เผอิญว่าช่วงนี้มีคำถามเข้ามาหาผมค่อนข้างจะเยอะครับ และส่วนใหญ่จะเป็นคำถามที่ซ้ำ ๆ กัน และผมว่ามันเป็นประเด็นที่ดีสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นกับกองทุนรวมครับ ดังนั้นเรามาดูกันว่า มีอะไรบ้างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกับการลงทุนในกองทุนรวมครับ เรามาดูพร้อม ๆ กันครับ

1. ซื้อกองทุนที่ NAV ต่ำ ๆ สิจะได้มีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก ๆ

อันนี้ต้องปรับความเข้าใจกันใหม่เลยครับ กองทุน จะไม่เหมือนกันหุ้นนะครับ ที่เราซื้อหุ้นบริษัทเล็ก ๆ ราคาถูก ๆ แล้วหวังว่ามันจะโตและมีคนมาซื้อต่อด้วยราคาสูง ๆ ครับ เพราะว่ากองทุนรวมนั้น คือการที่ผู้จัดการกองทุน เป็นคนเลือกซื้อหุ้นมาไว้ในกองทุนนะครับ ไม่ได้เกิดจากการที่ไปลงทุนเองในหุ้นโดยตรงครับ

โดยที่ผู้จัดการกองทุนอาจจะเลือกหุ้นที่มีปันผลมาก ๆ แต่ไม่ได้มีการเติบโตซักเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นบริษัทขนาดใหญ่อยู่แล้ว การขยายขนาดของหุ้นตัวนั้นอาจจะไม่ได้มีโอกาสมากครับ ดังนั้น NAV(สินทรัพย์ทั้งหมดในกองทุนหักด้วยค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุนแล้ว) ที่ปรับตัวขึ้นมาอาจจะเกิดจากที่หุ้นปันผลออกมาครับ ไม่ได้เกิดจากกำไรของการซื้อ-ขายหุ้นที่มีราคาถูกหรือแพงครับ

เห็นไหมครับว่าไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้น คราวนี้เรามาดูอีกตัวอย่าง ของเรื่องที่ราคาของ NAV ถูกหรือแพง ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นกองทุนที่ดีหรือไม่ดีนะครับ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ เช่น

กองทุน A มี NAV ต่อหน่วยอยู่ที่ 10 บาท

กองทุน B มี NAV ต่อหน่วยอยู่ที่ 20 บาท

เราคงไม่สามารถบอกได้ว่ากองทุน B ดีกว่า กองทุน A เพราะมีสินทรัพย์เยอะกว่า หรือ เราไม่สามารถบอกได้ว่ากองทุน A จะมีโอกาสปรับราคาขึ้นได้มากกว่า B เพราะราคายังถูกว่าครับ ลองดูกันต่อนะครับ

กองทุน A มี NAV ต่อหน่วยอยู่ที่ 10 บาท 3 เดือน ต่อมาตลาดหุ้นขึ้นแต่ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นผิดทำให้ ตัวหุ้นส่วนใหญ่ในกองทุนได้ปรับตัวลดลงสวนทางกับตลาดหุ้น ส่งผลให้ NAV กองทุน A อยู่ที่ 5 บาท

กองทุน B มี NAV ต่อหน่วยอยู่ที่ 20 บาท 3 เดือน ต่อมาตลาดหุ้นขึ้น และผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นได้ดี โดยตัวหุ้นที่อยู่ในกองทุนได้ปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดหุ้นที่เป็นขาขึ้นดังนั้น NAV กองทุน B มาอยู่ที่ 25 บาท

เห็นรึยังครับว่า กองทุนที่มี NAV ต่ำ ๆ ไม่ได้หมายความดี เพราะราคาถูกนะครับ แต่อาจจะหมายถึงการบริหารจัดการไม่ดีก็ได้ครับ ในทางกลับกัน การที่มี NAV สูงอยู่ ก็มีสิทธิ์เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกันครับถ้าผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นได้ดี ดังนั้นเราจะไม่ค่อยเปรียบเทียบ NAV กัน แต่จะดูแนวโน้มการเติบโตของ NAV มากกว่านะครับ อย่างเช่นกองทุน B เป็นต้น

2. ชอบคิดว่า ผลตอบแทนในอดีต คือ ผลตอบแทนในอนาคต

อันนี้เรียกได้ว่าผมมาเตือนสติ ตัวเองและท่านผู้อ่านไปพร้อม ๆ กันนะครับ เนื่องจากผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่ากองทุนจะสามารถทำผลตอบแทนได้เหมือนที่เคยทำนะครับ และไม่ได้เป็นตัวการันตผลตอบแทนในอนาคตด้วยครับ ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งว่าผมนะครับ ว่าทำไมในบทความก่อน ๆ ถึงเอาผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี , 5 ปีมาให้ดูประกอบการตัดสินใจ คืออาจจะดูย้อนแย้งกับสิ่งที่ผมได้ทำไว้กับท่านผู้อ่าน (T-T) แต่เนื่องจากผมไม่สามารถทำนายอนาคตได้ครับ (ถ้าทำได้คงรวยไปแล้วครับ) จึงนำเอาสิ่งที่มี และดีที่สุดให้กับท่านผู้อ่านครับ (ดูหล่อขึ้นมาทันที) คืออัตราผลตอบแทนย้อนหลังนี่แหละครับที่พอ ที่จะช่วยได้บ้าง

เนื่องจากผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอะไรที่สะท้อนถึงการทำงานของผู้จัดการกองทุนครับ ว่าที่ผ่านมาบริหารและทำผลตอบแทนได้ดีหรือไม่ครับ และยังแสดงถึงการจัดการโดยรวมของกองทุนด้วยครับ

ถึงแม้ว่าคนเราจะผิดพลาดกันได้ แต่ก็ไม่ควรผิดพลาดกันบ่อย ๆ ใช่ไหมครับ ? ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เราก็ควรที่จะดูผลตอบแทน ย้อนหลังกันยาว ๆ หน่อย เช่น 3 ปี หรือ 5 ปีครับ ถ้าผู้จัดการกองทุนทำพลาดบ่อย ๆ ผลตอบแทนในระยะยาวคงไม่ดีแน่ ๆ ครับ

ส่วนถ้าผู้จัดการกองทุนผิดพลาดไปบ้างในการลงทุนระยะสั้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวที่ผ่านมาก็ยังทำผลงานได้ดี ดังนั้นแล้วก็เป็นไปได้ว่า ในอนาคตผู้จัดการกองทุนก็อาจจะกลับมาทำผลงานได้ดีก็เป็นไปได้ครับ (ช่วงนั้น ผู้จัดการกองทุนอาจจะโดนแฟนทิ้ง ติดหญิง ดวงซวย งานเข้า แม่ป่วย ดูบอลนอนดึก ติดยา(คูลย์) ก็เป็นไปได้ครับ เพราะผู้จัดการกองทุนก็เป็นคนนะครับ อย่าลืม)

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรเอาผลตอบแทนย้อนหลังมาเป็นตัวตัดสินอนาคตครับ ต้องคิดแบบนี้เสมอครับ ซึ่งผมจะบอกวิธีการแก้ไขว่าถ้าไม่ดูผลตอบแทนในอดีตเราจะมีวิธีอะไรที่ช่วยได้ในหัวข้อถัดไปครับ (คำตอบอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของข้อ 3 ครับ)

3. ชอบลอกการบ้าน

ผมมักจะเห็นว่าส่วนใหญ่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นอยู่ค่อนข้างมากคับ โดยไม่ได้ลงทุนกับกองทุนรูปแบบอื่น ๆ ไว้เลยครับ หรือ เรียกได้ว่ามีการลงทุนในกองทุนหุ้นมากกว่าความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ครับ หรือบางคนคิดว่ากองทุนหุ้นเสี่ยงก็จริง และคิดว่าตัวเองรับได้ พอถึงเวลาขาดทุนจริง ไม่ใช้สลิง ไม่ใช่สตั้น ขึ้นมาก็กลายเป็นว่ารับขาดทุนไม่ได้ซะงั้นอันนี้ผมเจอไม่บ่อย และพอมีโอกาสได้เจอผมก็จะถามว่า พอร์ตที่มีติดลบอยู่จะแก้อย่างไร อ้ากกก อันนี้ยากเลย

ผมก็ถามกลับไปว่าทำไมถึงลงกองทุนนี้ครับ ?

คำตอบที่ได้รับคือ เพื่อนบอก // เพื่อนชวน หรือ เห็นเพื่อนลง ก็เลยลงด้วย

ดังนั้นเราไม่ควรที่จะไปลอกการบ้านของคนอื่น ๆ ครับ เดี๋ยวอาจารย์จับได้.....ไม่ใช่ !! เพระว่าแต่ละคนมีการยอมรับความเสี่ยงที่ได้ไม่เท่ากันครับ ดังนั้นเราควรที่จะต้องประเมินตนเองก่อนการลงทุน และต้องรู้สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งจะมาจากการที่ทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนนะครับ

ลองย้อนอ่านในบทความ Road Map ในการลงทุนกับกองทุนรวมก่อนก็ได้ครับ

เมื่อเราได้สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง จะทำให้เราไม่ต้องไปพะวงกับผลของกำไร หรือ ขาดทุนมากนัก เพราะเนื่องจากว่า สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมนั้น จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ เวลาที่พอร์ตขาดทุนก็จะไม่มากถึงขนาด