สวัสดีคร้าบบบ กลับมาพบกับผม TAXBugnoms พรี่หนอมคนเดิมคนเก่า ที่จะไม่หยุดเล่าเรื่องภาษีกันครับผม สำหรับบทความใน Aommoney.com วันนี้ยังคงวนเวียนอยู่กันอีกทีกับเรื่อง “ภาษีสำหรับธุรกิจขายของออนไลน์” ครับ

 

เอาจริงๆ (แหม่.. พูดคำนี้เป็นครั้งที่ 165 แล้วครับ) ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง "ภาษีกับการขายของออนไลน์" ไว้หลายครั้งแล้วครับ แต่วันนี้ฤกษ์ดี เลยถือโอกาสรวมบทความทั้งหมดมารวมกันเป็นบทความเดียวให้อ่านกันครับ เพื่อที่คนขายของออนไลน์ทั้งหลาย จะได้เตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนภาษีที่ถูกต้อง พร้อมทั้งปรับตัวต้อนรับระบบ e-Payment ที่กำลังจะเริ่มต้นใช้งานเร็วๆนี้ เอาล่ะครับ ถึงเวลาสักที... สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านบทความนี้่เป็นครั้งแรก ผมอยากรบกวนให้เริ่มต้นอ่านบทความทั้งหมดตามที่ผมจัดไว้ให้ดังนี้ครับ

 

บทความซีรีย์พื้นฐานภาษีสำหรับธุรกิจขายของออนไลน์

- [ซีรีย์] ขายของออนไลน์ สบายใจเรื่องภาษี [1] : ความรู้เกี่ยวกับ E-Commerce
- [ซีรีย์] ขายของออนไลน์ สบายใจเรื่องภาษี [2] : ทำกิจการแบบไหนต้องเสียภาษีบ้าง
- [ซีรีย์] ขายของออนไลน์ สบายใจเรื่องภาษี [3] : มีภาษีอะไรที่ต้องเสียบ้าง?

แนวทางการวางแผนภาษี และ ตัวอย่างการคำนวณภาษี 

- [ภาษี] ขายของออนไลน์ เค้าเสียภาษีกันยังไง? [1]
[ภาษี] ขายของออนไลน์ เค้าเสียภาษีกันยังไง? [2]
- [ภาษี] 5 เรื่องภาษีที่มักเข้าใจผิด สำหรับคนทำธุรกิจออนไลน์ 

- ไขทุกปัญหา!! ภาษีขายของออนไลน์
- วางแผนภาษีแบบ Step By Step สำหรับธุรกิจ “ขายของออนไลน์”
- เรื่องน่ารู้!!! มนุษย์เงินเดือนทำธุรกิจส่วนตัวต้องเสียภาษีอย่างไร? 

กรณีเตรียมพร้อมระบบ ANYid, Promptpay และ E-Payment ต่างๆ

- ถ้าสรรพากรตรวจสอบข้อมูลธนาคารเพื่อเก็บภาษี เราจะรับมืออย่างไรดี ? 

 

ใครอ่านจบแล้วมาทบทวนกันอีกที!

หลังจากที่อ่านบทความยาวเหยียดจบไปแล้ว เรามาทบทวนกันอีกที สำหรับกรณีขายของออนไลน์นั้น เราจะแยกออกเป็น 2 ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ ภาษีเงินได้ ซึ่งผมได้สรุปหลักการพิจารณามาให้อีกครั้งตามนี้ครับ

 

1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ต้องจดทันทีสำหรับกรณีที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี (เน้นอีกทีนะครับว่ารายได้ไม่ใช่กำไร)

2. ภาษีเงินได้ (บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล) : ให้แยกคำนวณตามรูปแบบของธุรกิจ ระหว่าง บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล โดยการพิจารณาว่าจะจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ผมแนะนำให้อ่านบทความชื่อ จะจดทะเบียนบริษัท “เพื่อประหยัดภาษี” ต้องมีรายได้เท่าไร ? เพิ่มเติมด้วยครับ

 

ทั้งหมดนั้นคือหลักการพิจารณาง่ายๆ และบทความทั้งหมดที่ผมเคยเขียนครับ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าน่าจะเพียงพอกับการตัดสินใจและทำความเข้าใจกับเรื่องของการขายของออนไลน์ทีต้องเสียภาษีแล้ว แต่ถ้าหากยังไม่จุใจ ผมยังมีคลิปที่ไปบรรยายในงาน Krungsri E-biz Day 2016 มาให้ฟังกันครับ (เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง) ผมเชื่อว่าจะช่วย

 

 

ตัวอย่างและกรณีศึกษา

ทีนี้มาถึงตัวอย่างกันบ้างครับ อันนี้เป็นข้อความที่สอบถามมาทางแฟนเพจ TAXBugnoms สักระยะหนึ่งแล้วครับ เพียงแต่ผมยังไม่มีเวลาตอบคำถามสักที (แหม่.. ไม่ได้อู้นะครับ งานยุ่งจริงๆเลย) ไหนๆ วันนี้พูดคุยกันในเรื่องของภาษีสำหรับการขายของออนไลน์แล้ว เลยถือโอกาสนำมาเขียนตอบไปพร้อมๆกันเลยครับ

 

คำถามมีอยู่ว่า ... พี่หนอมครับ รบกวนสอบถามครับ พอดีอ่านบทความพี่แล้วสนใจครับ คือ ถ้าตอนนี้ผมทำร้านค้า online อยู่ และมียอดขายประมาณ 3 ล้านบาทต่อเดือน และผมต้องการจะทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องครับ ทีนี้ปัญหาของผมมีดังนี้ครับ


1) ไม่มีบิลซื้อ สินค้าส่วนใหญ่เป็นของหิ้วหรือซื้อร้านส่งมา แต่บางรายการที่ซื้อของจากห้างฯ มีค่าใช้จ่ายจริง

2) กรณีนี้การจดทะเบียนเป็นบริษัท หรือการจ่ายภาษีแบบไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากันครับ

3) จ่ายภาษีเหมา ต้องออกบิล vat ไหมครับ

4) จ่ายภาษีเหมา ไม่ต้องมี vat ซื้อใช่ไหมครับ

5) การขายของออนไลน์ ยอดเกิน 1.8 ล้าน ต้องโดนบังคับจด vat หรือจดบริษัทมั้ยครับ

6) ข้อดีข้อเสีย ความต่างของบริษัทกับจ่ายแบบเหมา ในแง่ของเอกสารคืออะไรหรอครับ ในแง่ของค่าใช้จ่าย บริษัทต้องมีเรื่องของการตรวจสอบบัญชี จ้างทำบัญชี จ่ายเหมาไม่มีนั้นต่างกันแค่นี้เลยไหมครับ

 

เอาล่ะครับ... อ่านคำตอบทั้งหมดของน้องแล้ว บอกเลยครับว่านี่คือเรื่องปัญหาส่วนใหญ่ของคนขายของออนไลน์ครับ เพราะความเข้าใจของเราทุกคนจะปะปนกันในเรื่อง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” กับ “ภาษีเงินได้” อยู่เสมอๆ ดังนั้นบทความข้างต้นจะพอช่วยให้เข้าใจเพิ่มเติมได้แล้วครับ ส่วนคำตอบนั้น ผมขอตอบกลับเป็นแนวทาง และข้อๆ ดังนี้ครับ

 

ก่อนอื่นต้องแยกกันระหว่าง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” กับ “ภาษีเงินได้” ก่อนครับ นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีเรื่องของภาษีซื้อกับภาษีขาย (ส่วนต่างต้องนำส่งสรรพากร) หากใครอ่านตรงนี้ไม่เข้าใจ ผมแนะนำบทความต่อไปนี้ให้อ่านก่อนครับ

- ก่อนจะถามว่าจด VAT ดีไหม ? มาเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนดีกว่า
- “หน้าที่” และ “ความเข้าใจผิด” ของเจ้าของธุรกิจกับ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”

 

สำหรับอีกส่วนคือ “ภาษีเงินได้” ซึ่งแยกเรื่องของการมีรายได้และรูปแบบตามที่บอกไปข้างต้นครับ เวลาเราพิจารณาเราต้องแยกพูดกัน เพราะมันมีปัจจัยที่แตกต่างกันในเรื่องของการพิจารณาครับ เอาล่ะครับ ถ้าจูนกันแล้ว เราลองมาตอบคำถามกันเลยครับ