3and7bugs-05

เข้าสู่ช่วงปลายปีทีไร @TAXBugnoms มักจะได้รับคำถามจากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่เป็น Freelance หรือไม่ได้ทำงานประจำ ว่าควรจะวางแผนประหยัดภาษีอย่างไร วันนี้เลยขอแนะนำตัวช่วยในการประหยัดภาษีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ และสิ่งที่เราได้นั้นไม่ใช่แค่ประหยัดภาษีเท่านั้น แต่มันเป็นการออมลงทุนไปในตัวพร้อมๆกันเลยครับ

และ 3 ตัวช่วยที่เราจะมาว่ากันนั้น ได้แก่ ... (แต่มแต่มแต่ม แต้มมมมม) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต!! เอาล่ะ... เรามาทวนกันอีกสักครั้งว่า แต่ละตัวนั้นมีเงื่อนไขและได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง 

3and7bugs-01

1. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คือ กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น ซึ่งแน่ละว่าการลงทุนนั้นมีเงื่อนไขว่า สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และสูงสุดคือ 500,000 บาท 

  • ถ้ารายได้ทั้งปีของเราคือ 500,000 บาท เราจะสามารถซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 75,000 บาท และถ้าฐานภาษีของเราคือ 10% การซื้อ LTF จำนวนนี้จะทำให้เราลดหย่อนภาษีได้ถึง 7,500 บาท!!

2. ประกันชีวิต คือ การป้องกันความเสี่ยงในรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้งประกันชีวิตแบบออมทรัพย์และแบบบำนาญ 

  • สำหรับประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ สามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แปลว่าถ้าฐานภาษี 10% จ่ายเบี้ยประกันปีละ 50,000 บาท การจ่ายเบี้ยประกันจำนวนนี้จะทำให้เราลดหย่อนภาษีได้ถึง 5,000 บาท!!

ซึ่งข้อดีของประกันชีวิตแบบออมทรัพย์นั้น จะมีเงินจ่ายคืนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี หรือ 5 ปี และจ่ายคืนให้ก้อนใหญ่เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ชื่อเรียกกรมธรรม์มักจะเป็นตัวเลขสองตัว เช่น 15/6 โดยตัวเลขน้อยกว่าหมายถึงจำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ย ส่วนตัวเลขมากกว่าหมายถึงจำนวนปีของอายุกรมธรรม์ 15/6 จึงหมายถึงเราจ่ายเบี้ยติดต่อกัน 6 ปี กรมธรรม์มีอายุคุ้มครอง 15 ปี นั่นแปลว่าถ้าภายใน 15 ปีนี้ ผู้จ่ายเบี้ยประกันตายไป ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินชดเชย

ส่วนประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งข้อดีของประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น เราจะได้รับผลตอบแทนหลังเกษียณเป็นเงินก้อน หรือเงินบำนาญรายเดือน รายปี ซึ่งแล้วแต่กรมธรรม์จะระบุไว้ครับ

ขอแนะนำให้ อ่านเงื่อนไขเรื่องประกันชีวิตเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ครับ 7 เรื่องที่คุณควรรู้ก่อนลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต (ภาคต้น / ภาคจบ)

3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณ โดยลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้น ทอง น้ำมัน ฯลฯ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าลดหย่อน และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท  

  • แต่เงื่อนไขสำหรับการซื้อ RMF นั้น เราจะต้องซื้อติดต่อกันทุกปีอย่างน้อย 3% ของเงินได้หรือ 5,000 บาท (เลือกอันที่ต่ำกว่า) และซื้อจนกว่าจะมีอายุครบ 55 ปี
  • เมื่อไรก็ตาม ถ้าเว้นการซื้อเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน หรือดันพลาดไปขายก่อนที่อายุครบ 55 ปี เรา (อาจจะ) ต้องจ่ายคืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนไป 5 ปีย้อนหลัง (มีเงินเพิ่มด้วย) และเสียภาษีสำหรับกำไรจากการขายอีกด้วย
 

อ้อ!!! อย่าลืมนะครับว่า สำหรับข้อ 2 และข้อ 3 นั้นยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับ ประกันแบบบำนาญ และ RMF ทั้งสองตัวนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วยคร้าบ

ทึนี้ก็มาถึงคำถามสุดฮิตว่า แล้วการวางแผนภาษีสำหรับงานไม่ประจำ ควรทำอย่างไรบ้าง  @TAXBugnoms ขอสรุปแนวทาง ให้ฟังตามนี้ครับ

3and7bugs-03

สำรวจความต้องการตัวเองก่อนว่าต้องการอะไร ระหว่าง ลงทุนระยะสั้นๆ (LTF) หรือ ป้องกันความเสี่ยง (ประกันชีวิต) หรือ ลงทุนเพื่อการเกษียณ (RMF) แต่ถ้าถามผมแล้วล่ะก็ บอกตรงๆครับว่า “เอาทุกอย่าง”

รายได้ไม่แน่นอน จะวางแผนประหยัดภาษีอย่างไร

  • ทยอยซื้อเฉลี่ย โดยวิธี DCA (Dollar Cost Average) เน้นสำหรับ LTF และ RMF โดยดูตามเงื่อนไขจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละกองทุนที่เราเลือก และทยอยซื้อทุกครั้งที่ได้รับเงินมา ให้ซื้อทันที ไม่ต้องรีรอรวบรวมให้เสียเวลาครับ และถือว่าเป็นการสร้างวินัยไปในตัว
  • จ่ายแบบรายปี สำหรับการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต เพราะจะได้รับส่วนลดมากกว่าเมื่อเทียบกับการจ่ายแบบรายเดือน โดยอาจจะทยอยฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ (ดอกเบี้ยสูง) หรือกองทุนรวมตลาดเงินทุกครั้งที่มีรายได้ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า หลังจากนั้นค่อยจ่ายเบี้ยประกันเมื่อครบกำหนดชำระครับ

ตัวอย่างเช่น นายเกรย์แมนเป็นฟรีแลนซ์รับจ้าง เมื่อได้รับเงินจากการรับทำความสะอาดออฟฟิศ Aommoney จำนวน 10,000 บาท นายเกรย์แมนจะแบ่งเงินจำนวน 1,000 บาท ฝากธนาคารไว้ซื้อประกันชีวิตตอนปลายปี และแบ่งอีก 1,000 บาทไว้ซื้อกองทุน LTF ที่ตัวเองต้องการลงทุน ส่วนเรื่องเกษียณนั้นนายเกรย์แมนไม่สนใจวางแผนเพราะคิดว่าตัวเองคงอยู่ไม่ถึงเกษียณ เป็นต้น

ทีนี้ก็มาถึง 7 ข้อควรระวังเรื่องภาษีที่ทุกคนควรรู้ โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่งานไม่ประจำ ว่าควรระวังตรงจุดไหนกันบ้าง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องภาษี ทีนี้เรามาดูกันต่อเลยละกันคร้าบ

3and7bugs-04

ความเสี่ยงในการลงทุน : การซื้อ LTF มีความเสี่ยงสูงกว่าการซื้อประกันออมทรัพย์ เนื่องจากความแตกต่างกันเรื่องจุดประสงค์การลงทุน ส่วน RMF นั้นมีความเสี่ยงหลากหลาย ตั้งแต่ต่ำๆไปจนสูงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทการลงทุน หากไม่รู้ว่จะลงทุนกองทุนแบบไหน แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (เช่น หมอนัทแห่งเพจคลินิกกองทุน) และหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนครับ

วิธีเลือกประกันออมทรัพย์ : ถ้าต้องการลดภาษีมากกว่าป้องกันความเสี่ยง ควรเลือกตัวเลขสองตัวที่ไม่ห่างกันมาก เพราะผลตอบแทนที่ได้จะน้อยลงตามระยะห่