การลงทุนใน “กองทุนรวม” จัดว่าเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาในการติดตามสินทรัพย์ทางการเงินแบบรายตัว มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญภายใน บลจ. คอยดูแลเงินลงทุนให้เรา แถมสภาพคล่องของกองทุนรวมก็เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในไม่กี่วันอีกด้วย ดีจังเลย!

เลือกจัดพอร์ตด้วยกองทุนรวมแบบไหนดีล่ะ?

หลายๆ คนจะให้ความสำคัญกับผลประกอบการของกองทุนรวม เพราะยิ่งเห็นผลตอบแทนดี ยิ่งแปลว่าเงินลงทุนของนักลงทุนก็จะเติบโตตาม นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเฟ้นหากองทุนรวมที่ตนเองต้องการตามอินเทอร์เน็ต นิตยสารการเงิน หรือตามคำชี้แนะของผู้อื่น โดยเลือกมองผลประกอบการในระยะสั้น และความนิยมของกองทุนรวมนั้นเป็นหลัก

แต่ผลประกอบการในอดีตของกองทุนรวมไม่ได้สำคัญมากเท่าที่หลายๆ คนคิด เพราะมันไม่ได้การันตีความสำเร็จของกองทุนในอนาคต ก็จริงอยู่ที่ผลตอบแทนเป็นปัจจัยหลักของการลงทุน แต่เราต้องมองการลงทุนไปในระยะยาว อย่าเอาเรื่องเดียวมาตัดสินอนาคตเลยฮะ

และมักจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการเลือกลงทุนในกองทุนรวมมาเกี่ยวข้องด้วย!!

ในครั้งนี้ “นายปั้นเงิน” อาสาพาทุกท่านที่สนใจการจัดพอร์ต Asset Allocation ด้วยกองทุนรวม ไปรู้จัก 5 สิ่งที่ควรรู้ นอกเหนือจากผลประกอบการของกองทุนในอดีต ก่อนจะตัดสินใจจัดพอร์ตการลงทุนกันครับ

รู้เป้าหมายการลงทุนของตนเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนจะจัดพอร์ตการลงทุน คือเราต้องรู้วัตถุประสงค์ของการลงทุน ว่าลงทุนเพื่ออะไร ระยะเวลาของเป้าหมาย เช่น เพื่อการออมเงิน เพื่อเป็นการเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาว เพื่อใช้ในการเกษียณ เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาบุตร เป็นต้น

ถ้ารู้เป้าหมายแล้วการเลือกกองทุนก็จะใช้ปัจจัยเรื่องของระยะเวลาการลงทุน ความเสี่ยง และผลตอบแทนมาพิจารณาตามลำดับ

ยิ่งเป้าหมายมีความสำคัญและรับความเสี่ยงได้น้อย อย่างเช่นเงินทุนการศึกษาบุตรที่จะใช้ในระยะสั้น นักลงทุนก็ไม่ควรจะนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่มาก แนะนำเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ จะดีกว่าฮะ

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น

กองทุนรวมจะมีการคิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในการบริหารจัดการกองทุนกับนักลงทุนอยู่เสมอ ยิ่งกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูง ก็จะยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากองทุนที่ให้ผลตอบแทนในตลาดที่ต่ำกว่า

เพราะทีมบริหารจะคิดค่า Performance ของการบริหารเงินลงทุน หากกองทุนไหนมีกลยุทธ์ซับซ้อน แต่ให้ผลตอบแทนดี ก็จะมีค่าธรรมเนียมการบริหารแพงกว่ากองทุนอื่นๆ

บางครั้งค่าใช้จ่ายที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยของแต่ละกองทุน ก็อาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างของผลตอบแทนได้ในระยะยาวได้เหมือนกัน

ยกตัวอย่างง่ายๆ นะฮะ สมมติว่าคุณลงทุน 10,000 บาท ในกองทุน AA ที่ให้ผลตอบแทนก่อนหักค่าใช้จ่าย 10% ต่อปี โดยมีค่าธรรมเนียมในการบริหารรายปี 1.5% เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี เงินก้อนนั้นก็จะเติบโตเป็น 49,725 บาทโดยประมาณ หากกองทุน AA คิดค่าธรรมเนียมเพียงแค่ 0.5% เงินก้อนนั้นจะเติบโตเป็น 60,858 บาท โดยประมาณ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ค่าธรรมเนียมของกองทุนที่ต่างกันเพียงนิดเดียวนี่แหละ สามารถส่งผลให้เห็นความต่างของผลตอบแทนในระยะยาวเลยล่ะครับ เลือกกองทุนที่มีผลประกอบการและค่าธรรมเนียมการบริหารที่สมน้ำสมเนื้อกันหน่อย จะได้รู้สึก win-win กันทั้งสองฝ่าย อิอิ

ระยะเวลาและขนาดของกองทุนรวม

ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนควรศึกษา Fund Fact Sheet หรือหนังสือชี้ชวน เพื่อจะได้รู้ว่า กองทุนที่กำลังสนใจอยู่นั้น เปิดทำการมาเป็นระยะเวลานานแค่ไหน และขนาดของกองทุนนั้นใหญ่โตมากน้อยเท่าไหร่แล้ว

บางครั้งกองทุนรวมที่ออกมาใหม่ หรือ กองทุนขนาดเล็กบางกอง ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น เพราะกองทุนเหล่านี้ลงทุนได้ในปริมาณที่จำกัด เนื่องจากขนาดของกองทุนโดยรวมยังเล็กอยู่ เมื่อหุ้นหรือตราสารบางตัวที่ได้ลงทุนไป เกิดผลกำไรที่โดดเด่น ก็จะส่งผลให้เกิดภาพรวมที่ดีของกองทุนรวมนั้นได้

แต่เมื่อกองทุนเหล่านี้เติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไปจะมีมากขึ้น ดังนั้นสัดส่วนของหุ้นที่ได้ผลกำไรก็จะมีขนาดเล็กลง ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนรวมน้อยลง มันจึงเป็นการยากที่จะรักษาผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะยาวได้

กองทุนรวมที่ดีสามารถวัดได้จากจากระยะเวลาที่เปิดทำการ และขนาดของกองทุน เพราะทีมบริหารกองทุนรวมเก่งๆจะรักษาผลประกอบการของกองทุนให้ดีได้สม่ำเสมอ หรืออย่างน้อยก็ทำผลตอบแทนชนะ Benchmark ทุกปีได้

ความเสี่ยงและความผันผวนของผลประกอบการ

นักลงทุนควรเข้าใจในความเสี่ยงกองทุนรวม โดยดูจากหนังสือชี้ชวนการลงทุนที่จะบอกถึงระดับความเสี่ยงของกองทุน และกลยุทธ์ในการลงทุน เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจของนักลงทุน

กองทุนรวมที่อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะมอบผลตอบแทนที่สูงขึ้นให้กับนักลงทุนได้ แต่การเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงไม่เหมาะกับตัวนักลงทุนเอง ก็สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ลงทุนเอง 

ยกตัวอย่างเช่น ความผันผวนของผลประกอบการก็ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนเช่นกัน กองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก