เงินฉุกเฉินไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะเนี่ย จัดเต็มมาทั้งหมด 3 บทความกันเลย จาก 2 บทความที่แล้วเราก็รู้ แล้วว่าเงินฉุกเฉินนั้นสำคัญอย่างไรและวิธีสร้างเงินฉุกเฉินให้ปลอดภัย บทความที่ 3 นี้เป็นหัวใจของเงินฉุกเฉินเลยนะจ๊ะ เพราะเป็นการลงมือทำจริงจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนเอง จะเป็นยังไงบ้างอ่านกันได้เลยนะจ๊ะ
สำหรับผู้อ่านที่พึ่งเข้ามาเจอบทความนี้ สามารถอ่านบทความฉุกเฉินย้อนหลังได้ที่
- ชีวิตง่ายไม่มีเงิบกับเงินฉุกเฉิน คลิกที่นี่
- 4 กลเม็ดเคล็ดไม่ลับสร้างเงินฉุกเฉิน คลิกที่นี่
แม้ว่าเงินฉุกเฉินเป็นเงินที่ใช้ระยะสั้น แต่ก็มีเวลาใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น เกิดอุบัติเหตุกะทันหันต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล จำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วนที่สุด คือ “เงินฉุกเฉินด่วนจี๋” ก็จะเป็นการเงินสดที่ถอนออกได้ทันทีต้องตอนนี้เท่านั้น!!
แต่ถ้าตกงานแล้วจะต้องมีเงินมาใช้จ่ายช่วงรองานใหม่อีกหลายเดือน ก็จะเป็นเงินฉุกเฉินที่ไม่เร่งด่วนมาก ก็อาจจะแบ่งเก็บไว้ในแหล่งเก็บเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นได้ จะได้ไม่เสียโอกาสการลงทุน
เงินฉุกเฉินก็มีช่วงเวลาการใช้งานของตัวเอง จะภายในวันนี้หรืออีกหลายเดือนข้างหน้าก็มีวิธีการเก็บที่แตกต่างกัน ที่จริงมันก็ไม่ยุ่งยากหากเก็บไว้ในที่เดียว แต่ก็ทำให้ซับซ้อนขึ้นมาอีกนิดเพื่อได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย มันน่าจะทำให้เรามีเงินฉุกเฉินงอกเงยขึ้นมาได้บ้าง ชอบทางเลือกไหนก็นำไปประยุกต์ใช้กับตัวเองนะจ๊ะ ^_^
3 ทางเลือกสร้างเงินฉุกเฉินขั้นเทพ
ทางเลือกที่ 1 เก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
ทางเลือกนี้จะเก็บเงินฉุกเฉินทั้งหมดไว้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี ATM ถ้าจะให้ดีมากขึ้นควรเปิดใช้บริการธนาคารออนไลน์ (e-banking) แล้วโหลดแอพของธนาคารนั้นๆ มาไว้ที่สมาร์ทโฟนของเราด้วย เพื่อเป็นช่องทางนำเงินออกมาใช้ให้สะดวกสบายมากขึ้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องการใช้เงินด่วนจี๋เมื่อไหร่ก็สามารถถอนเงินออกมาใช้งานได้ทันที
เงินฉุกเฉินจากประสบการณ์จริงของผู้เขียน...
ครั้งหนึ่งเคยลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่บ้าน จะกลับไปเอาก็เข้างานสายแน่ๆ ตอนนั้นก็มีเหรียญนิดหน่อยอยู่ในกระเป๋าใส่เศษสตางค์ ทำให้เอาชีวิตรอดมาถึงที่ทำงานได้ แต่เงินที่มีก็คิดว่าไม่น่าจะอยู่รอดถึงตอนเย็นแน่ๆโชคดีที่โหลดแอพธนาคารออนไลน์มาไว้ที่ไอแพดก็เลยฝากเพื่อนกดเงินออกมาได้ เราใช้วิธีโอนเงินออนไลน์เข้าบัญชีธนาคารของเพื่อน แล้วใช้บัตร ATM ของเพื่อน กดเงินสดออกมาให้เรา เฮ้อ...มีชีวิตรอดไปอีก 1 วัน
แต่ในความสะดวกสบายก็มีข้อควรระมัดระวัง คือ ความปลอดภัยของเงินในบัญชีออนไลน์ เราควรนำเงินเก็บไว้ในบัญชีธนาคารออนไลน์เท่าที่พอใช้ในแต่ละเดือนเท่านั้น ไม่ควรนำเงินทั้งหมดมาไว้ในบัญชีนี้ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดจะเสียหายไม่มาก แล้วควรระวังใจตัวเองที่อาจจะเผลอถอนเงินออกมาใช้ง่ายๆด้วยเช่นกัน
ทางเลือกที่ 2 เงินฝากกับกองทุนรวมตลาดเงิน
ทางเลือกนี้ต่อยอดมาจากทางเลือกแรก แล้วเพิ่มการเปิดบัญชีกองทุนรวมตลาดเงินแบบออนไลน์ และผูกติดไว้กับบัญชีออมทรัพย์ด้วย เวลาซื้อหรือขายกองทุนรวมจะได้สะดวกมากขึ้น โดยเราจะแบ่งสัดส่วนของเงินฉุกเฉินในเงินฝากและกองทุนรวมตลาดเงินตามความจำเป็นของแต่ละคน
เราแบ่งเงินฉุกเฉินเป็น 2 ส่วน คือ
- ทัพหน้า คือ เงินฝาก เป็นส่วนเก็บเงินฉุกเฉินแบบด่วนจี๋และเป็นช่องทางนำเงินออกมาใช้ เพราะมี ATM และเปิดใช้บริการธนาคารออนไลน์
- กองหนุน คือ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นที่สะสมเงินฉุกเฉินที่ไม่เร่งด่วนมาก ให้ผลตอบแทน มากกว่าการฝากออมทรัพย์ มีสภาพคล่องใกล้เคียงเงินสดเพราะส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุนวันนี้ได้เงินสดเข้าบัญชีออมทรัพย์ในวันรุ่งขึ้น
ตัวอย่าง เราต้องการเก็บเงินฉุกเฉินไว้ 6 เดือนของค่าใช้จ่าย มีรายจ่ายส่วนตัวเดือนละ 10,000 บาท สรุปว่าเราควรมีเงินฉุกเฉิน 60,000 บาท แบ่งเงินเป็น 2 ส่วน คือ เก็บในบัญชีเงินฝาก 20,000 บาทและเก็บไว้ในกองทุนรวมตลาดเงิน 40,000 บาท
เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตชีวิตที่ต้องการใช้เงินด่วนจี๋ เราก็ถอนเงินฝาก (จำนวน 20,000 บาท) ออกมาใช้ก่อน ถ้ามันรุนแรงจนทำให้เงินฝากหมด เราค่อยนำเงินกองหนุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (จำนวน 40,000 บาท) ออกมาใช้งาน โดยการส่งคำสั่งขายหน่วยลงทุนวันนี้ ระบบจะขายหน่วยลงทุนนำเงินสดกลับมาที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในวันรุ่งขึ้น เราก็ถอนเงินออกมาใช้ได้
ข้อดีของวิธีนี้ คือ เราจะไม่เผลอกดเงินฉุกเฉินออกมาใช้ง่ายเกินไปเพราะเงินส่วนใหญ่อยู่ในกอง ทุนรวมตลาดเงิน ทำให้ป้องกันการถอนออกเพราะอารมณ์ได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากออมทรัพย์อีกด้วย แต่สิ่งสำคัญวิธีนี้เราควรเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินก่อนตัดสินใจลงทุนนะจ๊ะ
ทางเลือกที่ 3 ทัพหน้า กองหนุนและกำลังเสริม
ทางเลือกนี้เกิดเพราะความผิดพลาดในการลงทุน อยากจะเขียนเป็นบทเรียนให้ผู้ที่กำลังคิดใช้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นที่เก็บเงินฉุกเฉินว่าจะเจอผลกระทบอะไรบ้าง จะได้เตรียมใจไว้ล่วงหน้า (เล่าเรื่องความผิดพลาดไว้ท้ายบทความ) ตอนนี้เราก็ใช้วิธีการนี้ แต่ก็ปรับส่วนที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงให้ลดลง
ทางเลือกที่ 3 เหมาะกันคนที่ศึกษาการลงทุนและรู้จักความเสี่ยงเป็นอย่างดี เราจะแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วนคือ ทัพหน้า(เงินฝาก), กองหนุน(กองทุนรวมตลาดเงิน), กำลังเสริม (การลงทุนอื่นๆ) เราใช้ทางเลือกนี้เป็นคำตอบให้แฟนเพจที่สอบถามเข้ามาว่าฝากเงินฉุกเฉินไว้ที่การฝากประจำ สลากออมสิน การออมหุ้นว่าสามารถเก็บได้หรือไม่ #เอาที่สบายใจเลยนะจ๊ะ
เราควรแบ่งให้เป็นสัดส่วนชัดเจนว่าเก็บเท่าไหร่ คือ
เง