5 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"

วันก่อนผมได้มีโอกาส ไปอบรมเกี่ยวกับการวางแผนการเงินมาครับ และก็ได้ทราบข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นมา (จริง ๆ ข้อมูลเก่าแล้วครับ แต่ผมเพิ่งจะทราบ 55+)

ดังนั้นวันนี้ผมขอมาเล่าให้ฟังละกันครับ เพราะผมรู้สึกว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านครับ โดยเฉพาะคนที่เป็นพนักงานประจำและ ได้ส่งเงินของตัวเองเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ ซึ่งผมเชือว่าหลายท่านส่งเงินเข้ากองทุนมาหลายปี แต่คงยังไม่ทราบกันแน่ ๆ ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราทำอะไรได้บ้างครับ

โดยมี 5 ประเด็นหลักๆ ที่ผมว่าเป็นผลดีต่อพวกเรา และควรที่จะต้องทราบครับ


งั้นเรามาเริ่มกันเลยนะครับ


1. กบข. ย้ายเงินมาลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

ข้อนี้ดีมาก ๆ เลยครับ เหมาะสำหรับ คนที่ย้ายงานจากการเป็น ข้าราชการมาทำงานเอกชน จะสามารถโอนเงินจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือที่เราเรียกว่า กบข. มาได้ครับ คือพูดง่าย ๆ ว่า เงินที่เก็บมา สามารถเอามาทำให้เกิดผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักนั้นเองครับ ไม่ต้องมาเริ่มต้นออมกันใหม่ครับ ที่สำคัญครับ เงินที่ย้ายมา ไม่ต้องเสียภาษีด้วยครับ 

เนื่องจากว่า กบข. เคยกำหนดว่า ถ้าออกจาก กบข.แล้วยังไม่ได้เกษียณ เงินก้อนนี้ที่เอาออกมาจาก กบข. จะต้องเสียภาษีบางส่วนครับ ดังนั้นถ้าเอาเงินก้อนนี้มาอยู่ใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพละก็ ไม่ต้องเสียภาษีครับ

ผมชอบแนวคิดนี้มาก ๆ ครับ เหมือนเราเปลี่ยนที่ทำงานจากข้าราชการไปเป็นเอกชนเท่านั้นครับ เงินที่เราอุตส่าห์สะสมมาก็ได้รับการดูแลต่อทันที

ปล. ส่วนการย้ายกลับจากเอกชนไปราชการอันนี้ยังทำไม่ได้นะครับ คงต้องรอกันอีกซักพักครับ


2. กองทุนเดียวมีหลายนโยบาย

ในสมัยก่อน ผู้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะ ต้องการเลือกลงทุนใน 2 นโยบาย และมีกองทุน 2 กองทุน ครับ โดยจะผสมสัดส่วนกัน แต่ว่ามีความวุ่นวายในการจัดการมาก ๆ เนื่องจากถ้าเป็น 2 กองทุน คิดดูสิครับ แต่กองทุนมีข้อบังคับไม่เหมือนกัน ดังนั้น การสื่อสาร ส่งต่อ หรือ แม้แต่การประชุมและตัดสินใจอะไรซักอย่าง จะมีความยุ่งยากมากครับ

ต่อมากฏหมายได้พัฒนาเป็นระบบ Master Fund คือ 

1.กองทุนมีได้หลายนโยบายครับ เรียกได้ว่า มีให้เลือกกันตามที่ผู้ลงทุน หรือ สมาชิกชอบใจนั่นเองครับ ที่สำคัญมีการเก็บข้อมูลที่เรียกได้ว่า แยกสินทรัพย์ที่เราลงทุนได้เป็นรายบุคคลเลยครับ แถมบริษัทจัดการกองทุนบางที่ สมาชิกสามารถกำหนด นโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเองเลยครับ เช่นอยากลงทุนกับหุ้นกี่ % หรือ ตราสารหนี้กี่ % หรือแม้กระทั่งลงทุนในทองคำก็ยังทำได้เลยครับ

2.ให้คงเงินไว้ในกองทุนได้ และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนด้วย แต่เดิมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดว่า หลังจากสมาชิกต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุน จะไม่มีสิทธิที่จะได้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่วันที่ออกจากสมาชิกครับ พูดง่าย ๆ ว่า ตัดหางปล่อยวัดกันตั้งแต่ลาออกจากงานนั้นแหละครับ (แรงไปไหมเนี้ย 55+)

ยกตัวอย่างครับ สมมติว่า เรามีเงินในกองทุน 100 บาท (จากเงินที่เราจ่ายเข้ากองทุน และรวมถึงผลตอบแทนที่กองทุนได้ทำไว้) ในวันที่เราลาออกจากงานวันแรก จนถึงวันที่เราเอาเงินก้อนนี้ออกจากกองทุน เราก็ยังคงได้ 100 บาทตามเดิมครับ โดยกำหนดระยะเวลาการคงเงินไว้ที่ไม่เกิน 1 ปี ครับ

แต่ คราวนี้กองทุนได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่ลาออกจากงานแล้วสามารถคงเงินในกองทุนได้ครับ โดยเงื่อนไขคือ คงเงินได้มากกว่า 90 วัน หมายความว่า เราสามารถเอาเงินก้อนที่เราได้สะสมไว้ คงไว้ในกองทุนได้อย่าง "ไม่มี ลิมิต ชีวิตเกินร้อย" คือคงเงินไว้ได้นานเท่าไหร่ก็ได้ครับ แต่ต้องบอกกับทาง บริษัทจัดการกองทุนครับ ว่าจะคงไว้กี่ปี และต้องไม่ขัดกับข้อบังคับของ บริษัทจัดการกองทุนด้วย

แต่จุดที่ดีก็คือ ระหว่างที่กองทุนทำงาน ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากเงินที่เราเอาไว้ในกองทุนนั้น เราจะยังคงได้รับอย่างต่อเนื่องครับ เช่น เราได้ 100 บาท ณ วันที่เราลาออกครับ แต่เราคงเงินไว้ในกองทุน ผ่านมา 3 ปี เราอาจจะได้รับเงินเพิ่มเป็น 150 บาท หากกองทุนทำผลตอบแทนได้ดีครับ


4. จ่ายเงินให้กับสมาชิกเป็นงวด ๆ ไปได้หลังการเกษียณ

อันนี้เรียกได้ว่าเป็นระบบ บำนาญ ของพนักงานเอกชนได้เลยครับ คือเราสามารถที่จะบอกกับทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ว่า ให้เอาเงินที่เราสะสมไว้ในกองทุนนั้นทยอยส่งให้ทุก ๆ เดือน หรือ ทุก ๆ ปีก็ได้ครับ ขึ้นกับข้อตกลงครับ ที่สำคัญกองทุนก็ยังคงทำงานให้กับเราครับ อย่างน้อยก็มีคนคอยบริหารเงินให้กับเราได้แม้ว่าจะอยู่ในภาวะการเกษียณแล้วก็ตามครับ

ข้อควรระวัง** อาจจะมีค่าบริการในการทยอยขายกองทุนและค่าโอนครับ

หรือใครที่สนใจจะเอาเงินก้อนออกมาบริหารเองก็ทำได้ครับ โดยการเอาไปลงทุนกับกองทุนรวมทั่วไป ซึ่งเราสามารถเลือกนโยบายได้เอง และอิสระกว่าครับ 

แล้วค่อย ๆ ทยอยขายกองทุนออกมาเองครับ

ข้อควรระวัง** แต่ให้ระวังกองทุนที่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการขายนะครับ


5. เงื่อนไขการรับเงินสมทบแบบ 100 % ต้องไม่นานเกินไป

ซึ่งในปัจจุบันมีการกำหนดเงื่อนไขในการรับเงินสมทบ (Vesting Clause) เพื่อที่จะให้ได้เงินสมทบจากนายจ้างและเงินผลประโยชน์ในการลงทุนจากองทุนไว้ 100% นั้นไม่ควรจะต้องกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่กับเขาเกิน 10 ปี ครับ 

อันนี้ผมยกตัวอย่างเลยน่าจะเห็นได้ชัดกว่าครับ

อายุงาน อัตราเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ

ที่กองทุนจะจ่ายเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ

น้อยกว่า 1 ปี 0%

ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี 20%

ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี 40%

ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี 60%

ตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี 80%

ตั้งแต่ 5 ปี ขึ

Dr.Nut

Dr.Nut

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกองทุน การลงทุน และการเงิน

Related Story