Aommoney Facebook Live ระหว่างแอดมินเพจอภินิหารเงินออมกับคุณต้าร์ DCA (คลิกเยี่ยมเยียนเพจคุณต้าร์ได้ที่ https://www.facebook.com/tartar1210page/?fref=ts)  ในชื่อตอนที่มีชื่อว่า “กลยุทธ์ยอดเมียเลิกเพลียกับพ่อบ้านนักช้อป” ว่าคนมีคู่หูชูชื่นจะจัดการเรื่องเงินกันอย่างไรให้ห่างไกลหนี้ ควรแบ่งกันดูแลเรื่องเงินกันแบบไหน แล้วถ้าแฟนชอบช้อปปิ้งจะจัดการยังไง แอดมินสรุปไว้ที่บทความนี้แล้วนะจ๊ะ

บทความนี้เขียนมาจากประสบการณ์และเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ผู้อ่านที่รักควรนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตคู่ของตัวเองนะจ๊ะ  

 

6 ข้อคิดเรื่องเงินของคนมีคู่

 

1. ไม่ควรสร้างหนี้จากการแต่งงาน

 

สำหรับคนที่มีทุนเก่าจากทางบ้านสนับสนุนอุดหนุนเงินทองอย่างเหลือเฟือ จะจัดงานแต่งใหญ่เวอร์วังอลังการขนาดไหนก็ย่อมทำได้เพราะมีงบไม่อั้น  จัดไป!!

แต่ถ้าเรามีงบจัดงานแต่งอันน้อยนิดกระจิดริด แล้วคิดจัดงานใหญ่โต วาดฝันไว้ว่าจะนำเงินในซองของแขกมาจ่ายค่าจัดงานแต่ง ขอบอกเลยว่ายาก!! เพราะต้องมานั่งลุ้นจนตัวโก่งว่าจะพอจ่ายมั๊ย

 

เงินในซองของแขก > เงินค่าจัดงานแต่ง ==> คุ้มทุน รอดตัวไป

เงินในซองของแขก < เงินค่าจัดงานแต่ง ==> ขาดทุนต้องควักเงินตัวเองไปจ่าย

 

คราวนี้ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นล่ะ ก็ไม่พ้นเรื่องการไปกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย ส่วนตัวมองว่า “ขนาดของงานแต่ง มันไม่ได้บอกถึงอนาคตของความรัก” การจัดงานแต่งงานนั้นเป็นเพียงการประกาศให้โลกรู้ว่าเราสองคนแต่งงานกันละนะ ส่วนชีวิตจริงมันเป็นการดูแลกันช่วงหลังการแต่งงานไปแล้วว่า ทั้งสองคนจะกอดคอไปกันรอดมั๊ย

มันคงเป็นเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตา ถ้าหนี้เล็กๆจากการแต่งงานเป็นตัวดึงให้เกิดหนี้สินอื่นๆตามมาและเป็นตัวจุดชนวนให้เกิด การทะเลาะกันในครอบครัวจนทำให้ต้องแยกทางกัน บ๊าย!!

 

2. ทำให้เงินสินสอดเติบโต

 

เงินสินสอดเป็นเงินทุนเริ่มต้นของชีวิตคู่ที่จะต้องช่วยกันคิดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ที่จะต้องคุยกันอย่างเปิดเผย จดบัญชีไว้รัวๆ จะได้รู้ว่าตอนนี้เงินของเราสองคนเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง  ส่วนตัวผู้เขียนจัดการเงินสินสอดโดยการแบ่งไว้ 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 : 50% ของเงินสินสอด เพื่อลูก

เก็บไว้ใช้ในระยะปานกลาง คือ วางแผนเพื่อลูกในวัยเข้าเรียนชั้นอนุบาล เป็นเงินที่สำคัญจะเสี่ยงมากไม่ได้ จึงเลือกเก็บในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำๆ และถอนออกยากๆจะได้ไม่เผลอหยิบออกมาใช้ เราเก็บไว้ที่ สลากออมสินเพราะวันที่สลากครบกำหนดอีก 3 ปีข้างหน้า เป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้เงินพอดี แถมยังลุ้นถูกรางวัลอีกด้วย

 

ส่วนที่ 2 : 45% ของเงินสินสอด เพื่อเงินฉุกเฉินและเงินลงทุน

เก็บไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินและเงินลงทุน เราก็จะต้องอัพเดทให้ดูเรื่อยๆว่าพอร์ตลงทุนเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจและช่วยกันติดตามข่าวสาร แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน แล้วให้เราจัดการเองทุกอย่าง มันไม่ใช่นะ เงินของเราทั้งสองคนก็ต้องช่วยกันดูแล อย่างน้อยก็ต้องรับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันหลังจากเสียหายจากการลงทุนไปแล้ว

  • เงินฉุกเฉิน เป็นเงินระยะสั้นเอาไว้ใช้ในช่วงเร่งด่วน เก็บไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เบิกใช้ได้สะดวก
  • เงินลงทุนเพื่อเติบโต ก็จะลงในที่ที่มีความเสี่ยงเพื่อสร้างเงินให้เติบโต เช่น การลงทุนหุ้น

 

ส่วนที่ 3  : 5% ของเงินสินสอด เพื่อสนุกสนานลั้นลา

เติมพลังให้ชีวิตก็ต้องไปเที่ยวกันบ้าง ก็แบ่งเงินสินสอดมานิดหน่อย เราตั้งไว้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน ใช้งบประมาณเท่าไหร่ ถ้าเงินสินสอดไม่พอเที่ยวก็จะต้องช่วยกันเก็บเงินเพิ่ม โดยเก็บไว้ที่ที่มี ความเสี่ยงต่ำ เราเลือกเก็บที่บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง

 

3. ตั้งเป้าหมายชีวิตคู่ร่วมกัน

 

ฉันก็มีความฝันของฉัน

เขาก็มีความฝันของเขา

แต่ถ้า “ฉันและเขา” แต่งงานกัน

ก็จะต้องมีความฝันของเราร่วมกัน

 

แต่ละคนก็จะมีเป้าหมายของตัวเอง แต่พอได้แต่งงานกันแล้วก็จะต้องเพิ่มเป้าหมายของเราสองคนเข้าไปด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าเรากำลังเดินจูงมือกันมุ่งหน้าไปทางไหนและตอนนี้ควรทำอะไรบ้าง เช่น วางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน เราทั้งสองคนก็จะรู้ว่าตอนนี้กำลังจะสะสมเงินก้อนเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าดาวน์บ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์และผ่อนบ้านในอนาคต

 

สิ่งที่ควรทำ คือ การใช้จ่ายอย่างประหยัด

ต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

 

เมื่อเรามีเป้าหมายนี้แล้ว เวลาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้จ่ายเงินเพลิน เช่น ฝ่ายหญิงชอบช้อปปิ้งเครื่องสำอาง เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หรือฝ่ายชายชอบแต่งรถ ก็อาจจะงัดเป้าหมายนี้มาคุยกันว่า “ถ้าตอนนี้ยังใช้จ่ายเงินแบบนี้อยู่ เมื่อไหร่เป้าหมายบ้านในฝันของเราจะเป็นจริง”

 

4. คนมีคู่ควรแบ่งเงินเป็น 3 กอง  

 

บางครอบครัวอาจจะรวมกระเป๋าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่รู้จักวิธีจัดการเงินเป็นคนถือและดูแลเรื่องเงิน ในขณะที่บางคู่อาจจะแยกกระเป๋ากันแล้วบอกว่าใครจะรับผิดชอบรายจ่ายอะไรบ้าง มันก็แล้วแต่เราจะตกลงกัน ส่วนตัวจะใช้อีกวิธีหนึ่งที่แบ่งเงินออกเป็น 3 กอง คือ

  • เงินของเรา เงินที่ไว้ใช้กับเรื่องส่วนตัวของเราเอง เช่น ช้อปปิ้ง ไปสังสรรค์กับเพื่อน
  • เงินของเขา เงินที่ไว้ใช้กับเรื่องส่วนตัวของเขา เช่น ไปกินดื่มกับเพื่อนๆ ค่าอุปกรณ์กีฬา
  • เงินกองกลาง เป็นเงินที่ใช้จ่ายกับกิจกรรมที่เราทำร่วมกันก็จะจ่ายจากส่วนนี้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเช่า(หรือผ่อน)บ้าน ค่าอาหาร ค่าของใช้ในบ้าน ค่าไปเที่ยว ฯลฯ
    • รวมรายจ่ายที่ต้องใช้แล้วหารสองก็จะรู้ว่าควรใส่เงินกับกองกลางเท่าไหร่ เช่น ใช้จ่ายร่วมกันเดือนละ 20,000 บาท ก็ควักเงินคนละ 10,000 บาทไว้ที่กองกลาง (แต่ถ้าทั้งสองคนมีรายได้ต่างกันมากๆก็อาจจะแบ่งเก็บเงินกองกลางเป็น % ตามรายรับของตนเองก็ได้นะจ๊ะ)

ส่วนตัวมองว่าเพื่อความโปร่งใส ควรจดบัญชีว่ารายจ่ายของเงินส่วนกลางว่าใช้ไปกับอะไรบ้าง ถ้าใช้เงินหâ

อภิหารเงินออม

อภิหารเงินออม

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออมเงิน การจัดการการเงิน