ตัวผมเอง ไปบรรยาย และได้พบเจอกับนักลงทุนมากหน้าหลายตา ก็มักจะบอกเสมอว่า ถ้าไม่ใช่เงินฝากซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เราก็ควรเอาเงินไปลงทุนสร้างผลตอบแทนให้ได้อย่างน้อยคือ 3% ต่อปี เพราะอัตราเงินเฟ้อไทยเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 3% ถ้าคุณทำผลตอบแทนได้น้อยกว่านี้ แสดงว่า เงินเฟ้อแซงหน้า ลงทุนไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้บริโภค เอาไปซื้อโน้นซื้อนี่ในวันนี้ซะยังจะดีซะกว่า

ความลำบากก็คือ ในภาวะดอกเบี้ยต่ำคิดดินแบบนี้ หลายคนก็คงรู้สึกว่า อยากย้ายออกจากเงินฝาก เอาไปลงทุนในหุ้น หรือในพันธบัตรอายุยาวๆ เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็จริง แต่ก็ดูเหมือนอะไรๆก็อยู่ในขาลง ตลาดหุ้นก็ดูไม่ไปไหน ราคาทองก็นิ่งๆ จะเอาไปฝากธนาคาร ก็ดันเจอช่วงดอกเบี้ยขาลงอีก แล้วแบบนี้ ทำยังไงกันดี

ผมมีคำตอบและข้อคิดดีๆให้คุณไปต่อยอดกัน

Q : ในภาวะดอกเบี้ยขาลงแบบนี้ ควรเอาเงินไปทำอะไร?

A : ถ้าเชื่อว่าดอกเบี้ยจะลงอยู่ การลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว น่าสนครับ เพราะมันจะให้ผลตอบแทนสูงขึ้นจากดอกเบี้ยรับ และราคาตราสารหนี้ที่มีโอกาสสูงขึ้น ซึ่งเกิดจาก ตราสารหนี้ตัวที่เราลงทุน จะผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ตัวใหม่ที่ออกหลังจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดไปแล้ว อีกอย่างที่น่าสนใจคือ หุ้นที่จ่ายปันผลสูงๆครับ เพราะปันผลที่สูงกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาด จะทำให้นักลงทุนวิ่งเข้ามาลงทุนเรื่อยๆ เมื่อไหร่หุ้นเหล่านี้ราคาตก เพราะข่าวร้าย หรือเพราะตกใจอะไรซักอย่าง แล้วทำให้ Dividend Yield ปรับตัวสูงขึ้น ก็จะมีคนเข้าไปช้อนซื้อทันที ทำให้หุ้นปันผลสูงเหล่านี้มีความผันผวนต่ำ และน่าสนใจเก็บไว้ในระยะยาวครับ

Q : แต่ถ้าดอกเบี้ยขึ้นละ?

A : ก็แล้วแต่ว่า ขึ้นไปอยู่ในระดับไหนนะครับ แต่ไม่ว่าขึ้นระดับไหน การถือตราสารหนี้ หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะยาวทั้งหลาย ถือว่า ไม่ดี เพราะ พอดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้นปั๊บ มันจะเท่ากับกองทุนตราสารหนี้ที่เราถืออยู่ได้ดอกเบี้ยน้อยกว่า ตราสารหนี้ตัวใหม่ที่ออกมาหลังจากดอกเบี้ยปรับขึ้น ดังนั้น ถ้าจะขายให้ใคร ก็ต้องลดราคาขายลง จึงมีโอกาสขาดทุน (ลงทุนตราสารหนี้ขาดทุนได้นะ ระวังๆ) ส่วนหุ้นนั้น หากดอกเบี้ยขึ้นไม่เยอะจนแซงอัตราเงินปันผลที่จ่าย ก็ไม่มีอะไรน่าห่วง เว้นแต่ดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นแรงๆจริงๆจนอัตราดอกเบี้ยในตลาดมันสูงกว่าเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้เรา เจอแบบนั้นคนก็ขายหนีหุ้นไปซื้อตราสารหนี้กันหมด จริงไหมครับ

Q : ตอนนี้ถือกองทุนหุ้นอยู่เยอะเหมือนกัน พูดแบบนี้ผมนี่กลัวดอกเบี้ยขาขึ้นเลย

A : สำหรับเมืองไทย ส่วนตัวผมมองว่า โอกาสที่ดอกเบี้ยจะกลับเป็นขาขึ้นคงไม่ใช่ปีนี้ครับ แต่ก็ไม่มีอะไรแน่นอน

Q : งั้นบอกได้ไหม สัญญาณอะไรที่บอกเราว่าดอกเบี้ยจะขึ้น ผมจะได้ขายหนีได้ทัน

A : ข้อให้สัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้นไว้ 5 ข้อ ตามนี้แล้วกันครับ

1. เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยจริงๆซักที – ถึงแม้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของโลกจะไม่ได้ให้ Credit Rating AAA กับสหรัฐฯ แต่ด้วยความที่ธนาคารกลางอื่นๆในโลกก็ยังมีเงินทุนสำรองเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) และเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในโลกอยู่ดี ดังนั้นหากสหรัฐฯตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย ตราสารหนี้ในสหรัฐฯทั้งระยะสั้นและระยะยาว จะดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด ผลที่ตามมาก็คือ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั้งหมด ต้องปรับตัวขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น รอดูครับ เมื่อไหร่สหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยจริงๆ เมื่อนั้น ไม่นานหรอก ประเทศอื่นๆก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม รวมถึงไทยด้วย ทั้งนี้ ล่าสุด เหมือนนักวิเคราะห์จะคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2015 นี้ครับ

2. เศรษฐกิจพี่ใหญ่เอเชียอย่างจีน กลับมาเติบโตได้ในระดับสูงกว่า 7% ต่อปี – แล้วมันเกี่ยวอะไรกับไทย? เกี่ยวตรงที่ เราต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจเอเชียกำลังถูกขับเคลื่อนโดยจีน ซึ่งในอีก 30-50 ปีข้างหน้า จีนจะขับเคลื่อนโลกใบนี้แทนสหรัฐฯ ในแง่ของขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น หากเราเห็นเศรษฐกิจจีนคึกคักขึ้น ก็น่าจะดึงให้บรรยายกาศการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นตามไปด้วย เมื่อนั้น ภาวะดอกเบี้ยที่ต่ำติดดิน ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ ณ ขณะนี้ จีนเอง ก็กำลังเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบาย และลดการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ ดังนั้น คงไม่ใช่ในเร็ววันครับ ที่เราจะเห็นเศรษฐกิจจีนฟื้นได้จริง

3. เมื่อเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวได้แล้ว – วิธีการดูว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้แล้วก็คือ GDP Growth หรืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต้องกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นปกติได้ระยะเวลาหนึ่ง (โตปกติควรอยู่ที่ 3-5%) และมีอัตราเงินเฟ้ออ่อนๆที่ระดับ 2-3% เพราะการที่เศรษฐกิจดีขึ้น แต่หากแบงก์ชาติยังไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำเกินไป ส่งสัญญาณให้คนไทยกู้เพิ่มมากขึ้น อีกฝั่งคือ เมื่อเงินเฟ้อสูงกว่า อัตราดอกเบี้ย มันจะเกิดภาวะ Negative Real Interest Rate หรือ อัตราเงินเฟ้อแท้จริงติดลบ ทำให้คนไม่ยอมฝากเงิน คิดแต่จะจับจ่ายใช้สอย เพราะฝากไป ก็แพ้เงินเฟ้ออยู่ดี ดังนั้นทางแก้คือ ต้องขึ้นดอกเบี้ยครับ

4. มีเงินทุนไหลออกนอกประเทศจำนวนมากเกินไป – ดูได้จากค่าเงินบาท เทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ สมมตินะครับ ถ้าเงินบาทอ่อนค่า แน่นอนว่า ดีกับผู้ประกอบการที่ส่งออกเป็นหลัก เพราะราคาสินค้าที่ไปขาย จะถูกลงในสายตาของลูกค้าต่างชาติ แต่การไหลออกมากเกินไป อาจแปลว่า การลงทุนในประเทศไทยหมดความน่าสนใจไปซะแล้ว เป็นได้หลายสาเหตุครับ อาจเพราะ ประเทศอื่นๆเขาขึ้นดอกเบี้ยกันหมด อัตราดอกเบี้ยในเมืองไทยต