พักหลังจะเห็นได้ว่าหุ้น IPO เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์กันเยอะเต็มไปหมด นักลงทุนหลายๆ คนก็อาจจะมีหุ้นในใจที่อยากได้ เพราะเป็นหุ้นที่รู้จักและใช้บริการเป็นประจำและคิดว่าอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของเขา แต่การที่เราจะได้ซื้อหุ้น IPO ตั้งแต่ก่อนเข้าตลาดนั้น หากเราเป็นรายย่อยก็คงจะยากหน่อย ส่วนใหญ่แล้วเขาจะให้นักลงทุนรายใหญ่และผู้ที่ซื้อขายหุ้นกันเยอะๆ ได้รับไปก่อน พวกเราก็จะมาซื้อกันในตลาดในเวลาต่อมาแทนครับ

ไม่ว่าจะซื้อก่อนเข้าตลาดได้ หรือ ซื้อในตลาดเอง สิ่งที่เราจะต้องพิจารณานั้นก็คือ หุ้น IPO มันน่าสนใจที่จะลงทุนหรือเปล่า? โดยส่วนตัวแล้วผมจะมีหลักการดังนี้ครับ (ตรงนี้จะเป็นหลักการที่ผมนำมา Review หุ้น IPO ให้เพื่อนๆ อ่านด้วย)

          1. หุ้นบริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร

          2. ผลดำเนินงานและงบการเงินที่ผ่านมาเป็นอย่างไร (ดีไหมในอดีต)

          3. เข้ามีแผนการระดมทุนไปทำอะไร (อนาคตน่าลุ้นไหม)

          4. โครงสร้างของผู้ถือหุ้นและผู้บริหารเป็นอย่างไร

          5. ความเสี่ยงที่เราควรทราบมีอะไรบ้าง

ข้อมูลเหล่านี้ของบริษัทที่จะทำการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ที่ Filing ครับ สามารถโหลดได้ที่ https://www.set.or.th/th/company/ipo/upcoming_ipo_set.html

เลือกหุ้นที่เราสนใจ หลังจากนั้นก็โหลดข้อมูล Filing ขึ้นมาครับ มันจะมีการปรับปรุงเวอร์ชั่นด้วยนะ ผมเองก็จะเลือก Download ทั้งหมดในส่วนที่เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด จะมี  Zip File ออกมาก็ให้เราดู จากนั้นลองอ่านข้อมูลต่างๆ ที่ List ไว้ในตอนต้นครับ

1. หุ้นบริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร

แรกสุดเลยที่เราควรจะทราบก็คือ หุ้นบริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร ขายอะไรหรือให้บริการอะไร ส่วนใหญ่ผมจะดูทั้งในแง่ภาพใหญ่ว่า หุ้นตัวดังกล่าวอยู่ในเทรนของการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหรือไม่ เพราะปัจจัยตัวนี้จะเป็นตัวดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้ นอกจากนี้แล้วจะต้องดูในส่วนของ Business Model ของธุรกิจด้วยว่าเป็นอย่างไร อยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันเป็นอย่างไร และมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งต่างๆ ได้หรือไม่

2. ผลดำเนินงานและงบการเงินที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

ส่วนนี้เป็นอีกจุดที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากหลายบริษัทที่มีชื่อเสียง เรารู้จักกันอย่างคุ้นหู อาจจะมียอดขายที่ดีแต่กำไรที่มอบให้ผู้ถือหุ้นอาจจะไม่ได้ดีนักก็ได้ ส่วนนี้เราจะต้องเข้าใจโครงสร้างของธุรกิจว่า ฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร ยอดขายสินค้าและบริการนั้นมาจากอะไร มีการเติบโตในแต่ละปีที่ผ่านมามากแค่ไหน รวมถึงต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ยิ่งเราเข้าใจโครงสร้างของงบการเงินได้มากขึ้นเท่าไหร่ เราก็สามารถโยงภาพไปถึงตัวกิจการได้มากขึ้นด้วยเช่นกันครับ

ในส่วนนี้อาจจะมีคนบอกว่า มีความเป็นไปได้ไหมที่ก่อนเข้า IPO บริษัทจะมีการสร้างตัวเลขผลกำไรที่ดี แต่พอหลังจากเข้าตลาดไปแล้วอาจจะเกิดการขาดทุนและทำให้มูลค่าหุ้นแย่ลง คำตอบตรงนี้สำหรับผมก็คิดว่าเป็นไปได้เหมือนกันนะครับ บางครั้งผมเองพอไม่แน่ใจว่ามันจะสร้างผลการดำเนินงานที่ดีหรือเปล่า หรือบางครั้งหุ้น IPO ดังกล่าวอาจจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรของตลาดหรือมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำไรในอนาคตอาจจะผันผวนได้ ในส่วนนี้ก็ต้องระวังเช่นเดียวกันครับ

3. เข้ามีแผนการระดมทุนไปทำอะไร

การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้น เท่าที่ผม Review มาหลายๆ บริษัทส่วนใหญ่ก็จะหนีไม่พ้นเรื่องการขยายกิจการ นำเงินไปชำระหนี้สิน และนำเงินที่ได้มาเป็นทุนหมุนเวียนในการทำกิจการ ส่วนที่น่าสนใจและควรจะศึกษาก็คือแผนในอนาคตของธุรกิจว่าเขาจะนำเงินไปทำโครงการใหม่ๆอะไรบ้าง แน่นอนว่าการลงทุนนั้นเป็นเรื่องของอนาคตและมีความเสี่ยง สิ่งที่เราในฐานะนักลงทุนควรจะศึกษาเพิ่มก็คือการลงทุนดังกล่าวนั้นน่าจะทำให้บริษัทเกิดผลกำไรมาให้เราได้อย่างไรบ้าง ทั้งในแง่ของตัวธุรกิจ การเติบโตและความต้องการของสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างที่เราเคยเห็นตัวอย่าง IPO มาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาร้านอาหาร การเปิดโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ตามจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น การขยายศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร

4. โครงสร้างของผู้ถือหุ้นและผู้บริหารเป็นอย่างไร

การออกหุ้น IPO นั้นจะต้องมีการจัดสรรหุ้นให้กับทั้งผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุนกลุ่มใหม่ด้วยนะครับ สิ่งที่เราจะต้องดูในเรื่องนี้ก็คือโครงสร้างของผู้ถือหุ้นในแบบเก่าและใหม่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ต้องอย่าลืมว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นสามารถตั้งทีมงานบริหารได้และนำไปสู่การออกนโยบายต่างๆ ที่ทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้ครับ บางทีพอเราเห็นว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นและผู้บริหารกลุ่มเดิมยังอยู่ แต่สัดส่วนการถือหุ้นลดลงไป มันก็อาจจะมีความเสี่ยงในอนาคตได้เช่นเดียวกันครับ

เรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้นเนี่ย หลายคนอาจจะมองว่าไม่เกี่ยวกับเรา ใครจะขึ้นมาก็ขึ้นมา แต่จริงๆ แล้วมันก็มีผลอยู่เยอะเหมือนกันนะครับ ก็มีตัวอย่างหลายๆ เหตุการณ์ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เปลี่ยนแปลงไปและเปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่หมดแล้วทำให้บริษัทมีการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงไปก็มี ถ้าโชคร้ายการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ดีก็ทำให้การลงทุนเราเสียหายได้ครับ

5. ความเสี่ยงที่เราควรทราบมีอะไรบ้าง

ทุกธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงนะครับ โดยปกติแล้วใน Filing นั้นก็จะมีส่วนที่เป็นความเสี่ยงให้เราได้ศึกษาเหมือนกัน จริงๆ  อ่านดูซักนิดก็ดีนะครับเพราะหลายๆ ครั้งความเสี่ยงมันอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝันได้ ตัวอย่างความเสี่ยงที่เราควรทราบ เช่น

  • ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ</strong