ประกันชีวิตแบบบำนาญ ถือเป็นประกันชีวิตประเภทหนึ่งที่ต้องบอกว่า คนทั่วไปไม่ค่อยนิยมซื้อกันเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่มักจะมองว่า ถ้าจะซื้อเพื่อคุ้มครองชีวิต ก็ได้ทุนประกันไม่สูง (ซื้อแบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา จะเหมาะสมกว่า) หรือถ้าจะซื้อเพื่อออม ก็มีตัวที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า จ่ายเบี้ยสั้นกว่า ได้เงินคืนหรือเงินครบสัญญาเร็วกว่า ทำให้ประกันบำนาญถูกละเลย อยู่นอกสายตา คนที่ซื้อก็เลยซื้อเพราะว่า ต้องการวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุดอีก 200,000 บาท เป็นหลักมากกว่า

         แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากมองในอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญก็เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีประโยชน์มากตัวหนึ่ง โดยเฉพาะกับคนที่ต้องการวางแผนเตรียมเงินเกษียณ เหตุผลก็เพราะ มันคือเครื่องมือ หรือสินค้าทางการเงินเพียงตัวเดียวที่สามารถ “การันตี” ผลตอบแทน หรือเงินที่เราจะได้หลังเกษียณ ว่าเราจะได้เท่านั้นแน่ๆ โดยไม่มีความเสี่ยงของผลตอบแทนเลย ทำให้เราอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า ถ้าเราซื้อประกันบำนาญแล้ว เราจะมีเงินก้อนหนึ่งที่จะได้หลังเกษียณทุกๆปีแน่ๆ แต่เนื่องจากมันเป็นเครื่องมือที่ปลอดความเสี่ยง จึงทำให้ผลตอบแทนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าการเงินเพื่อการเกษียณตัวอื่นที่เป็นการลงทุน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ RMF ทำให้ถ้าเราจะใช้ประกันบำนาญเป็นเครื่องมือในการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณแต่เพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะคงต้องใช้เงินออมแต่ละปีที่สูง หรือจ่ายเบี้ยเยอะมาก เพื่อให้ได้เงินเกษียณที่ต้องการ

         ดังนั้น วันนี้ผมเลยมีเคล็บ(ไม่)ลับจะมาแชร์ให้ฟังครับ ว่าเราควรจะซื้อประกันบำนาญยังไง เพื่อคุ้มค่า และได้ประโยชน์สูงสุด ให้ทุกคนได้เป็นแนวทางนำไปเลือกซื้อกัน!

3 ขั้นตอนเลือกซื้อประกันบำนาญให้คุ้มค่าสุดๆ

1. ซื้อเพื่อให้ตอบโจทย์เงินเกษียณขั้นต่ำสุด

อย่างที่ผมได้บอกไปในข้างต้นว่า เราคงไม่สามารถใช้ประกันบำนาญเป็นเครื่องมือเดียวในการเตรียมเงินเกษียณได้ เพราะเราคงต้องจ่ายเบี้ยสูงมากจนเราจ่ายไม่ไหว เช่น ถ้าคนที่อายุ 40 ปี อยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 60,000 บาท (มูลค่า ณ ตอนเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเทียบเป็นมูลค่าปัจจุบันจะประมาณเดือนละ 30,000 บาท ก่อนปรับเงินเฟ้อ) หรือปีละ 720,000 บาท ถ้าจะซื้อประกันบำนาญเพื่อให้ได้เงินบำนาญแต่ละปีเท่านี้เลย จะต้องจ่ายค่าเบี้ยปีละประมาณ 5 แสนกว่าบาท! ซึ่งเราอาจจะจ่ายไม่ไหว

ดังนั้น วิธีการก็คือ ให้เราใช้ประกันชีวิตแบบบำนาญเป็นเครื่องมือในการเตรียมเงินเกษียณเฉพาะส่วนที่เป็นเงินขั้นต่ำสุดที่ต้องการการันตี ประมาณ ไม่เกิน 10% ของเงินที่เราต้องการใช้หลังเกษียณในแต่ละเดือน (หรือปี) เช่นในกรณีนี้ เราอาจใช้ประกันบำนาญเพื่อให้สร้างเงินเกษียณส่วนการันตี ปีละ 10% ของ 720,000 บาท หรือ ปีละ 72,000 บาท (ตกเดือนละ 6,000 บาท) ทำให้จ่ายเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาทต่อปี ก็อยู่ในระดับที่เราอาจจะยังพอจ่ายไหว (ถ้ายังจ่ายไม่ไหว ก็อาจจะปรับลดลงมาเป็นการันตี 7-8% หรือน้อยกว่านั้น ในระดับที่เราจ่ายไหวก่อนก็ได้ครับ) ส่วนที่เหลือที่เป็นส่วนที่เราไม่ได้การันตี ก็ให้เราใช้เครื่องมือการเงินอื่นที่เป็นการลงทุนเช่น RMF LTF หุ้น กองทุนรวมอื่นๆ หรือสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ ในการตอบโจทย์ส่วนที่ยังขาดอยู่แทนได้ครับ

2. เริ่มทยอยซื้อตั้งแต่อายุยังไม่มาก

อีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้เราช่วยลดภาระในการจ่ายเบี้ยประกันบำนาญลงได้ก็คือ ให้เราเริ่มวางแผนเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วทยอยซื้อประกันบำนาญตั้งแต่เรายังอายุไม่มาก เช่น 30-35 ปี เพราะอัตราค่าเบี้ยประกันจะถูกกว่าตอนเราไปเริ่มทำตอนอายุมากๆ ถึงแม้ว่าตอนที่เราอายุยังไม่มาก เรายังอาจจะมีรายได้ไม่สูงมากนักก็ไม่เป็นไร ให้ทำเท่าที่ทำไหวแบบไม่เป็นภาระมากนักไปก่อน แล้วพอเรามีรายได้สูงขึ้น เราก็ค่อยทยอยทำเพิ่มขึ้น จนรวมแล้วได้เงินคืนจากประกันบำนาญปีละ 10% ของเงินที่เราต้องการใช้หลังเกษียณทั้งหมดต่อปี (ถ้าเป็นไปได้) ซึ่งถ้าคำนวณแล้ว จะดีกว่าการที่เราไปเริ่มทำทีเดียวตอนอายุมากกว่านั้น เพราะเบี้ยที่เราต้องจ่ายต่อปี ยังสูงกว่าเบี้ยรวมของประกันบำนาญหลายกรมธรรม์ที่เราทยอยทำตั้งแต่อายุน้อยๆรวมกันซะอีกครับ

3. เลือกซื้อตัวที่ผลตอบแทนสูง

เมื่อเรารู้แล้วว่า เราควรทำประกันบำนาญเพื่อให้ได้เงินคืน เป็นเงินเกษียณส่วนที่เป็นเงินการันตีขั้นต่ำ ต่อปีเท่าไหร่ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ ไปเปรียบเทียบเพื่อหาประกันบำนาญตัวที่ให้ผลตอบแทนดีทีสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่เราจ่ายไป (ได้เงินคืนเท่ากัน แต่จ่ายเบี้ยถูกกว่า) ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าไปหาเอง เปรียบเทียบเอง คำนวณเอง คงจะกินเวลาไม่น้อย และหลายคนก็คงอาจจะหาอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของแบบประกัน (หรือที่เรียกว่า IRR) ด้วยตัวเองไม่เป็น ผมจึงขอเสนอตัวช่วยในการเปรียบเทียบแบบประกันให้เราอัตโนมัติ นั่นก็คือการใช้เว็บไซต์ของ “iTAX Market” ในการช่วยหาแบบประกันบำนาญที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ :

1) เข้าไปที่ลิงค์นี้เลยครับ ซึ่งผมได้เลือกให้เป็นเปรียบเทียบแบบประกันประเภทบำนาญไว้เรียบร้อยแล้ว

itax.in.th/market/insurance

2) ปรับที่ “อายุ” และ “เพศ” ให้ตรงกับอายุและเพศของเรา และเลือก "อายุที่จะเกษียณ" (ในที่นี้ สมมติให้เป็นเพศ ชาย อายุ 35 ปี เกษียณ 60 ปี) ก็จะได้ผลลัพธ์ตามภาพ ว่าแบบประกันบำนาญ อันดับ 1 ในแง่ของผลตอบแทน สำหรับเพศชาย อายุ 35 ปี ก็คือ ทรัพย์บำนาญ G 60 ของบริษัท ไทยประกันชีวิต นั่นเอง

 3 ขั้นตอนเลือกซื้อประกันบำนาญให้คุ้มค่าสุดๆ

3) โดยเราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของแบบประกันได้ โดยคลิกเข้าไปที่ “ดูรายละเอียดแบบประกัน ซึ่งก็จะบอกรายละเอียดต่างๆของแบบประกัน (ตามภาพ)

 

3 ขั้นตอนเลือกซื้อ<div class=