เย้ๆๆๆๆๆๆ เราออมเงินได้แล้ววววววว
มันเป็นอารมณ์ของแฟนเพจหลายๆคนที่บอกแอดมินผ่าน FB ว่าเขาเอาชนะใจตัวเองได้แล้ว บางคนก็บอกว่าติดตามเพจอภินิหารเงินออมแล้วฮึกเหิมอยากออมเงินมากขึ้น #ออมเงินหรือว่าไปรบจ๊ะ
ตัวอย่างความรู้สึกของแฟนเพจที่ออมเงินครั้งแรก
ดูอัลบั้มภาพทั้งหมดของคนที่ออมเงินครั้งแรก (คลิกที่นี่)
หลังจากที่แอดมินทำโครงการชวนเพื่อนออมเงินมาหลายเดือน มันก็มีคำถามตามมาว่า “แอดมินนนนน ออมเงินได้แล้วจะเอาไปไว้ที่ไหนดีล่ะ” ทั้งจากหน้า FB และใน Inbox เราก็คิดว่าแทนที่จะตอบทีละคน ก็รวมกันมาตอบในบทความนี้เลยดีกว่า ถ้าครั้งหน้ามาถามอีกเราจะได้โพสต์ตอบด้วยบทความนี้ไปเลย อิอิ ^^
ขั้นตอนที่ 1 : สร้างเงินฉุกเฉินที่รัก
เรามักจะถามแฟนเพจกลับไปว่า “มีเงินฉุกเฉินแล้วรึยัง” เพราะ…
มันเป็นเงินก้อนแรกที่เราควรเก็บให้ครบเพื่อใช้ในช่วงวิกฤต จะได้ไม่ต้องไปกู้ยืมให้เสียดอกเบี้ย เราควรเก็บเงินฉุกเฉินให้ได้ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย ถ้ากังวลว่ากลัวไม่พออาจจะเก็บถึง 12 เท่าของค่าใช้จ่ายเลยก็ได้ โดยเก็บไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง กองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้
แนวคิดเกี่ยวกับการเก็บเงินฉุกเฉินและวิธีเก็บเงิน เคยเขียนรวมเป็นซีรีย์ของเงินฉุกเฉินแล้ว อ่านต่อได้เลยที่ 3 บทความนี้นะจ๊ะ
- ชีวิตง่ายไม่มีเงิบกับเงินฉุกเฉิน (คลิกที่นี่)
- 4 กลเม็ดเคล็ดไม่ลับ สร้างเงินฉุกเฉิน (คลิกที่นี่)
3 ทางเลือกสร้างเงินฉุกเฉินขั้นเทพ!! (คลิกที่นี่)
ตัวอย่าง เหตุการณ์ในชีวิตจริงที่บอกว่าเงินฉุกเฉินโคตรสำคัญ!!
ที่มา : http://pantip.com/topic/35664135
"วันจันทร์ที่ 3 ต.ค. ฝนตกถล่มกรุงหนักม๊าก วันนี้น้ำแห้งแล้ว
และเงินในกระเป๋าของหลายๆคนก็แห้งตามไปด้วย #ปาดเหงื่อ
จากกระทู้นี้ย้ำเตือนให้เรารู้ว่าเงินฉุกเฉินสำคัญมากๆ
เพราะบางครั้งต้องใช้เงินด่วนแบบไม่ตั้งใจ
มันก็ทำให้สภาพคล่องระยะสั้นของเรารวนไปได้เหมือนกัน
คนนี้ยังโชคดีที่ยังมีเงินเหลือในบัญชีนะจ๊ะ
ยังดีกว่าอีกหลายๆคนที่อาจจะต้องไปกู้ยืมเงินมาซ่อมรถ
นอกจากเซ็งที่รถเสียแล้ว ยังต้องมาตามชดใช้หนี้อีกด้วย #ปาดน้ำตา"
ขั้นตอนที่ 2 : ตามหาเป้าหมายที่รัก
ถ้าแฟนเพจบอกว่ามีเงินฉุกเฉินครบแล้ว เราก็จะถามต่อไปว่า “เป้าหมายการเงินของเขาคืออะไร” แฟนเพจส่วนใหญ่จะตอบกลับมาว่าอยากมีเงินมากขึ้น อยากรวย #เป้าหมายกว้างเกินไป ในขณะที่อีกหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องมีเป้าหมายการเงิน
ตัวอย่างสถานการณ์นี้ จะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
A : เฮ้ยแก ทำงานเหนื่อยอ่ะ วันหยุดยาวนี้ไปเที่ยวกันป่ะ
B : จริงดิ ไปด้วยนะ แล้วแกจะไปเที่ยวที่ไหน ไปเมื่อไหร่ ไปกี่วันอ่ะ
A : นั่นดิ รู้ว่าอยากไปเที่ยวนะ แต่ไม่รู้ว่าจะไปไหนดี ช่วยคิดหน่อยซิ
B : อืมมมมม ….. (มองบน).....
สองคนนี้คงต้องคุยกันอีกนานกว่าจะรู้ว่าไปเที่ยวที่ไหน มันไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ได้วางเป้าหมายเงิน เพราะมันจะรู้สึกล่องลอย ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี คราวนี้เอาใหม่!! ถ้าเรามีเป้าหมายที่เป็นธงรบในใจแล้วว่า เราจะไปที่ไหน อะไรๆมันก็จะง่ายขึ้น เช่น
3 คำที่ทำให้เป้าหมายเป็นจริง คือ “อะไร เท่าไหร่ เมื่อไหร่” พอเขียนเสร็จแล้วก็จะรู้ว่าเราจะต้องทำอะไรต่อไป จากตัวอย่างข้างบนที่วางแผนไว้ว่าอีก 2 เดือน ต้องใช้เงิน 6,000 บาทไปเที่ยวนครวัด เราก็จะรู้ว่า…
1. อะไร : เราไปเที่ยวนครวัดก็จะต้องวางแผนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น เดินทางไปทางบก (ใช้เวลานานแต่ประหยัด) หรือทางอากาศ(ใช้เวลาน้อยแต่ค่าใช้จ่ายแพง) รวมถึงเรื่องค่าที่พัก ที่กิน และสถานที่ท่องเที่ยวว่าจะไปที่ไหนบ้าง
2. เท่าไหร่ : 6,000 บาทเป็นจำนวนเงินที่เราเตรียมไปเที่ยว มีเวลาเก็บ 2 เดือน (สมมติ 60 วัน)ก็จะตกวันละ 100 บาท หรือเราอาจจะเก็บวันเงินเดือนออกก็ได้เก็บเดือนละ 3,000 บาท
3. เมื่อไหร่ : อีก 2 เดือนจะใช้เงิน ซึ่งเป็นการเก็บเงินระยะสั้นๆ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อจะได้ช่วยรักษาเงินต้นของเราไว้ เช่น ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้
เป้าหมายของเราคืออะไรจ๊ะ #จงเขียนมันออกมา
ขั้นตอนที่ 3 : ลงมือทำ
เราเขียนเป้าหมายออกมาแล้วว่าชีวิตนี้ต้องการอะไร แล้วก็ต้องจับคู่กับแหล่งเก็บเงินตรงกับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วยนะจ๊ะ เช่น ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยมาก เห็นเงินลดลง 5-10% ก็หวั่นไหว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ควรเก็บเงินไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำๆ เช่น ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง ฝากประจำ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น
ภาพนี้เป็นตัวอย่างเป้าหมายการออมและวิธีการเก็บเงิน ซึ่งเราควรจัดการกับเป้าหมายระยะสั้นให้สำเร็จก่อน แล้วค่อยเก็บเงินเพื่อเป้าหมายในระยะกลางและยาวต่อไป
ที่มา : บัญชีเงินเดือนขั้นเทพ!! ตอนที่ ¼ บัญชีเงินออม
https://www.youtube.com/watch?v=OVkFUm5VYJM
ตอนนี้เราจะพอเห็นภาพแล้วว่าควรต่อยอดเงินออมได้ยังไงบ้าง เริ่มจากเก็บเงินฉุกเฉินให้ครบ ค้นหาเป้าหมายเพื่อวางแผนอนาคต แล้วสุดท้ายมันจะสำเร็จได้ก็ต้องลงมือทำตามแผนที่วางไว้นะจ๊ะ
ยัง ยังไม่จบบบบบบบบ
ปีที่แล้วแอดมินออมเงินเป็นเพื่อนแฟนเพจ หลายๆคนอาจจะอยากรู้ว่าแอดมินนำเงินที่หยอดกระปุกออมสินทั้ง 7 เดือนเอาไปทำอะไร
สรุปว่าสิ้นปีได้เงินมาทั้งหมด 7,545 บาท เราหยอดใส่เพิ่มเงินไปให้ครบ 8,000 บาทแล้วไปซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนภาษี ตอนนี้ 9 เดือนผ่านไปจากเงิน 8,000 บาท กลายเป็นเงิน 9,449.25 บาท คิดเป็นผลตอบแ