4 เทคนิคเลือกสินค้าทางการเงิน ให้เหมาะกับเป้าหมาย
เมื่อพูดถึงการวางแผน หรือการบริหารจัดการทางการเงินแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องรู้ก็คือ การเลือกใช้ "เครื่องมือ" ให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ หรือวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการเงินแต่ละด้าน เนื่องจากเครื่องมือแต่ละอย่างก็มีคุณลักษณะ มีจุดเด่น จุดด้อย ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เครื่องมือแต่ละอย่าง เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แต่ละอย่างเท่านั้น ซึ่งเครื่องมือในทางการเงินที่ผมว่ามา ก็คือ "สินทรัพย์" (Asset) หรือ "สินค้าทางการเงิน" (Financial Product) ในแต่ละด้านนั่นเอง ดังนั้น โปรดจำใส่ใจไว้เลยครับว่า "ไม่มีสินค้าทางการเงินตัวไหนที่ดีที่สุด สำหรับทุกๆวัตถุประสงค์" อย่างแน่นอน
ทีนี้ เรามาหาคำตอบกันดีกว่าครับว่า เป้าหมายทางการเงินแต่ละอย่าง ควรจะใช้สินทรัพย์ หรือสินค้าทางการเงินตัวใด ที่จะตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสมกันบ้าง?
แต่ก่อนจะตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เรามาเรียนรู้ลำดับขั้นของความสำคัญในการวางแผนหรือบริหารเงินอย่างเหมาะสมกันก่อนครับ ว่าเราควรมีขั้นตอนในการบริหารเงินอย่างไร เรื่องไหนควรมาก่อนมาหลัง ตามความเหมาะสม เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า เราควรจะต้องใช้สินค้าทางการเงินแบบไหน ตามลำดับก่อนหลัง ในแต่ละลำดับขั้นของแต่ละวัตถุประสงค์ครับ
หลักการของลำดับขั้นนี้เรียกว่า "ปิระมิดการวางแผนทางการเงิน" (Financial Planning Pyramid) ซึ่งเป็นหลักการที่ให้ขั้นตอนในการบริหารเงินที่จะช่วยให้เรามีความมั่งคั่งอย่างมั่นคงได้ มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม จากฐานล่าง ขึ้นสู่ยอดฐานด้านบน ฐานล่างคือรากฐานสำคัญที่ควรจะต้องสร้างให้แน่นหนามั่นคงก่อน จากนั้นค่อยต่อยอดสู่ลำดับต่อไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่ควรจะเป็น ซึ่งไล่เรียงดังนี้
1. การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation) จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนบริหารรายรับ - รายจ่าย และหนี้สิน เนื่องจากการที่เราจะเริ่มมีความมั่งคั่งได้ เราก็ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน เราก็มีรายรับ ขณะที่เรามีรายรับ เราก็มีรายจ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิต และในการดำเนินชีวิตบางครั้งเราก็อาจจะต้องใช้ "เครดิต" มาช่วยในการบริหารกระแสเงินสด เพื่อให้เรามีสินทรัพย์ที่เราต้องการในวันนี้ (เช่น บ้าน รถ หรือสิ่งของอื่นๆ) เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการ รายรับ / รายจ่าย / หนี้สิน อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มี "เงินเหลือ" (Surplus) เพื่อเป็นการออมไว้ใช้ในอนาคตยามที่เราไม่มีรายได้แล้ว (เช่น ตอนเกษียณ) หรือเอาไว้เป็นเงินสำรองเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในทางการเงิน คนเราจะมีความมั่งได้ ต้องเริ่มจากนิสัยทางการเงิน ในการบริหารรายรับ รายจ่ายที่ดีก่อนครับ
สินค้าทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการบริหารเงินในขั้นตอนนี้ :
1) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ = มีสภาพคล่องสูง สามารถฝากเข้าถอนออกได้ตลอดเวลา แต่ผลตอบแทนต่ำ จึงมีไว้เป็นที่เก็บเงินสำหรับเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำ มีเงินเข้าเงินออกสม่ำเสมอ เช่น ไว้จับจ่ายใช้สอย เป็นค่ากินอยู่ในแต่ละเดือนเท่านั้นพอ (ไม่ควรไว้นานกว่านั้น เพราะผลตอบแทนต่ำ) หรืออาจไว้สำหรับเป็นเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินทันด่วน (ควรมีไว้ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนพอ)
2) บัญชีเงินฝากประจำ / เงินฝากสหกรณ์ / เงินฝากอื่นๆ / ตั๋วเงินคลัง / พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น / ตราสารหนี้ระยะสั้น = มีสภาพคล่องต่ำกว่าออมทรัพย์ (ถูกบังคับให้ต้องฝากต่อเนื่อง เช่น ตั้งแต่ 1-3 ปี) แต่ผลตอบแทนสูงกว่า จึงเหมาะกับการเป็นที่พักเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประจำ เพื่อเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือเก็บออมไว้สำหรับเป้าหมายระยะสั้น-กลาง ภายใน 1-3 ปี (เช่น เก็บเงินแต่งงาน, ดาวน์บ้าน/รถ, ท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น)
3) กองทุนรวมตลาดเงิน = เป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือพันธบัตรระยะสั้นหลายๆที่ จุดเด่นคือ มีสภาพคล่องสูงกว่าเงินฝากประจำ สามารถเอาเงินเข้าออกบัญชีกองทุนได้ตลอด (ใช้เวลารอ 1 วันหลังส่งคำสั่งซื้อหรือขายกองทุน) แต่มีอัตราผลตอบแทนพอๆกัน (ประมาณ 1.5-2% ต่อปี) จึงเหมาะสำหรับไว้เป็นที่พักเงินระยะสั้นที่เหลือจากการใช้จ่าย แทนที่บัญชีออมทรัพย์เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือใช้เป็น "ศูนย์กลางในการบริหารเงินระหว่างบัญชีธนาคารต่างๆ" ก็ได้ เพราะบางกอง สามารถผูกได้หลายบัญชีธนาคาร (ไม่เฉพาะธนาคารที่เป็นเจ้าของกองทุน) สามารถส่งคำสั่งซื้อกองทุน จากบัญชีธนาคารไหนๆ แล้วส่งคำสั่งขายกองทุน เพื่อเอาเงินเข้าบัญชีธนาคารไหนๆ ก็ได้ (สะดวกกว่าการไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มธนาคารหนึ่ง แล้วเดินไปฝากอีกธนาคารหนึ่ง เพราะสามารถทำผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย)
4) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น-กลาง (ระยะเวลาสัญญา3-7 ปี)= เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบังคับให้เราออมเงิน จะได้เก็บเงินให้อยู่เป็นเงินก้อนใหญ่ โดยมีการคุ้มครองชีวิตพ่วงด้วย นั่นเอง
5) บัตรเครดิต = เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารกระแสเงินสดเพื่อความสะดวก ในการซื้อสินค้าและบริการ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องพกเงินเยอะๆไปจ่ายเป็นก้อนเดียว แต่สามารถจ่ายทีหลัง หรือทยอยจ่ายได้ (เช่นพวก ผ่อน 0%) ทำให้เราไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว เราจึงสามารถนำเงินไปบริหารจัดการเรื่องอื่นๆได้ แล้วสามารถทยอยจ่ายได้ในอนาคต ***แต่สำคัญว่า เราต้องมีเงินเพียงพอที่จะซื้อสินค้านั้นแล้วเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีเงินจ่ายคืนชัวร์ๆ ไม่โดนชาร์จดอกเบี้ยสูงๆ (เฉลี่ย 20% ต่อปี) นอกจากนั้น ก็มีไว้เพื่อใช้สิทธิพิเศษ หรือโปรโมชั่นลดราคา หรือสะสมคะแนนในการใช้จ่ายต่างๆอีกด้วย
6) การใช้สินเชื่อเงินกู้ (O/D / P/N)= เป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาใช้บริหารสภาพคล่องในธุรกิจ หรือลงทุนระยะยาว หรือหากเป็นบุคคลธรรมดาก็ใช้เพื่อกู้ซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาสูง เช่น บ้าน รถ ตามความจำเป็น ข้อสำคัญคือ ต้องä