‘การไม่มี หนี้  เป็นลาภอันประเสริฐ’

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินอะไรทำนองนี้กันมาบ้าง แต่ด้วยไลฟ์สไตล์คนยุค ‘Internet of Things’ ที่หนีไม่พ้นการ กิน-เที่ยว-ช็อป เรียกได้ว่า เป็นเทรนด์ที่ถ้าไม่ลองทำตามก็อาจจะกลายเป็นตามคนอื่นไม่ทันเอาได้ง่ายๆ

ซึ่งทั้ง 3 อย่างไม่ว่าจะทำอะไรล้วนต้องใช้ ‘เงิน’ ทั้งนั้น 

ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราเห็นเพื่อนโพสต์ต์รูปตามสื่อโซเชียล หลายครั้งเราเองก็อยากทำตามบ้าง จนบางครั้งไลฟ์สไตล์ที่เราอยาก (หรือฝัน) จะเป็นคงทำให้เราติดหล่มหนี้กันแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลยก็ว่าได้

คุณคิดว่าในยุคที่อะไรๆ ก็ต้องรวดเร็วเหมือน 4G ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน-เที่ยว-ช็อป ก็ต้องอาศัยความรวดเร็ว เริ่มไม่ต้องการ ‘รอคอย’ และไม่เห็นความจำเป็นของการอดทนรอ แม้กระทั่งในเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็มีเพียงคนจำนวนไม่มากเท่านั้นที่ยอมเก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่ต้องการ กลับยอมที่จะ ‘ยืม’ เงินอนาคตมาใช้จ่ายก่อน และพาให้ชีวิตของตัวเองเข้าสู่วงจร ‘หนี้’ ในที่สุด

แต่จริงๆ แล้วการมีหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะหากเราสามารถควบคุมหนี้ให้อยู่ในระดับที่สามารถจ่ายไหวและไม่กระทบกระเทือนกับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน (และแน่นอนไม่กระทบกับครอบครัวของเรา) ก็คิดเสียว่าการมีหนี้ก็เหมือนกับการให้ยา กระตุ้นที่ทำให้เราต้องทำงานแทน

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าไลฟ์สไตล์ของเราเป็นแบบ ‘Born to be มีหนี้’ รึเปล่า? เราลองมาเช็คไลฟ์สไตล์ง่ายๆ กันว่าตัวคุณเองมีสัญญาณหนี้ต่อไปนี้รึเปล่า?

1. ใช้ชีวิตแบบเจ้าหญิง ทั้งที่ในชีวิตจริงเป็นนางซิน

ข้อนี้เราสามารถเห็นได้จากชีวิตประจำวันจากสื่อโซเชียลของหลายๆ คน เคยสังเกตกันบ้างรึเปล่า? ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนตั้งแต่สมัยเรียน ทุกครั้งที่โพสต์รูปลงทีไร ชีวิตของพวกเธอดี๊ดี~~~ แต่พอเจอหน้ากันในชีวิตจริงทีไร ยืมเงินทุกที (บางคนของเก่ายังไม่คืนพอไม่ให้ยืมก็ดราม่าใส่ด้วย)

คนสไตล์นี้มักมีหนี้จากการใช้เงินเกินตัว อาหารทุกมื้อจะต้องเป๊ะ ไปเที่ยวก็ต้องถ่ายรูปเสมอ ถ้าวันไหนไม่โพสต์เรื่องชีวิตดี๊ดีของตัวเองจะรู้สึกแปลกๆทันที คนสไตล์นี้การมีหนี้ก็เหมือนการเจอเพื่อนซะแล้ว

2. ของต้องได้ แม้จะต้องกินมาม่า!!!

เราทุกคนย่อมมีของที่เราอยากได้กันอยู่แล้ว สำหรับสาวๆก็คงจะเป็นเสื้อผ้า, accessories, เครื่องสำอางค์ ส่วนหนุ่มๆนอกจากเสื้อผ้าก็คงจะเป็นเหล่า gadget ทั้งหลาย ซึ่งของพวกนี้เป็นของที่สามารถหาซื้อได้ง่ายพอๆกับการเข้า 7-11 นั่นแหละ แต่สิ่งที่ทำให้ของพวกนี้กลายเป็นภัยสำหรับตัวเราได้นั่นก็เพราะ การที่ไม่อดทนรอคอยเก็บเงินจนตนเอง ‘พร้อม’ ที่จะซื้อและนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่เคยมีเงินออมเลยสักที บางรายหนักหน่อยก็มีหนี้เพราะต้องไปยืมเงินเพื่อนมาซื้อก่อน

ไลฟ์สไตล์แบบนี้แก้ไขได้โดยเริ่มต้นจากครอบครัว หากคนเป็นพ่อแม่เริ่มปลูกฝังให้กับเด็กๆว่า ถ้าอยากซื้ออะไรก็ให้เก็บเงินจนกว่าจะได้เงินครบแล้วค่อยไปซื้อของที่ต้องการ หรือถ้าเป็นของที่มีราคามากหน่อย

บางครอบครัวก็อาจจะตกลงว่าพ่อแม่จะช่วยจ่ายครึ่งหนึ่งส่วนตนเองก็จ่ายอีกครึ่งก็สามารถซื้อของได้ และนี่คือขั้นพื้นฐานของการสร้างวินัยทางการเงิน

3. เงินไม่มีเหรอ? ผ่อน 0% ก็ได้

บัตรเครดิตนั้นเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ไม่ต้องการพกเงินสดเป็นจำนวนมากๆ หลักการง่ายๆก็คือยืมก่อนจ่ายทีหลัง แต่เรากลับใช้บัตรเครดิตมาอำนวยความสะดวกในแบบผิดๆ ในชีวิตจริงเราต้องมีบัตรเครดิตเพียงไม่กี่ใบก็สามารถครอบคลุมทุกรายจ่ายหมดแล้ว แต่การมีบัตรเครดิตเพราะโปรโมชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อน 0% ตลอด 10 เดือน, ลดต้นลดดอก หรือแม้แต่การคืนเงินทุกครั้งที่จ่ายผ่านบัตรเครดิต กลับเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถก่อ ‘หนี้’ ได้ง่ายๆ

อย่าลืมว่าดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตนั้นคือ 20% ต่อปี เพราะฉะนั้นหากคุณจ่ายผ่านบัตรเครดิตแต่คุณไม่มีเงินชำระทั้งหมด หรือจ่ายเพียงขั้นต่ำเท่านั้น คุณก็ได้ปลูกต้น ‘ดอกเบี้ย’ เรียบร้อยแล้ว และขอบอกเลยว่าเจ้าต้นนี้โตง่าย ไม่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ดูแลก็โตเอาๆ จนกระทั่งคุณหาทางออกไม่เจอนั่นแหละ

แต่อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าการมีหนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย นั่นเพราะหากเราควบคุมหนี้ให้อยู่ในระดับที่เราสามารถจ่ายโดยไม่กระทบกับชีวิตของเรา การอยู่ร่วมกับหนี้ก็เป็นการผจญภัยแบบหนึ่งเท่านั้น แล้วเราควรจะมีหนี้เท่าไหร่ดีล่ะ?

คำตอบนี้ง่ายมากเลย ไม่ว่าเราจะมีหนี้สินใดๆก็ตามเราต้องมีหนี้ไม่เกิน 40%

จากเงินรายได้ทั้งหมดที่เราได้รับ ยกตัวอย่างเช่น

นาย A มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท
นาย A สามารถมีหนี้ได้ไม่เกิน 6,000 บาทโดยคิดจาก 
เงินเดือน x 40% = หนี้ที่ไม่ควรเกิน
15,000 x 40/100 = 6,000 บาท

หรือนาย B มีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท
นาย B สามารถมีหนี้ได้ไม่เกิน 12,000 บาทโดยคิดจาก 

เงินเดือน x 40% = หนี้ที่ไม่ควรเกิน
30,000 x 40/100 = 12,000 บาท

เราจะเห็นว่าจำนวนเงินที่สามารถจ่ายหนี้ของนาย A กับนาย B ไม่เท่ากันแต่การที่ นาย B สามารถจ่ายหนี้ได้มากขึ้นนั่นเพราะนาย B มีรายได้สูงกว่านาย A แต่ก็ไม่เกิน 40% ของรายได้ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สามารถจ่ายไหวอยู่

ดังนั้นทางออกของการมีหนี้อีกทางก็คือการเพิ่มรายได้นั่นเอง

ก่อนจากกันเราขอมอบคาถาปลอดหนี้ให้ทุกคนนำไปใช้ คาถานี้ใช้ง่ายๆแค่ก่อนซื้อทุกครั้งให้ท่องว่า ‘จำเป็นมั้ยหนอ?’ ขณะที่ท่องก็ต้องคิดไปพร้อมๆกันด้วยว่าสิ่งที่เราซื้อนั้นมาจากความอยากซื้อหรือเป็นของจำเป็นจริงๆ หากซื้อเพราะความอยากก็ให้ลด ละ เลิก ไป

ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอเราก็จะสามารถลดหนี้