สวัสดีครับพบกับตอนที่ 5 ที่จะมี 2 ตอน ตอนนี้จะเป็นตอนที่ 5-1 ของซีรี่ย์ 3 ตัวช่วยรวยหุ้นด้วยเทคนิค ในตอน “ทำความรู้จัก MACD” สำหรับบทความตอนนี้ผมจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ MACD (Moving Average Convergence Divergence อ่านว่า “Mac-Dee” หรือ “ M-A-C-D” ก็ได้) Indicator ตัวนี้เป็น Indicator ที่นำลักษณะของกราฟเส้น Moving Average ที่ถูกวาดขึ้นพร้อมๆ กัน 2 เส้นมาประยุกต์ใช้งาน เพื่อการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยหลักการที่ซับซ้อนขึ้น ความเห็นส่วนตัวของผมนี่ยกให้ MACD เป็นสุดยอด Indicator ในดวงใจเลยทีเดียว
เพราะจุดแข็งของ MACD เป็น Indicator ที่สามารถให้ข้อมูลได้ทั้ง 1) ทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น (Trend) และ 2) แรงส่งของราคาหุ้น (Momentum) พร้อมๆ กัน
ด้วยจุดแข็งตรงนี้จึงทำให้ MACD เป็น Indicator ที่แม้ว่าจะถูกพัฒนาและใช้งานมานานแล้ว แต่ยังเป็น Indicator ที่ยอมรับและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันนี้
เนื่องจากบทความนี้เกี่ยวกับ MACD ซึ่งเป็น Indicator ที่ประยุกต์เอาลักษณะของเส้น Moving Average 2 เส้นมาวิเคราะห์ด้วยหลักการที่ซับซ้อนขึ้น ผู้อ่านคนไหนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการแปลความหมายจากกราฟเส้น Moving Average ผมแนะนำให้ลองอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Moving Average ก่อนแล้วค่อยอ่านบทความนี้ตามทีหลัง เพราะจะทำให้สามารถทำความเข้าใจลักษณะของ MACD ได้ง่ายขึ้น ตาม Link ที่ให้ไว้ด้านล่างครับ
ตอนที่ 1 ทำความรู้จัก Indicators
ตอนที่ 2 ทำความรู้จัก EMA
ตอนที่ 3 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ไม่ถูกต้อง
ตอนที่ 4 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้อง
แต่สำหรับใครที่คุ้นเคยกับการอ่านเส้น Moving Average แล้วเราไปลุยกันต่อได้เลยครับ
MACD คืออะไร?
ผู้คิดค้น MACD คือ Gerald Appel โดยประยุกต์เอาลักษณะของกราฟเส้น Moving Average ที่วาดขึ้นมา 2 เส้นพร้อมๆกันมาคำนวณเป็น Indicator ตัวใหม่คือ MACD จากชื่อของ MACD (Moving Average Convergence Divergence) ที่มีคำว่า “Convergence” ที่แปลว่า วิ่งเข้าหากันหรือลู่เข้าหากัน และคำว่า “Divergence” ทีแปลว่า ห่างออกจากกันหรือแยกออกจากกัน
การคำนวณค่า MACD จึงเป็นการวัดระยะห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น เพื่อดูว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นกำลังเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันหรือแยกออกจากกัน
โดยสูตรในการคำนวณ MACD แบบดั้งเดิมจะเป็นการนำเอาค่าของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential ที่คำนวณจากข้อมูลราคาย้อนหลัง 12 วัน (EMA12) ลบกับ ค่าของเส้นค่าเฉลี่ยแบบ exponential ที่คำนวณจากข้อมูลราคาย้อนหลัง 26 วัน (EMA26)
MACD = EMA(12) – EMA(26)
หรือ
MACD = ผลต่างหรือระยะห่างของเส้น EMA(12) และ EMA(26)
รูปตัวอย่างแสดงลักษณะของเส้น EMA(12) และเส้น EMA(26) ที่ทำให้ค่า MACD มีค่าเป็น + และ -
หมายเหตุ : ผมเห็นบางคนอาจเปลี่ยนจำนวนวันย้อนหลังในการคำนวณเส้น EMA โดยไม่ใช้จำนวนวัน 12 วัน และ 26 วัน ถ้าใครมีสไตล์การซื้อขายที่ซื้อเร็วขายเร็วหรือระยะเวลาในการถือหุ้นไม่นานก็จะปรับจำนวนวันในการคำนวณเส้น EMA ให้สั้นลง แต่ถ้าใครมีระยะเวลาถือหุ้นที่นานอาจปรับจำนวนวันในการคำนวณเส้น EMA ให้ยาวขึ้นได้ (คล้ายกับหลักการในการปรับจำนวนวันในการคำนวณเส้น Moving Average)
วิธีแสดงค่า MACD
การวิเคราะห์ MACD จะคำนวณค่าของ MACD ออกมาจำนวนหลายๆ ค่าต่อเนื่องกัน และนำค่าเหล่านั้นมา
วาดเป็นกราฟเส้นควบคู่ไปกับกราฟของราคาหุ้น แต่จะวาดกราฟเส้นของค่า MACD บนพื้นที่ใหม่แยกออกมาจากกราฟราคาหุ้น
และในพื้นที่ของกราฟเส้น MACD จะมีการลากเส้นแนวนอนของค่า MACD = 0 ไว้ด้วย (เส้นแนวนอนของค่า MACD = 0 เรียกว่า Center Line)
รูปแสดงการวาดกราฟเส้น MACD ควบคู่กับกราฟราคาหุ้น โดยมีเส้น Center Line (MACD=0) แบ่งพื้นที่ของกราฟเส้น MACD ออกเป็นเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ด้านบน ค่าของ MACD มากกว่า (>) 0 และพื้นที่ด้านล่าง ค่า MACD น้อยกว่า (<) 0
เวลาอ่านกราฟเส้น MACD เค้าดูอะไรกัน?
ค่าของ MACD และลักษณะของกราฟเส้น MACD ที่วาดขึ้นสามารถอธิบายลักษณะของเส้น EMA(12) และ เส้น EMA(26) ได้ดังนี้คือ
ดูว่าค่า MACD เป็นบวก (+), ลบ (-), หรือ ศุนย์(0)
1) ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แปลว่า EMA(12) มีค่ามากกว่า EMA(26) ถ้าดูจากกราฟจะเห็นได้ว่าเส้น EMA(12) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะสั้น จะอยู่เหนือเส้น EMA(26) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะยาว
2) ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แปลว่า EMA(12) มีค่าน้อยกว่า EMA(26) ถ้าดูจากกราฟจะเห็นได้ว่าเส้น EMA(12) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะสั้น จะอยู่เหนือใต้ EMA(26) ซึ่งเป็นเส้น EMA ระยะยาว
3) ณ จุดที่ค่า MACD = 0 เป็นจุดตัดกันของเส้น EMA(12) และ EMA(26)
รูปแสดงตัวอย่างกราฟเส้น MACD และการแปลความหมายของค่า MACD และลักษณะของเส้น MACD เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นลักษณะของเส้น EMA12 (สีฟ้า) และ EMA26 (สีชมพู) ที่ถูกวาดขึ้นพร้อมกัน โดยช่วงที่เส้น EMA(12) อยู่เหนือเส้น EMA(26) ค่า MACD จะเป็นบวก และช่วงที่เส้น EMA(12) อยู่ใต้เส้น EMA(26) ค่า MACD จะเป็นลบ
ดูว่า ค่า MACD เป็นบวกมากขึ้น เป็นบวกน้อยลง เป็นลบมากขึ้น เป็นลบน้อยลง
4) ถ้า MACD มีเป็นค่าบวกและยิ่งมีค่าเป็นบวกมากขึ้น แสดงว่า เส้น EMA(12) อยู่เหนือเส้น EMA(26) และเส้น EMA(12) กับเส้น EMA(26) เคลื่อนที่แยกออกจากกัน ทำให้ความห่างระหว่าง EMA ทั้ง 2 เส้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเส้น EMA(12) ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าเส้น EMA(26) ทำให้เราเห็นว่าเส้น MACD เป็นเส้นที่มีแนวโน้มของทิศทางเป็นขาขึ้นในขณะที่มีค่าเป็นบวก (อยู่เหนือ Center Line)
5) แต่ถ้า MACD มีค่าเป็นลบและยิ่งเป็นค่าเป็นลบมากขึ้น แสดงว่าเส้น EMA(12) อยู่ใต้เส้น EMA(26) และเส้น EMA(12) กับเส้น EMA(26) เคลื่อนที่แยกออกจากกัน ทำให้ความห่างระหว่าง EMA ทั้ง 2 เส้นเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเส้น EMA(12) ปรับตัวลดลงเร็วกว่าเส้น EMA(26) ทำให้เห็นว่าเส้น MACD เป็นเส้นที่มีแนวโน้มของทิศทางเป็นขาลงในขณะที่มีค่าเป็นลบ (อยู่ใต้เส้น Center Line)
รูปแสดงตัวอย่างกรณีที่กราฟเส้น MACD มีค่าเป็นบวกมากขึ้น และกรณีที่กราฟเส้น MACD มีค่าเป็นลบมากขึ้น เกิดจากเส้น EMA(12) และ เส้น EMA(26) เคลื่อนที่แยกออกจากกัน
6) ถ้า MACD มีเป็นค่าบวกแต่มีค่าเป็นบวกลดดลง แสดงว่า เส้น EMA(12) ยังอยู่เหนือเส้น EMA(26) และเส้น EMA(12) กับเส้น EMA(26) เคลื่อนที่ลู่เข้าหากัน ทำให้ความห่างระหว่างเส้น EMA 2 เส้นลดน้อยลง เนื่องจากเส้น EMA(12) ปรับตัวสูงขึ้นช้ากว่าเส้น EMA(26) หรือเป็นช่วงที่เส้น EMA(12) เริ่มจะปรับตัวลดลง แต่เส้น EMA(26) ปรับตัวลดลงในจังหวะที่ช้ากว่า ทำให้เห็นว่าเส้น MACD เป็นเส้นที่มีแนวโน้มของท