สวัสดีครับนักลงทุนทุกท่าน ใกล้สิ้นปีแบบนี้ สิ่งที่คลินิกกองทุนจะอัพเดทให้ทุกคน คงจะต้องเป็นเครื่องมือ LTF/RMF อย่างแน่นอนครับ ซึ่งหลายๆ ท่านก็ตั้งตารออยู่ใช่ไหมครับว่าจะมีกองทุนไหนที่น่าลงทุน หรือว่ามีเทคนิคอะไรดีๆ ในการซื้อกองทุนในช่วงนี้

    ผมเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีบางบลจ. เองก็ทยอยออกกองทุนใหม่ๆ มาให้เลือกมากมายเลยทีเดียว ทำให้นักลงทุนเองก็ยังงงๆ กันอยู่ เพราะว่ามันมีหลายประเภท หลายแบบจนเลือกกันไม่ถูกเลยครับ ซึ่งแต่ละกองทุนก็จะมีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน ความมีเสน่ห์ของแต่ละกองก็มีแรงดึงดูดให้เราเข้าไปลงทุนทั้งนั้นครับ

    ปัญหาคือ เราจะเลือกกองทุน IPO อย่างไรให้สบายใจในการลงทุน รวมถึงได้ประโยชน์สูงสุดในเรื่องกระจายความเสี่ยง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี เพราะว่าปัญหาของกองทุน IPO ส่วนใหญ่คือ บางกองทุนไม่ได้มีผลตอบแทนย้อนหลังให้กับเราในการตัดสินใจที่จะลงทุนนั้นเอง

    แต่วันนี้ผมมีคำตอบให้แก่นักลงทุนที่อยากจะลงทุนกับกองทุน IPO ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุน LTF/RMF ที่จะช่วยเราลดหย่อนภาษีได้ด้วยครับ เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวเลย ซึ่งผมจะบอกเลยครับว่า

ถ้าเราเลือกกองทุนได้ดี ก็มีโอกาสจะได้กองทุนที่ทำผลตอบแทนที่ดีมากๆ ซึ่งจะทำให้มีเงินเก็บมากกว่าที่คิดไว้ในตอนแรก หรือว่ามีเงินเก็บเพื่อเกษียณได้รวดเร็วขึ้นไปอีกครับ

    โดยประเด็นในการเลือกกองทุน IPO เพื่อการลงทุนนั้น เราคงต้องมองหลายอย่างครับ ถ้ากองทุนนั้นเป็นกองทุนต่างประเทศ แล้วมาเป็นกองทุน IPO ในไทยในรูปแบบของ Feeder Fund หรือว่า Fund of Fund อันนี้ไม่ยากในการหาข้อมูลเลยครับ เพราะว่าส่วนใหญ่จะมีข้อมูลย้อนหลังของกองทุนหลักมาอยู่แล้วว่า กองทุนทำผลงานได้ดีแค่ไหน กลยุทธ์ลงทุนเป็นอย่างไร ความเสี่ยงมากหรือน้อย หรือว่าจะเป็นกลุ่ม LTF/RMF ที่ใช้นโยบายของกองทุนเปิดที่มีอยู่แล้ว ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี เนื่องจากในกลุ่มกองทุนที่เป็นรูปแบบนี้จะทำให้เราได้โอกาสที่จะเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายตรงใจ แล้วได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย ซึ่งเราสามารถดูเอกสารผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนเปิดต้นแบบนั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย 


หลักการที่สำคัญในการเลือกกองทุน IPO คือ

1. ต้องเข้าใจสไตล์ และแนวคิดการลงทุนของกองทุน

2. ต้องเป็นกองทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน เพื่อนำไปต่อยอดบริหารพอร์ตการลงทุนในกองทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้น

    ทั้งนี้ก็เพราะว่า ผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นจะดีหรือไม่ดี จะขึ้นอยู่กับแนวคิด และวิธีการลงทุนของผู้จัดการกองทุน และทีมงานครับ หากกองทุนไหนที่มีผลตอบแทนย้อนหลังดีๆ แล้วมีแนวคิดหรือวิธีการลงทุนที่แข็งแกร่งแล้วละก็ กองทุนนั้นก็มักจะทำผลตอบแทนได้ดีอย่างต่อเนื่องครับ

    ส่วนการจัดพอร์ตการลงทุนก็จะเป็นตัวช่วยให้เราได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอมากขึ้นครับเนื่องจากสินทรัพย์แต่ละอย่างไม่ว่าจะเป็น หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาฯ ทองคำ หุ้นต่างประเทศ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะขึ้นลงคนละทิศทาง ทำให้ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ปรับตัวลดลงมากจนเกินที่เราจะรับความเสี่ยงได้ ถ้าใครที่จัดพอร์ตและลงทุนระยะยาวมากๆ ก็จะเห็นว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนั้นมักจะบรรลุเป้าหมายการลงทุนได้ครับ

    คราวนี้เรามาดูตัวอย่างกองทุนออกใหม่กันบ้าง ซึ่งครั้งนี้ผมหยิบเอา 5 กองทุน จาก บลจ. กรุงศรี เพื่อมาดูกันว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง หลังจากที่ผมได้เห็นข้อมูลกองทุนที่ออกมาใหม่นั้น ผมคิดออกทันทีว่า ผู้จัดการกองทุนและทีมงานที่ออกกองทุนใหม่ๆ เหล่านี้มาเพื่อช่วยในการจัดพอร์ตลงทุนระยะยาวโดยเฉพาะเลยครับ และทุกกองทุนก็เป็นกองทุนเปิดที่มีผลงานให้เห็นมาก่อนแล้ว ทางบริษัทนำมาเปิดเป็น LTF/RMF กองทุนใหม่ เพิ่มทางเลือกน่าสนใจให้ผู้ลงทุน เรามาดูกันครับ


กองทุน KFLTFSTARD และ กองทุน KFSTARRMF

    เราเรียกได้ว่าเป็นกองทุนหุ้นคู่หูประหยัดภาษีครับ เพราะว่าทั้ง 2 กองทุนนี้จะมีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุนเหมือนกันต่างกันเพียงแค่ลักษณะภายนอกที่กองทุนหนึ่งเป็น RMF และอีกกองทุนเป็น LTF ที่มี นโยบายจ่ายเงินปันผลอยู่ด้วยครับ

    ส่วนจุดเด่นของทั้ง 2 กองทุนก็คือการที่มีสไตล์การลงทุนแบบเปิดกว้างมากๆ คือ ลงทุนได้ทั้งหุ้นเล็ก หุ้นกลาง หุ้นใหญ่ หุ้นเน้นเติบโต และหุ้นปันผล เรียกได้ว่ากลั่นหุ้นดีๆ มาจากทุกแบบครับ ซึ่งหุ้นที่คัดมานั้น ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่หุ้นราคาไม่แพง แต่ว่ามีการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในตลาดหุ้นไทย และมีการปรับพอร์ตยืดหยุ่น ขึ้นกับว่าภาวะตลาดในแต่ละช่วงเหมาะกับหุ้นแบบไหนครับ นั่นหมายความว่า แม้ระยะสั้นตลาดหุ้นจะผันผวน แต่เราจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวจากการบริหารพอร์ตที่ดีครับ 

    กองทุนเปิดที่นโยบายเหมือนกันนี้คือ KFTSTAR-D ที่เพิ่งเปิดตัวไปได้ 6 เดือน ผลตอบแทนน่าสนใจทีเดียวครับ


6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

(ที่มา: บลจ.กรุงศรี ข้อมูล ณ29 ก.ย. 60 ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)


6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

(ที่มา: บลจ. กรุงศรี)


กองทุน KFHAPPYRMF

    กองทุนถัดไป เรามาดูกองทุนที่ออกแบบมาเพื่อคนที่รับความเสี่ยงได้ไม่สูงมากนัก หรือว่าคนที่ใกล้จะเกษียณครับ โดยกองทุน KFHAPPYRMF (ใครเป็นคนคิดเนี่ย ชื่อดูชิลจริงๆ) จะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะในไทยเท่านั้นครับ โดยจะลงทุนในส่วนนี้สูงถึง 75% และส่วนที่เหลืออีกไม่เกิน 25% นั้นจะไปลงทุนในหุ้น กอง REITs กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน และกองทุนอสังหาฯ โดยสัดส่วนการลงทุนในแต่ละช่วงจะปรับได้ตั้งแต่ 0-25% ตามมุมมองของผู้จัดการกองทุนครับ

    ต้องบอกว่านี่เป็นจุดเด่นสำหรับใครหลายคนที่อยากได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอบนความผันผวนที่ไม่มากจนเกินไป เพื่อให้เงินสะสมเติบโตครับ เนื่องจากว่าตราสารหนี้จะมีรายได้ที่สม่ำเสมอ รวมถึงกอง REITs และโครงสร้างพื้นฐานเองก็จะให้ผลตอบแทนที่เกิดจากค่าเช่า หรือการใช้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่ให้กระแสเงินสดได้อย่างดีเลยครับ ถือเป็นผลตอบแทนที่ค่อยๆ สะสมเพิ่มพูนไปในกองทุน ถือว่าโดนใจผมมากๆ เพราะว่าผมเองก็เป็นแฟนพันธุ์แท้กองทุนอสังหาฯ และ REITs ไทยเหมือนกันครับ

6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

(ที่มา: บลจ. กรุงศรี)


กองทุน KFGTECHRMF

    ส่วนกองทุนถัดมา ผมจะเรียกว่าเป็นกองทุนที่เป็นหัวหอกในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวครับ เนื่องจากเป็นกองทุนที่ไปลงทุนกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตสูงอย่างกลุ่ม Technology ครับ นั่นก็คือกองทุน KFGTECHRMF

    โดยกองทุนนี้จะไปลงทุนต่อในกองทุน T-Rowe Price Fund SICAV- Global Technology Equity Fund ครับ ซึ่งกองทุนนี้มีการบริหารงานที่น่าสนใจ คือ เน้นเลือกหุ้นเทคโนโลยีที่เป็น New Technology เช่น AI, Cloud Technology เป็นต้น 

    เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องของการใช้ Big Data มาทำ AI (Artificial Intelligent) หรือ Machine Learning เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น แม่นยำมากขึ้น และที่สำคัญระบบพวกนี้สามารถพัฒนาได้เองอย่างต่อเนื่องอีกด้วยครับ

    แน่นอนว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีข้อมูลมากมายมหาศาลเท่านั้น จึงจะทำเรื่องพวกนี้ได้ ในยุค 4.0 เป็นยุคทองของข้อมูลครับ ใครมีข้อมูลก็เปรียบเสมือนมีเหมืองทองคำอยู่ในมือเลยละครับ

    ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะมีข้อมูลมากมายขนาดนี้ คงหนีไม่พ้นบริษัทที่เราคุ้นเคยกันดี คงไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก Alphabet เจ้าของ Google นั่นเองครับ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของหุ้นที่กองทุนถืออยู่ และยังเป็นหุ้นที่มีโอกาสจะเติบโตได้อีกมากในอนาคต 

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กองทุนสร้างผลตอบแทนได้ดีครับ เอาชนะทั้งเกณฑ์มาตรฐาน หรือว่า Benchmark และยังเอาชนะกองทุนอื่นๆ ที่อยู่กลุ่มเดียวกันได้อีกด้วยครับ

6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

(ที่มา: T. Rowe Price ณ 31 ก.ค. 60. วันจัดตั้งกองทุนคือ 15 มิ.ย. 58. MSCI ACWI IT ย่อมาจาก MSCI All Country World Index Information Technology ซึ่งได้รวมผลตอบแทนในรูปเงินปันผลแล้ว. Peers อ้างอิงจาก ดัชนี Lipper Global Science and Technology Funds Index. ผลการดำเนินงานแสดงในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ. ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน. ผลการดำเนินงานช่วง 3 เดือน, YTD และ 1 ปี แสดงเป็นผลการดำเนินงานสะสม ,ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)


กองทุน KFCHINARMF

    ส่วนกองทุนสุดท้ายที่ผมจะพูดถึง เป็นกองทุนในกลุ่มประเทศที่ผมชอบ และยังเขียนบทความถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ กองทุนหุ้นในกลุ่มประเทศจีนที่มีชื่อว่า กองทุน KFCHINARMFผมคิดว่ากองทุนมีจุดน่าสนใจอยู่หลายๆ จุดครับ เช่น มีการกระจายการลงทุนที่นอกเหนือจากจีน อาทิ ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่า “Greater China” นั่นเองครับ

6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

  (ที่มา: บลจ. กรุงศรี)

    แน่นอนว่าเรื่องผลตอบแทนของกองทุนหลักเองคงไม่ต้องพูดถึงให้ยืดยาว เพราะกองทุนนี้สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนชนะ Benchmark อยู่อย่างสม่ำเสมอเลยครับ


6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า

(ที่มา: First State Investments ณ 30 มิ.ย. 2560 โดยเป็นข้อมูลสุทธิหลังค่าธรรมเนียมของ Class I share ในรูปสกุลเงิน USD, Lipper. กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 18 ต.ค. 45. ข้อมูลตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึง 1 ก.ค. 2559 ใช้ข้อมูลของดัชนี MSCI Golden Dragon Index ก่อนค่าธรรมเนียม และข้อมูลตั้งแต่ 1 ก.ค. 2560 ถึงปัจจุบัน ใช้ข้อมูลของดัชนี MSCI Golden Dragon Index สุทธิหลังค่าธรรมเนียม. ผลการดาเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน., ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

    เหตุที่กองทุนนี้มีความน่าสนใจ เนื่องมาจากการพัฒนาของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศจีนที่เติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี อุปโภค บริโภค การบริการต่างๆ และยังมีแนวคิดการพัฒนาประเทศในระยะยาวของจีน ที่ดูแล้วมีความเป็นไปได้สูงมาก รวมถึงการขยายตัวของประชากร ที่ถึงแม้ว่าจะดูลดลงไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าประเทศจีนมีการบริโภคสินค้าที่มากขึ้น จากฐานกลุ่มคนชนชั้นกลาง และกลุ่มเศรษฐี  ที่มีมากขึ้นครับ

    ดังนั้น หากจะลงทุนระยะยาวกับประเทศจีนแล้วละก็ กองทุนนี้เป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจมาก ทั้งในแง่ของแนวโน้มการเติบโต และการกระจายความเสี่ยงได้ดี เพราะว่าไปลงทุนในหลายๆ ประเทศในกลุ่ม Greater China ครับ


    ถึงตรงนี้ผมคิดว่ากองทุนที่ออกมาใหม่ของ บลจ. กรุงศรี นั้นเรียกได้ว่าสามารถเอามาจัดเป็นพอร์ตเพื่อลงทุนระยะยาวได้เลย เพราะว่าครบทั้ง หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ ตราสารหนี้ และยังมีกองทุนกลุ่มอุตสาหกรรมอีกด้วยครับ

    โดยกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่างกองทุน KFHAPPYRMF ก็ถือว่ามีไว้เพื่อกระจายความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ส่วนกองทุนหุ้นไทย KFSTARRMFหรือว่าจะเป็น KFLTFSTARD ก็จะช่วยสร้างโอกาสของผลตอบแทนที่ดีในรูปแบบกองทุนหุ้น และยังมีกองทุนหุ้นจีน KFCHINARMF กับกองเทคโนโลยี KFGTECHRMF ที่เป็นหัวหอกในการเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้กับเราได้ครับ

ข้อสำคัญอีกอย่างคือ อย่าลืมแบ่งสัดส่วนกองทุนในแต่ละประเภทให้ดีนะครับ จะได้ไม่เป็นการทุ่มเงินลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่ง จนทำให้เราเสียเป้าหมายการลงทุนระยะยาวไป

    เอาเป็นว่าสามารถกระจายการลงทุนไปยังกองทุนที่เน้นการเติบโต ที่อยู่ในกลุ่มที่กำลังจะออก IPO มาด้วย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.krungsriasset.com/th/News/Promotion/20888.html ซึ่งกองทุนทั้งหมดนี้จะเริ่มทำการเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 3 – 10 ตุลาคมนี้ ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนท่านใดมีบัตรเครดิตในเครือ บลจ. กรุงศรี ก็สามารถนำไปใช้ลงทุนได้เช่นกันนะครับ เรียกได้ว่าสะดวกทุกช่องทางการลงทุนจริงๆ


    ก่อนจะจากกัน ผมมีข้อมูล 6 ข้อที่เราควรจะตรวจสอบก่อนการลงทุนในกองทุน IPO มาฝากกัน ซึ่งกองทุนไหนที่เพิ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรกจริงๆ อันนี้คงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมกันให้เยอะๆ นะครับ


1.เลือกกองทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมาย:

    ในเรื่องการลงทุนหลายๆ ครั้ง เรามักจะเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่จริงๆ แล้ว สิ่งแรกที่นักลงทุนควรจะเลือก หรือว่าตัดสินใจเพื่อที่จะลงทุนก็คือเรื่องของ “ความเสี่ยง”เพราะว่าจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการลงทุนของเราครับ เช่น หากเป็นเป้าหมายระยะกลางๆ 3 ปีหรือคนไหนที่ลงทุนแล้วไม่ชอบความเสี่ยงสูงๆ แล้วละก็ ต่อให้มีกองทุนหุ้น IPO ออกมาโดยให้ผลตอบแทนคาดหวังเยอะๆ ถึง 10-12% ต่อปีก็ตาม เราก็อาจจะไม่เลือกลงทุนก็ได้ เพราะว่าอย่างกองทุนหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้มากเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องลงทุนอย่างน้อยๆ 5-7 ปี ขึ้นไปครับ


2. ผลตอบแทนคาดหวังของกองทุนเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่: 

    ข้อนี้ผมขอพูดง่ายๆ ว่า เราคงต้องดูว่ากองทุนที่ลงทุนไปนั้น ทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ เช่น หากเป้าหมายเราต้องการผลตอบแทนที่ 7% แต่เลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนคาดหวังประมาณ 6% ก็คงไม่บรรลุเป้าหมายการลงทุนของเราแน่ๆ กองทุนที่ออกมานั้น เราคงต้องมองข้ามไปครับ


3. ผู้บริหารจัดการกองทุนเคยบริหารกองทุนไหนมาก่อน และผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนที่ เคยบริหารเป็นอย่างไรบ้าง: 

    ส่วนใหญ่แล้วกองทุนที่ออกมาใหม่นั้น ก็ไม่ได้มีระบบจัดการใหม่ทั้งหมดนะครับ โดยเฉพาะผู้จัดการกองทุน ดังนั้นกองทุนใหม่ๆ นั้น ก็มักจะถูกบริหารงานด้วยผู้จัดการกองทุนคนเดิม หรือว่าทีมงานที่มีคุณภาพชุดเดิม ที่อยู่ใน บลจ. นั่นเองครับ ถ้าหากเราเคยลงทุนใน บลจ. นั้นๆ อยู่แล้ว ก็น่าจะดูผลตอบแทน และคุณภาพของกองทุนเดิมประกอบได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อาจะมีส่วนแตกต่างกันไปได้บ้างตามแนวคิดการลงทุนซึ่งจะอยู่ในข้อถัดไปเลยครับ


4. สไตล์การลงทุน และแนวคิดการลงทุนของกองทุนนี้เป็นอย่างไร:

    จากข้อที่แล้ว สำหรับกองทุนที่ออกมาใหม่นั้น มักจะมีทีมงานบริหารกองทุนที่เหมือนกับกองทุนที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ แต่ว่ากองทุนใหม่ๆ เหล่านั้น บลจ. ก็อาจจะสร้างความแตกต่าง และปรับปรุงในส่วนกลยุทธ์การลงทุนรายกองทุนที่ไม่เหมือนกันแทนครับ เช่น บางกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นเล็ก บางกองทุนเน้นลงทุนในกลุ่ม Healthcare เป็นหลัก หรือว่าบางกองทุนมีกลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเราก็คงต้องศึกษา และหาข้อมูลเพิ่มเติมครับว่า แต่ละกองทุนมีสไตล์การลงทุนเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้กองทุนที่เราชอบจริงๆ


5. ค่าธรรมเนียมมีความเหมาะสมกับผลตอบแทนที่จะได้รับ:

    ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการลงทุนครับ เนื่องจากค่าธรรมเนียมถือว่าเป็นต้นทุนสำคัญในการลงทุนระยะยาวของนักลงทุน ดังนั้น หากกองทุน IPO ที่เราเลือกมาทำผลตอบแทนได้ไม่ค่อยดี แถมยังมีค่าธรรมเนียมที่แพงอีก อันนี้คงต้องปรับเปลี่ยน และหากองทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี เพื่อความคุ้มค่าต่อค่าธรรมเนียมที่จ่ายไปครับ


6. ต้องมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม อย่าลงทุนด้วยเงินทั้งหมดในกองทุน IPO ที่เพิ่งเปิดมา: 

    ข้อนี้ถือว่าเป็นข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ได้มองภาพรวมของการลงทุนเท่าไหร่นัก แต่กลับจะเน้นการลงทุนเป็นรายกองทุนไป โดยมักจะถามว่า กองทุนไหนดี กองทุนไหนน่าลงทุนในช่วงนี้ ซึ่งถ้านักลงทุนเองอยากจะลงทุนระยะยาวแล้วประสบความสำเร็จละก็ ผมแนะนำให้นักลงทุนควรกระจายการลงทุนอย่างถูกต้องร่วมด้วยครับ


6 เทคนิคเลือกกองทุน LTF/RMF หน้าใหม่ให้เข้าเป้า


    สุดท้ายผมคิดว่านักลงทุนในกองทุนเอง ก็น่าจะได้ความรู้ไปกันพอสมควรแล้ว ไว้พบกันครั้งหน้านะครับ วันนี้ลาไปก่อน ขอให้โชคดีในการลงทุนกับกองทุนรวมนะครับ


บทความนี้เป็น Advertorial