“มีวิธีอะไรบ้าง ที่จะช่วยให้ซื้อ  RMF ได้ในจังหวะดีๆ ”

ผมคิดว่าคำถามนี้น่าจะเป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่อยากจะลงทุนใน RMF เพราะ การซื้อ  RMF ได้ในจังหวะที่ดี จะทำให้ได้ต้นทุนที่ถูกและได้ผลตอบแทน 2 เด้ง คือ ได้ประหยัดภาษี และมีกำไรจากส่วนต่างของราคาอีกด้วย

กลยุทธ์ในการซื้อกองทุนมีอยู่หลายแนวทาง มีทั้งแนวที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการหาจังหวะในการซื้อเลย เช่น DCA (Dollar Cost Average) หรือการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) เป็นต้น แต่ถ้าใครมีความต้องการที่จะจับจังหวะในการซื้อกองทุน ก็คงต้องเลือกใช้แนวทางของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ซึ่งเป็นวิธีที่ตัดสินใจและหาจังหวะลงมือซื้อขาย โดยการศึกษาพฤติกรรมของคนที่เข้ามาซื้อขายในตลาด ผ่านข้อมูลราคาที่แสดงออกมาในรูปแบบของกราฟ

วันนี้ผม DaddyTrader จะมาแนะนำเทคนิคการจับจังหวะซื้อ RMF ที่ดี ให้ทุกท่านได้ลองกลับไปใช้งานกันครับ โดยโจทย์ที่ผมตั้งขึ้นสำหรับบทความนี้ คือ วิธีที่จะแนะนำต้องเป็นเทคนิคง่ายๆ เรียนรู้ได้ทันที และใช้ได้จริง แถมยังเป็นวิธีที่แม้แต่นักเทคนิคมืออาชีพก็ใช้กัน มาดูกันครับว่าวิธีการที่ว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร

แนวคิดในการจับจังหวะ  RMF

อันดับแรกเราต้องทำความเข้าใจลักษณะสำคัญและข้อจำกัดของกองทุน RMF กันก่อนครับว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางกว้างๆ ว่าจะใช้เทคนิคอะไรกับกองทุนแต่ละประเภทได้บ้าง

RMF มีนโยบายลงทุนที่เปิดกว้างกว่า LTF ที่หลายๆคนชอบลงทุนกัน เพราะ RMF สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภท เช่น หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ ทองคำ และ ตราสารหนี้ แต่ต้องถือกองทุนจนกระทั่งอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องถือไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) ยกตัวอย่างกองทุนดังนี้ครับ

ตัวอย่างกองทุน RMF ที่ออกโดย บลจ.กสิกรไทยที่มีนโยบายแตกต่างกัน
ซึ่งมีการลงทุนสินทรัพย์หลากหลายประเภทตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

แนวคิดในการจับจังหวะ RMF

จากลักษณะสำคัญและตารางตัวอย่างนโยบายการลงทุนของ RMF ข้างต้น การจับจังหวะซื้อ RMF และการเลือกสับเปลี่ยนกอง RMF จะมีการเลือกประเภทสินทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และการสับเปลี่ยนกอง RMF ก็สามารถเปลี่ยนข้ามประเภทสินทรัพย์จากสินทรัพย์ที่แนวโน้มราคาไม่ดี ไปยังสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มราคาที่ดีกว่าได้ โดยถ้าเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อยๆ คุณก็จะมีเวลาในการถือ RMF และสับเปลี่ยนเพื่อหาโอกาสทำกำไรได้จนถึงอายุ 55 ปี

จังหวะซื้อ RMF ที่ดีเป็นอย่างไร

วิธีง่ายๆ และทรงประสิทธิภาพมากที่สุด ที่นักเทคนิคใช้ในการตัดสินใจหาจังหวะลงทุน คือ ให้ตัดสินใจอยู่ฝั่งซื้อหรือขายตามทิศทางแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ที่สนใจลงทุน โดยมีข้อแนะนำว่า 

  1. ถ้าราคาของสินทรัพย์ใดกำลังอยู่ในทิศทางแนวโน้มที่เป็นขาขึ้น ก็ให้ซื้อ RMF ที่มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ ได้เลย ตราบที่ทิศทางยังไม่เปลี่ยนแปลงเป็นทิศทางขาลง หรือถ้าราคากำลังอยู่ในช่วงปรับตัวลดลงเป็นการพักฐาน แต่ยังไม่เป็นทิศทางของแนวโน้มขาลง ก็ยิ่งเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อ RMF
  2. แต่ถ้าราคาสินทรัพย์ใดกำลังอยู่ในทิศทางแนวโน้มที่เป็นขาลง ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์นั้น เพราะยังไม่ใช่จังหวะในการลงทุนที่ดี หรือให้เปลี่ยนไปลงทุนในทรัพย์สินอื่นที่มีทิศทางแนวโน้มราคาที่เป็นขาขึ้นแทน เนื่องจากเราไม่รู้ว่าราคาสินทรัพย์นั้น ๆ จะลงไปต่ำสุดที่ราคาเท่าไร

การตัดสินใจลงมือซื้อขายตามทิศทางของแนวโน้ม จะไม่พยายามคาดการณ์ว่าทิศทางแนวโน้มขาขึ้น หรือทิศทางแนวโน้มขาลงจะจบลงเมื่อไหร่ เนื่องจากไม่มีวิธีที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ 100 % แต่เราจะรู้ได้เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว และกราฟราคาสินทรัพย์นั้นๆ มีสัญญาณแสดงให้เห็นการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มแล้ว ดังนั้นวิธีการซื้อขายตามทิศทางของแนวโน้มจะระบุว่าปัจจุบันมีทิศทางเป็นอย่างไร แล้วตัดสินใจลงมือตามทิศทางที่เกิดขึ้นเป็นอยู่

โดยสรุปของเทคนิคในการหาจังหวะซื้อจากการวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มของราคา คือ ถ้าทิศทางแนวโน้มของราคายังเป็นทิศทางขาลงอยู่ ก็ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งรีบร้อนเข้าไปช้อนซื้อครับ ให้รอสัญญาณที่แสดงชัดเจนว่าทิศทางเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยลงมือ

การวิเคราะห์ทิศทางของแนวโน้มทำอย่างไร

การวิเคราะห์ทิศทางของแนวโน้มสามารถทำได้ง่ายมาก ๆ ซึ่งในบทความนี้ผมจะยกตัวอย่าง 2 วิธีที่นักเทคนิคนิยมใช้กัน ได้แก่ 1) การพิจารณาจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด 2) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average)

การพิจารณาจุดสูงสุดต่ำสุด

ในช่วงที่แนวโน้มมีทิศทางเป็นขาขึ้นจุดสูงสุดของกราฟจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และ จุดต่ำสุดของกราฟก็จะสูงขึ้นด้วย ส่วนในช่วงที่แนวโน้มมีทิศทางขาลงจุดสูงสุดของกราฟจะต่ำลง และจุดต่ำสุดของกราฟก็จะต่ำลง

จากตัวอย่างของกราฟดัชนีหุ้นไทย (SET) ตั้งแต่ต้นปี 2558 จะเห็นได้ว่าด้วยหลักการง่ายๆ โดยการระบุทิศทางของแนวโน้มจากพฤติกรรมของจุดสูงสุดต่ำและจุดต่ำสุด สรุปได้ว่าตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นมาจนถึงช่วงเดือนตุลาคม 2558 ทิศทางแนวโน้มของดัชนี SET เป็นขาลง เนื่องจากจุดสูงสุดของกราฟและจุดต่ำสุดของกราฟปรับตัวลดต่ำลง จึงไม่ใช่จังหวะที่ดีในการเข้าซื้อ   หรือ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทย

ในช่วงเวลานั้น ถ้ามีใครมาถามผมว่าควรลงมือซื้อ    RMF ได้หรือยัง ผมก็จะให้ความเห็นว่า จากแนวโน้มของกราฟ ให้ข้อมูลว่ายังไม่ใช่จังหวะที่ดีในการซื้อ แต่หลังจากเดือนตุลาคม 2558 เป็นต้นไปกราฟดัชนี SET ให้ข้อมูลว่าน่าจะจบแนวโน้มขาลงแล้ว จากการที่จุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้น และดัชนีสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม จึงเป็นจังหวะที่ดีในการเริ่มซื้อ RMF ที่มีนโยบายในการลงá