สวัสดีครับ กลับมาพบกับพรี่หนอม TAXBugnoms เจ้าเก่าเจ้าเดิม ที่จะมาเพิ่มเติมความสดใสและความรู้ให้กับทุกคนอีกครั้งครับ สำหรับวันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับการออมและการลงทุนจากประสบการณ์จริงที่พรี่หนอมอยากจะแชร์ให้ฟังกันในฐานะมนุษย์เงินเดือนครับผม
ด้วยอายุเข้าสู่วัยกลางคน ทำงานมาได้สักพัก มีประสบการณ์ลงทุนมาได้สักระยะหนึ่ง ประกอบกับการทำเพจเรื่องการเงิน เลยมีคนชอบถามถึงวิธีการออมเงินและลงทุนมาเรื่อยๆครับ คำถามทำนองว่า พี่หนอมคร้บพี่ ผมควรจะลงทุนแบบไหนยังไงดี วันนี้มีโอกาสเลยรวบรวม 5 วิธีการลงทุนสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคนมาฝากกันครับ
แนวคิดและวิธีการลงทุนของมนุษย์เงินเดือน
สำหรับแนวคิดและวิธีการของวิธีนี้ จะเป็นการสะสมเพื่อเป้าหมายระยะยาวครับ และใช้วิธีการทยอยสะสมเงินทุกเดือน ในจำนวนเท่าๆกัน ซึ่งผมมองว่าเป็นวิธีที่สอดคล้องกับการทำงานของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เข้ามาเป็นประจำและต่อเนื่อง และเพิ่มเติมด้วย "วินัย" ในการลงทุนเท่านั้นเองครับ
เอาล่ะ เรามาเริ่มต้นดูกันเลยดีกว่า
ว่า 5 วิธีการลงทุนที่ดีที่สุดในสไตล์พรี่หนอมนั้น มันมีอะไรบ้าง
1. ฝากประจำ / กองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้น
สำหรับคนที่คิดว่าตัวเองเพิ่งเริ่มต้นออมเงิน และยังไม่มีความรู้ในการลงทุนมากนัก ผมอยากจะแนะนำวิธีนี้เป็นวิธีแรกครับ นั่นคือการสร้างวินัยโดยการฝากประจำทุกๆเดือนเท่ากัน
วิธีการง่ายๆครับ เพียงแค่ การตัดบัญชีเงินฝาก (บัญชีเงินเดือน) ในทุกๆเดือน เพื่อสะสมไปเรื่อยๆ โดยมี 2 กลุ่มที่อยากจะแนะนำครับ นั่นคือ เงินฝากประจำปลอดภาษี กับ กองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้น
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าเจ้าสองตัวนี้คืออะไร ขอบอกครับว่ามันคือ...
เงินฝากประจำปลอดภาษี คือ เงินฝากประเภทหนึ่งที่กำหนดให้เราฝากประจำทุกๆเดือนเป็นจำนวนที่เท่าๆกัน เช่น เดือนละ 1,000 บาท ติดต่อกันเป็นเวลา 24 เดือนโดยได้สิทธิพิเศษคือ “ยกเว้นภาษีเงินได้” และไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% เหมือนเงินฝากประจำทั่วๆไปครับ
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม หรือมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปีครับ
กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตัว๋ เงินคลัง บัตรเงินฝากของธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ของภาคเอกชน ฯลฯ
ใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงนั้น กรณีเงินฝากฯ ผมแนะนำว่าลองเดินไปที่ธนาคารที่เราสะดวก และติดต่อขอเปิดบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีได้เลยครับ
ส่วนกองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้นนั้น สามารถเลือกกองทุนที่ดีและเหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการ ผลตอบแทนพอใจไหม รับความเสี่ยงได้เท่าไร ซึ่งถ้ายังไม่แน่ใจก็สามารถแวะมาพูดคุยสอบถามกันได้ที่กลุ่มพูดคุยของรายการกองทุนไหนดี ได้เลยครับผม
โดยส่วนตัวทุกวันนี้ พรี่หนอมใช้กองทุนตลาดเงินกับตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลักครับ แต่ไม่ได้ใช้เงินฝากประจำปลอดภาษีครับ เนื่องจากมองว่ากองทุนรวมนั้นมีสภาพคล่องที่ดีกว่าครับ
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ตัวที่สองนี่ อยากเรียกว่าเป็น Highly Recommend กันเลยทีเดียวครับ สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ออฟฟิศมีสวัสดิการ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ไว้ให้ เพื่อให้พนักงานออมเงินและลงทุน (ส่วนข้าราชการจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราช หรือ กบข. ครับ) โดยกองทุนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณนั่นเองครับ
โดยปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนสามารถเลือกสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตั้งแต่ 2-15% ครับ (ส่วนนายจ้างจะสมทบเท่าไรให้กับเรานั้น ขึ้นอยู่กับความใจดีของนายจ้างครับ ฮ่าๆ) โดยตรงนี้พรี่หนอมอยากจะแนะนำให้ตัด % ที่มากที่สุดเท่าที่ไหวครับ เพื่อเป็นการสร้างวินัยในการออมเงินได้เป็นอย่างดีครับ และเงินก้อนนี้ถือว่าเป็นเงินก้อนที่ไม่ได้ใช้แน่ๆครับ เพราะตัดก่อนที่จะเข้าบัญชีเราเสียอีกครับ
ปัจจุบันพรี่หนอมสะสมเข้ากองทุนนี้อยู่ที่ 15% เต็มสิทธิ์ที่สามารถทำได้ครับ เนื่องจากต้องการสร้างวินัยระยะยาวครับ นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมเทคนิคอีกนิดหน่อย นั่นคือ การเลือกแผนการลงทุนของกองทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เราต้องการด้วยครับ (สำหรับเรื่องนี้จะเขียนบทความแยกต่างหากให้อ่านอีกทีนะครับ ฝากติดตามกันด้วยครับ)
3. สหกรณ์ออมทรัพย์
ถ้าหากที่ทำงานของเรานั้น มีสหกรณ์ออมทรัพย์ การเลือกสะสมหุ้นของสหกรณ์ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจครับ (แต่ต้องพิจารณาความเสี่ยงดีๆด้วยนะครับ ฮ่าๆ) โดยผลตอบแทนที่ได้รับนั้นจะมาจากเงินปันผลในแต่ละปี ซึ่งอัตราผลตอบแทนนั้นดีกว่าเงินฝากธนาคารและกองทุนตราสารหนี้แน่นอนครับ
สิ่งที่อยากจะแนะนำคือ อย่าลืมตรวจสอบการบริหารงานและการจัดการสหกรณ์ของที่ทำงานเราด้วยว่า ดีแค่ไหน มีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ลงทุนอย่างปลอดภัยครับ ไม่ใช่มองเพียงแต่ผลตอบแทนอย่างเดียว แต่ต้องมองถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นด้วยครับ
4. กองทุนรวม
สำหรับเรื่องกองทุนรวมในข้อนี้จะเน้นไปที่กองทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นครับ หลังจากที่เราพูดถึงกองทุนรวมในส่วนแรกที่ไว้ใช้พักเงินหรือรับผลตอบแทนระยะสั้นกันไปแล้วในข้อแรก แต่ข้อนี้จะพูดถึงกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับที่ 4 ขึ้นไป ซึ่งตรงนี้ต้องดูจากความเสี่ยงที่ยอมรับได้และผลตอบแทนที่ต้องการของแต่ละคนประกอบกันครับ
แต่ถ้าหากใครต้องการประหยัดภาษีด้วย ในส