการจ่ายประกันสังคม ซื้อประกันชีวิต ซื้อประกันสุขภาพและเก็บเงินเกษียณเอง นี่แหละคือชีวิตจริงของฟรีแลนซ์  เมื่อมีเงินเข้ากระเป๋ามาแล้วก็จะต้องหาวิธีจัดการให้มันอยู่กับเรานานๆ เพื่อจะได้มีลมหายใจไปต่อยอดความฝันต่อไปนะจ๊ะ

 

3 เรื่องเงินที่ฟรีแลนซ์ควรรู้

 

เรื่องแรก รู้จักเงินในกระเป๋าของตัวเอง?

 

เราควรรู้ว่าปัจจุบันการเงินของตัวเองเป็นอย่างไร ทั้งฝั่งรายรับและฝั่งรายจ่าย เช่น มีรายได้จากทิศทางไหนบ้าง มีเงินเก็บไว้ที่ไหนบ้าง จำนวนเท่าไหร่ มีหนี้สินที่ต้องจ่ายทุกเดือนเท่าไหร่ และมีรายจ่ายส่วนตัวอะไรบ้าง จะทำให้เราเห็นภาพรวมเงินของตัวเองมากขึ้น

 

แผนที่การเงินของเรา...

3 เรื่องเงินที่ "ฟรีแลนซ์" ควรรู้

 

จุดนี้เองที่วิธีจัดการเงินของฟรีแลนซ์แตกต่างกับคนที่ทำงานประจำ เพราะเราจะให้ความสำคัญกับหนี้สินเป็นอันดับแรก เมื่อได้มีรายได้เข้ามาก็นำไปจ่ายหนี้สิน แบ่งไปออมเงิน แล้วค่อยนำไปใช้จ่ายกับเรื่องส่วนตัว เพราะอะไรถึงมองแบบนี้คำเฉลยอยู่ที่เนื้อหาถัดไปนะจ๊ะ

 

สมการเงินออมของฟรีแลนซ์

รายได้ - หนี้สิน - เงินออม = รายจ่ายส่วนตัว

 

เราแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ตามนี้นะจ๊ะ

 

ส่วนที่ 1 หนี้สิน

 

รายได้ไม่แน่นอน มาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่หนี้สินนี่ซิ มันมาหาเราทุกเดือนแบบตรงเวลาเป๊ะ เราจะรู้ว่าแต่ละเดือนต้องจ่ายหนี้เท่าไหร่ ถ้าเราแกล้งลืมหรือจ่ายล่าช้าก็จะทำให้เสียเครดิต มีประวัติด่างพร้อยในเครดิตบูโร แล้วถ้าในอนาคตเราต้องการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน (เช่น ซื้อบ้าน ลงทุนทำธุรกิจ) มันก็จะยากมากขึ้น หรือเสียดอกเบี้ยแพงกว่าคนอื่น อุต๊ะ!! มันส่งผลเสียยาวเป็นหางว่าวเลยนะจ๊ะ

 

สาเหตุนี้เองที่ฟรีแลนซ์ควรให้ความสำคัญกับหนี้สินเป็นอย่างแรก ถ้าพลาดแค่ครั้งเดียว อนาคตมืดมนกันเลยทีเดียว และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ เราจะรู้ตัวเองว่าสามารถสร้างหนี้ได้อีกเท่าไหร่ ที่จะทำให้ตัวเองไม่เดือดร้อน

 

3 เรื่องเงินที่ "ฟรีแลนซ์" ควรรู้

 

ควรแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ หนี้ระยะสั้น (บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หนี้นอกระบบ)  และหนี้ระยาว (ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ) ว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่ ตอนนี้จ่ายรายเดือนเท่าไหร่ จะหมดหนี้ช่วงไหน ถ้าเขียนออกมาได้ชัดเจนก็จะรู้ว่า ตัวเองควรมีเงินขั้นต่ำที่เป็นเงินฉุกเฉินเก็บไว้ในบัญชีเท่าไหร่  

 

ตัวอย่าง  ใช้บัตรเครดิตผ่อน 0% เดือนละ 1,000 บาท 6 เดือน และผ่อนบ้าน 20 ปี เดือนละ 15,000 บาท แสดงว่าเราจะต้องจ่ายหนี้เดือนละ 16,000 บาท (จำตัวเลขนี้ไว้เพราะจะนำมาคำนวณเงินฉุกเฉินในหัวข้อต่อไป)

 

ส่วนที่ 2 เงินออม

 

เขียนเป้าหมายชีวิตของตัวเองออกมาว่าในอนาคตต้องการอะไรบ้าง ในระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อจะได้หาตัวช่วยเก็บเงินให้สำเร็จตามที่คิดไว้ เช่น วางแผนซื้อบ้าน ท่องเทียว เรียนต่อ เกษียณลั้นลา ฯลฯ เพราะวิธีการเก็บเงินแต่ละแบบนั้นเหมาะกับเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน

 



3 เรื่องเงินที่ "ฟรีแลนซ์" ควรรู้

แบ่งเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น กลางและยาว พร้อมกับจับคู่กับวิธีการเก็บเงิน

 

ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการเก็บเงินไว้ใช้ตอนช่วงที่เกษียณอายุ แต่เอาไปไว้ที่ฝากออมทรัพย์ เพราะมันง่าย รู้ว่าฝากเงินแล้วก็ได้รับดอกเบี้ย ไม่ชอบการลงทุนแบบอื่นๆที่มีหลายขั้นตอนและใช้เอกสารเยอะ

 

เราควรมองอีกมุมหนึ่งนะจ๊ะ แม้ว่าการฝากออมทรัพย์มันง่ายกับเราก็จริง แต่เงินก้อนนี้อาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เราเกษียณก็ได้ เพราะเราอาจจะถอนออกมาใช้หมดก่อน

 

สิ่งสำคัญ คือ เงินของเรามันมีค่าลดลงทุกวันๆ ดูจากราคาข้าวราดแกง แต่ก่อนจานละ 15-20 บาท ตอนนี้ราคาจานละ 40-50 บาท ถ้าเรามีเงิน 100 บาทเก็บไว้ในออมทรัพย์เฉยๆก็จะซื้อของได้น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งการลงทุนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะรักษามูลค่าของเงินเอาไว้ได้ แต่จะลงทุนอะไรก็ต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงของเรา

 

ดังนั้น ควรหาวิธีเก็บเงินที่จะช่วยบังคับให้เราเก็บเงินเกษียณ โดยเก็บไว้ที่ที่ถอนออกยากๆ และถ้าให้ผลตอบแทนพอๆกับเงินเฟ้อหรือมากกว่าก็จะดีมากเพราะรักษามูลค่าของเงินได้อีกด้วย เช่น RMF กอช. ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกันสังคม

 

ส่วนที่ 3 รายจ่ายส่วนตัว

 

3 เรื่องเงินที่ "ฟรีแลนซ์" ควรรู้

 

ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง ควรรู้ว่าแต่ละเดือนเราใช้จ่ายเท่าไหร่กับสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้ชีวิตของเราอยู่รอดและสิ่งบันเทิงเริงใจที่จะทำให้ชีวิตสดชื่น การแบ่งรายจ่ายส่วนตัวมันมีประโยชน์ช่วงที่บางเดือนไม่มีรายได้เข้ามาหรือเข้ามาน้อย เราจะได้รู้&

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน