สวัสดีครับ กลับมาพบกับคลินิกกองทุนกันอีกแล้วนะครับ ในที่สุดก็มาถึงเทศกาลลดหย่อนภาษีด้วย LTF/RMF อีกครั้ง (ปีนึงผ่านไปไวมาก ๆๆ) ซึ่งผมเชื่อว่าในปีนี้ หลายท่านเองก็ยังรอที่จะซื้อกองทุนปลายปีกันอยู่เหมือนเคย แต่เชื่อไหมครับว่า จริง ๆ แล้ว ถ้าเราวางแผนซื้อกองทุน LTF/RMF แบบเฉลี่ยซื้อทั้งปีแล้วละก็ มีแนวโน้มที่จะได้หน่วยลงทุนที่ต้นทุนตํ่ากว่านะครับ

จากสถิติหลายปีมาแล้ว จะมีอยู่ไม่กี่ปีที่คนซื้อช่วงปลายปีจะได้หน่วยลงทุนที่ราคา NAV ตํ่ากว่าแบบที่เราวางแผนซื้อเฉลี่ยทั้งปีครับ(บอกเลยว่านับปีได้เลยครับ) ดังนั้นเราก็ควรที่จะวางแผนลงทุนกับกองทุนลดหย่อนภาษี LTF/RMF กันเสียแต่เนิ่น ๆ

แต่ถ้าท่านไหนที่ยังไม่ได้ลงทุนปีนี้ ไม่ว่าจะลืมหรือเล็งไว้ว่าจะลงทุนปลายปี วันนี้ผมจะมาบอกวิธีในการซื้อกองทุน LTF/RMF ในช่วงสิ้นปีให้ครับ ว่าเราควรที่จะลงทุนอย่างไร กับกองทุนแบบไหน เพื่อที่จะมีโอกาสกำไรในอีก 5 ปีถัดจากนี้ไปครับ (จริง ๆ มันก็ประมาณ 3 ปีกว่า ๆ เท่านั้นเอง ใช่ไหมครับ) อารัมภบทมาตั้งนาน เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

1. รู้ว่า ต้องซื้อ LTF/RMF เท่าไหร่

แน่นอนครับว่า ขั้นแรกก็คือการคำนวนว่า เราจะต้องซื้อ LTF/RMF เท่าไหร่กันก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาดเรื่องการลดหย่อนภาษีและให้ได้ประโยชน์สูงสุดครับ วิธีการคำนวนก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่หยิบเครื่องคิดเลขขึ้นมา เอารายได้ต่อปีของเรามาคูณด้วย 0.15 หรือ 15%แค่นั้นเองครับ ก็จะเป็นจำนวนเงินสูงสุดที่เราสามารถซื้อกองทุน LTF ได้แล้วครับ แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทนะครับ ส่วน RMF ก็ใช้สูตรเดียวกัน เพียงแต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนท่านไหนที่ขี้เกียจคิดแล้วละก็สามารถเข้าไปหาโปรแกรมในการคำนวนเงินลงทุน LTF/RMF ได้ตาม Website ต่าง ๆ เลยครับ เช่น  www.krungsriasset.com

โดยส่วนตัวผมจะแนะนำว่า ให้เราซื้อกองทุน RMFให้น้อยกว่าที่คิดคำนวนได้ซักเล็กน้อย ครับ เผื่อว่าเราคำนวนผิดพลาดไป เนื่องจากอาจจะมีค่าลดหย่อนบางตัวที่ทำให้เราต้องตัดทอนเงินลงทุนบางส่วนออกไป เช่นในการซื้อ RMF นั้นต้องหักค่าลดหย่อนจากประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. ออกก่อนนั้นเองครับ ในส่วน LTF นั้นจะแตกต่างกับ RMF ตรงที่สามารถลดหย่อนได้เต็มที่ครับ แต่บางท่านอาจจะลืมไปว่าตอนต้นปีเราก็ซื้อไปแล้ว ถ้ามาซื้อช่วงปลายปีเพิ่มอีกโดยไม่ได้จดบันทึก หรือ ไม่ได้ลงทุนเป็นประจำ ก็อาจจะซื้อเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็ต้องระวังกันด้วยนะครับ

ถ้าหากซื้อกองทุน LTF/RMF เกินไปแล้วละก็ บางท่านอาจจะเผลอขายออกจากความไม่รู้ไปซึ่งอาจจะทำให้ผิดเงื่อนไขก็เป็นไปได้ครับ และจะต้องเสียค่าปรับด้วย (วุ่นเลยทีนี้) ผมบอกได้เลยครับว่า “มันไม่คุ้มเลยครับ!”

ส่วนอีกเรื่องที่ต้องคำนวนให้ดีคือ ค่าธรรมเนียมของกองทุน ซึ่งหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า กองทุน LTF นั้นหากมีค่าธรรมเนียม Front-End Fee หรือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนอยู่ด้วย จะทำให้เราซื้อกองทุน LTF ด้วยจำนวนเงินที่น้อยลง เช่น เราซื้อกองทุน 100,000 บาท เมื่อโดนหักค่าธรรมเนียมตรงนี้ไป อาจจะเหลือ 99,900 บาท ในการซื้อกองทุนนั่นเอง ดังนั้นเราควรที่จะเช็คให้ดีก่อนการซื้อทุกครั้งครับ

2. รู้จัก เข้าใจ เปรียบเทียบนโยบายกองทุนก่อนลงทุน

ต่อมาเราก็มาดูในส่วนของ รายละเอียดของกองทุนกันนะครับ ก่อนที่เราจะซื้อแน่นอนว่าเราควรที่จะต้องทราบว่ากองทุนที่เราจะไปลงทุนนั้น เอาเงินของเราไปทำอะไร (บางท่านยังไม่ทราบด้วยซ้ำครับว่ากองทุน LTF/RMF ไปลงทุนอะไรกันบ้าง) โดยส่วนใหญ่แล้วกองทุน LTF นั้นจะลงทุนในหุ้นครับ!! ซึ่งผมถือว่าถ้าเป็นมือใหม่ในการลงทุนแล้วละก็ ความเสียงค่อนข้างสูงทีเดียว แต่กองทุน LTF บางกองทุนก็มีสัดส่วนการลงทุนใน ตราสารหนี้ บ้าง  แต่โดยรวมก็ยังมีความเสี่ยงที่สูงอยู่ดีครับ

ดังนั้นเลยมีข้อกำหนดให้ผู้ลงทุนถือครองกองทุนในระยะเวลาประมาณ 5 ปี ครับ เพราะว่าถ้าเราถือครองนาน ๆ โอกาสขาดทุนมันจะลดลงไปนั่นเองครับ ดังนั้นถึงแม้ว่าเราจะลงทุนกับ LTF จนครบ 5 ปีแล้ว ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ ผมแนะนำว่าให้ลงทุนต่อเนื่องไปเลยครับยิ่งนานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

แต่ในส่วนของ RMF จะมีหลากหลายนโยบายการลงทุนครับ เรียกได้ว่าจากต่ำสุดไปสูงสุดเลยครับ เช่นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนหุ้น และกองทุนทองคำ เพราะว่าเนื่องจากเป็นกองทุนที่เอาไว้เก็บออมเพื่อการเกษียณครับ จึงสามารถปรับความเสี่ยง และย้ายเงินลงทุนระหว่าง RMF ที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือ สูงได้ตลอดเวลา เพื่อให้คนที่ใกล้เกษียณนั้น ไม่ต้องลุ้นว่าเงินที่เก็บมาทั้งหมดของชีวิตนั้นจะต้องเสียไปกับ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น หรือสินทรัพย์เสี่ยงมากเกินไป (เดี๋ยวหัวใจวายไม่ได้ใช้เงินเกษียณกันพอดี) จุดสำคัญก็คือ แต่ละ บลจ. ก็จะมีนโยบายการเลือกหุ้น หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ซึ่งอันนี้สามารถสอบถามไปยัง บลจ. ผู้ออกกองทุนได้ครับว่ามีนโยบายอย่างไร และเราเข้าใจและ ชอบนโยบายแบบที่ บลจ. นั้นลงทุนหรือไม่ครับ เพราะว่าถ้าเข้าใจนโยบายการลงทุนของกองทุนได้อย่างดีแล้ว เวลาเราลงทุนถึงแม้ผลตอบแทนจะผันผวนไปบ้าง แต่เราก็จะไม่เครียด และมีความสุขใจไปกับการลงทุนได้ เพราะว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เราลงทุนอยู่นั่นเอง อ๋อ ผมลืมบอกไปว่าอย่าลืมที่จะอ่าน Fund Fact Sheet ก่อนที่จะลงทุนกันด้วยนะครับ เพราะเราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ และ ผลตอบแทนของกองทุนแต่ละกองทุนได้อย่างดีเลยครับ

3. รู้จุดประสงค์ การลงทุนของตนเอง

พอถึงสิ้นปีทีไร มักจะมีคนมาถามผมว่า ระหว่างกองทุน LTF ปันผล กับกองทุน LTF ที่ไม่ปันผลนั้น ซื้อกองทุนแบบไหนดีกว่ากัน!? (ซึ่ง RMF เราตัดไปได้เลยครับ เนื่องจากกองทุน RMF ทุกกองทุนไม่มีปันผล) ผมคงต้องบอกว่า ขึ้นกับจุดประสงค์ของผู้ลงทุนครับ ถ้าเราต้องการกระแสเงินสดออกมาจากกองทุนเพื่อใช้จ่ายอยู่เรื่อย ๆ ก็น่าจะเหมาะกับ