ฮัดดดดด ชิ้ววววววว

 

ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เราอาจจะเคยตื่นเช้ามาไอค๊อกๆแค็กๆ ตกบ่ายเริ่มรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ปวดหัวและมีน้ำมูกใสๆไหลออกมา รู้ตัวเลยว่าต้องไม่สบายแน่ๆ พอกลับถึงบ้านก็รีบกินยาแล้วก็นอนพักผ่อน ตื่นเช้ามาจะได้มีเรี่ยวแรงไปเรียนหรือทำงานต่อได้

 

“การป่วยทางกาย” เราพอบอกได้ว่าเริ่มมีอาการอย่างไร กินยาเองแล้วนอนพักผ่อน หรือจะต้องไปให้หมอตรวจถึงจะหายป่วย แต่ถ้าสุขภาพการเงินของเราป่วยล่ะ จะรู้ได้อย่างไร มีสัญญาณอะไรบอกได้บ้าง จะได้จัดการก่อนที่จะป่วยหนักไปมากกว่านี้

 

สัญญาณเตือนภัยในบทความนี้ ต้องการให้ตรวจเงินของตนเองก่อนว่า ตอนนี้เงินของเรากำลังป่วยหรือไม่ ถ้าใช่แล้วจะมีวิธีรักษาอย่างไรมาดูกันเลยยยยย

 

5 สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่า “เงินออม” ของเราแย่แล้ว

 

1.ใช้เงินเดือนชนเดือน

 

ผ่านต้นเดือนมาไม่กี่วัน ไม่รู้ว่าเงินเดือนของเราสูญสลายหายไปไหนหมด จากใบแบงค์พันที่จ่ายสนุกมือช่วงก่อนหน้านี้ มันเหลือแค่เศษเหรียญกลิ้งไปมาที่ก้นกระเป๋า รู้ชะตากรรมเลยว่าอีกครึ่งเดือนที่เหลือจะต้องอาศัยมาม่ากับน้ำเปล่าประทังชีวิตแน่ๆ

 

วิธีแก้อาการ : มี 2 วิธี คือ

 

  • จดรายจ่ายจะได้รู้ว่าเงินหายไปไหนบ้าง รู้ว่าอะไรควรซื้อ ไม่ควรซื้อหรือว่ารออีกแป๊บนึงค่อยซื้อ
  • แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ตั้งแต่วันเงินเดือนออกเลยก็ได้ว่าก้อนไหนทำอะไรบ้าง คือ เงินออม หนี้สินและรายจ่ายส่วนตัว เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้วก็นำไปออมก่อนเลย 10% ของรายได้ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆก็ออม 2-3% ของรายได้ หลังจากนั้นก็จ่ายหนี้สินที่ติดค้างไว้ สุดท้ายเหลือเงินเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น แล้วก็ใช้ชีวิตตามขนาดกระเป๋าของเรา

 

สมการอภินิหารเงินออม ⇒ รายได้ - เงินออม - หนี้สิน = รายจ่ายส่วนตัว

 

2. ไม่มีเงินสำรอง

 

หากเราใช้เงินจนหมด ไม่เคยแบ่งเงินบางส่วนเก็บออมไว้เลย ถ้าวันหนึ่งเราจำเป็นจะต้องใช้เงินเร่งด่วน เช่น บริษัทเลิกกิจการทำให้เราตกงาน รถเสียต้องซ่อม ลูกป่วยต้องจ่ายเงินค่ารักษา ฯลฯ ถ้าไม่มีเงินออม ก็ไม่พ้นการกู้ยืมเงินอย่างแน่นอน อย่าโทษเวรกรรมที่ทำให้เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ควรโทษตัวเองที่ไม่เคยเตรียมความพร้อมมากกว่านะจ๊ะ

 

วิธีแก้อาการ : สร้างกองทุน “เงินฉุกเฉิน” เพราะเงินส่วนนี้จะเข้ามาช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายออกมาได้ เราควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย แต่ถ้าใครกังวลว่าน้อยเกินไปก็อาจจะเก็บเกินไป 12 เท่าของค่าใช้จ่ายก็ได้นะจ๊ะ แล้วควรเก็บไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อรักษาเงินต้น เช่น ออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้

 

 

3. เริ่มหยิบยืมคนใกล้

 

เมื่อไม่มีเงินออมแต่จำเป็นจะต้องใช้เงินเร่งด่วน หนทางแรกๆที่หลายคนเลือกใช้ คือ ยืมเงินจากคนใกล้ตัว (เหยื่อของเรา คือ ญาติ เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน ) มันเป็นวิธีที่ต้องใช้เครดิตความเชื่อมั่นส่วนตัว และความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเดิมพัน ถ้ายืมแล้วคืนครบทุกบาททุกสตางค์ มันก็จบแบบแฮปปี้ แต่มันจะกลายเป็นโศกนาฎกรรมไปทันที่ ถ้ายืมแล้วหายเข้ากลีบเมฆ ไม่คืนเลย แบบนี้มีเคืองจนถึงขั้นเลิกคบกันได้ทันที

 

วิธีแก้อาการ : ถ้าต้องยืมเงินคนอื่นจริงๆควรสร้างเครดิตให้ตัวเองด้วยการ “ยืมแล้วต้องคืน” ควรยืมเฉพาะช่วงที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น แล้วอย่าขอยืมบ่อยจนทำให้คนรอบข้างลำบากใจ

 

 

4. ใช้บัตรกดเงินสด

 

บางครั้งเรามืดแปดด้านหันไปทางไหนก็ไม่มีใครให้ยืมเงินเลย โอ้ชีวิต!! ทำไมถึงได้โหดร้ายกับเราแบบนี้ ระหว่างที่เดินคิดวิธีหาทางออกอยู่พักใหญ่ ก็ได้ยินเสียงโฆษณาบัตรกดเงินสดดังแว่วเข้ามา คิดว่านี่แหละทางออกของเรา

 

แต่ว่า!! ถ้าเราจัดการหนี้ไม่ได้ ทางออกด้วยการใช้บัตรกดเงินสดนี้ก็อาจจะพาเราไปสู่เส้นทางใหม่ ที่หายนะกว่าเดิมกับวงจรหนี้สินก้อนโตก็ได้ เพราะบัตรกดเงินสดจะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เรากดเงินสดออกมาใช้ (คิดดอกเบี้ยร้อยละ 28 ต่อปี) ดังนั้น กดเงินสดออกมาแล้วจะต้องรีบคืนหนี้ให้เร็วที่สุด ไม่งั้นดอกเบี้ยจ่ายเบ่งบานกลายเป็นภาระหนักขึ้นไปอีก

 

วิธีแก้อาการ : ต้องเปรียบเทียบที่มาของเงินสดที่นำมาใช้จ่าย ว่าแต่ละช่องทางนั้นเราเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ตัวอย่าง เราต้องการเงินสด 5,000 บาทมาใช้จ่าย 1 เดือน จากภาพเราจะเห็นว่ามี 5 ช่องทางที่เราจะมีเงินสดมาใช้จ่าย คือ เงินออมของเรา ยืมเงินคนอื่น โรงรับจำนำ ใช้บัตรกดเงินสดและการใช้บัตรเครดิตมากดเงินสด


5 สัญญาณที่บอกว่าเงินออมของเรากำลังวิกฤต

ที่มา : บทความชีวิตง่ายไม่มีเงิบกับเงินฉุกเฉิน

https://aommoney.com/?p=16355

 

 

5. ใช้วงเงินบัตรเครดิตเต็มทุกใบ

 

แม้ว่าเราอาจจะเปิดบัตรเครดิตใบที่ 1 แบบไม่ตั้งใจ คิดว่ามีติดกระเป๋าไว้เผื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้ แล้วกฎของแรงดึงดูดก็ทำงาน หลังจากนั้นชีวิตของเราก็จะมีแต่เรื่องที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตตลอดเวลา เมื่อบัตรใบแรกใช้เต็มวงเงินแล้วก็ยังไม่พอ ก็จะต้องสมัครบัตรเครดิตใบที่  2 ,3,4,5….. ตามมาเรื่อยๆ

 

จากที่เคยจ่ายเต็มตลอด จนกระทั่งจ่ายขั้นต่ำไม่ไหว กดเงินจากบัตรใบใหม่มาจ่ายหนี้บัตรใบเก่า พอถึงจุดนี้เราก็เข้าสู่วงเวียนลูกหนี้บัตรเครดิตไปอย่างสมบูรณ์แบบ

 

วิธีแก้อาการ : หยุดสร้างหนี้เพิ่มและเขียนข้อมูลของหนี้สินออกมาทั้งหมดว่าเป็นหนี้จากอะไร ยอดหนี้ที่เหลือ ชำระต่อเดือนเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ จะได้เห็นภาพรวมของหนี้ รวมทั้งหาแรงบันดาลใจในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เช่น

 

ตอนนี้ก็รู้แล้วว่าการเงินของเราป่วยหรือไม่ มีวิธีแก้อาการแบบไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องลงมือทำถึงจะสำเร็จนะจ๊ะ ขอจบบทความแบบนี้ด้วยด้วยแรงบันดา&#

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน