3wrongLTF-02

สวัสดีครับ วันนี้ @TAXBugnoms มีบทความดีๆ เรื่องภาษีกับการวางแผนซื้อ LTF และ RMF มาแนะนำอีกแล้วครับผมเพราะว่าช่วงนี้เป็นเวลาที่หลายๆคนกำลังวางแผนอยากจะประหยัดภาษีกันอยู่พอดี คำถามที่ถามเข้ามาทางหลังไมค์ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเรื่องนี้เหมือนกันครับ แหม่... มันน่าจับมาเรียนคอร์ส “ตัดภาษี มีเงินออมด้วย LTF / RMF” กันให้หมดเลย (อิอิ.. ขอใช้พื้นที่โฆษณาหลักสูตรของ Aommoney School หน่อยครับ)

3wrongLTF-01

อย่ามองแค่ประหยัดภาษี : ถึงแม้กองทุน LTF และ RMF จะเป็นกองทุนเพื่อการประหยัดภาษี แต่อย่าลืมว่าสองประเด็นสำคัญที่เราควรมองก่อนจะประหยัดภาษี นั่นคือ “ความเสี่ยง” และ “ผลตอบแทน” ของกองทุน 

เราต้องรู้ก่อนว่า ตัวเราเองนั้นรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เพราะเห็นมาหลายคนแล้วครับที่รับความเสี่ยงไม่ได้แต่ดันตัดสินใจลงทุนในกองทุน LTF ที่ลงทุนในหุ้น 100% คราวนี้พอเห็นราคาตกลงก็ทนไม่ไหว ตัดสินใจขายซะงั้นๆ ไปๆมาๆ แทนที่จะประหยัดภาษีอย่างได้ผลดี กลับต้องมาขาดทุนฟรีๆจากการขาย แถมยังแทบตายเพราะโดนพี่สรรพากรตามให้ไปยื่นแบบเพิ่มเติมเสียอีก

สรุปอีกครั้งนะครับ มองที่ “ความเสี่ยงที่รับได้” และ “ผลตอบแทนที่ต้องการ” หลังจากนั้นค่อยตามมาด้วยกองทุนรวม “ประหยัดภาษี” ที่เหมาะสม ขอรับประกันได้ว่าไม่ขาดทุนแน่นอนจ้า

ซื้อๆไปเหอะอย่าคิดมาก : ผมเคยแนะนำไว้ว่า... สิ่งที่ดีที่สุดในการจัดการเรื่อง LTF กับ RMF คือการประมาณการรายได้ให้เหมาะสมเป็นลำดับแรก และตามมาด้วย 3 ข้อควรทำ นั่นคือ “อย่าซื้อเกินที่กฎหมายกำหนด”  “อย่าอดใจไม่ไหวจนผิดเงื่อนไข” และ “อย่าไปหวังผลตอบแทนจนเกินงาม” 

อย่าซื้อเกินที่กฎหมายกำหนด คือ ให้ซื้อตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว

ส่วน อย่าอดใจไม่ไหวจนผิดเงื่อนไข คือ อย่าทำผิดเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้

และ อย่าไปหวังผลตอบแทนจนเกินงาม คือ อย่าไปคิดว่าจะได้ผลตอบแทนสูงสุดตลอดเวลา เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้อนาคตของกองทุนรวมอยู่แล้วครับ ดังนั้นเลือกกองที่ใช้ (ผลตอบแทน) ใส่ใจกองที่ชอบ (นโยบายการลงทุน) แค่นั้นก็พอแล้วคร้าบ

เปลี่ยนแปลงกองทุนไม่ได้ : โปรดฟังอีกสักครั้งนะครับว่า ซื้อกองทุนไหนแล้วไม่พอใจในผลตอบแทน เราสามารถเลือกทำได้ 2 วิธี นั่นคือ “เปลี่ยนไปซื้อกองทุนใหม่” หรือ “สับเปลี่ยนกองทุน” โดยแต่ละวิธีนั้นมีผลกระทบต่อภาษีดังนี้ครับ

  • ซื้อกองทุนใหม่ : ปล่อยกองทุนเก่าทิ้งไป หากองทุนใหม่ดีกว่า บอกเลยครับว่า ถ้าไปซื้อกองทุน LTF หรือ RMF แล้วไม่พอใจ สามารถเปลี่ยนไปซื้อกองทุนใหม่ของบลจ. เดิม หรือ บลจ.ใหม่ก็ได้ โดยที่เราจะได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีจากจำนวนที่ซื้อเหมือนเดิมครับ
  • สับเปลี่ยนกองทุน : สิ้นสุดกันที จบกันชาตินี้อย่าเจอกันอีก ถ้ากองทุน LTF หรือ RMF ที่เราเจอนั้นมีผลตอบแทนที่ไม่น่าพอใจ หรือนโยบายการลงทุนไม่เหมาะสมกับตัวเรา สามารถขอสับเปลี่ยนกองทุนได้ทั้งใน บลจ. เดิม หรือ สับเปลี่ยนไป บลจ. ใหม่ (มีค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยน) โดยการสับเปลี่ยนกองทุนนั้น ไม่ถือเป็นการซื้อกองทุนใหม่ และขายกองทุนเก่า ดังนั้นเราจึงไม่ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเพิ่มนะคร้าบ

และทั้งหมดนี้คือความเข้าใจผิดเรื่องภาษีกับกองทุน LTF และ RMF ที่เรามักเจออยู่เป็นประจำ แต่ถ้าหากข้อมูลแค่นี้ยังไม่จุใจเพียงพอ เพราะเรื่องลดหย่อนภาษีก็มึน จะเลือกกองทุนให้ดีก็ยาก แล้วจะทำยังไงดี!! นั่นนะซิ...

ตะแด่มแต้มแต้มมมมม.... ขอเชิญพบกับสัมมนา “ตัดภาษี มีเงินออมด้วย LTF / RMF” แบบที่เรียกว่าจับมือเลือกกองทุนดีๆ พร้อมคำนวณภาษีเป็นแบบรู้เช่นเห็นชาติกันไปเล้ยยยยยยส์

ถ้าอยากรู้ว่า... @TAXBugnoms มีกลยุทธ์ใหม่ๆในการประหยัดภาษีได้อย่างไร รวมถึงวิธีการเลือกกองทุน LTF และ RMF ระดับ Hi-End ของหมอนัท คลินิกกองทุน นั้นมีเทคนิคแบบไหน คลิกอ่านรายละเอียดสัมมนาเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้เลยคร้าบบบบ.... http://goo.gl/lr2tlE

poster-seminar-finalround2-01-01