ซื้อกองทุนรวมง่าย ๆ กับ Fund Supermart

เนื่องจากช่วงนี้มีคนส่งข้อความมาถามผมเรื่อง ว่าซื้อกองทุนได้ที่ไหน หรือซื้อกองทุนกับที่ไหนดี

เหมือนจะเป็นคำถามง่าย ๆ ใช่ไหมครับ ใครหลายคนก็คงบอกว่าก็ไปซื้อที่ธนาคารสิ แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถซื้อกองทุนได้หลากหลายทางมาก ๆ เลยครับ ซึ่งแต่ละวิธีจะมีข้อดีแตกต่างกันไปครับ แต่ผมจะบอกถึงวิธีที่สะดวกและง่ายให้กับท่านผู้อ่านจะดีกว่าครับ

1. ซื้อที่ธนาคารใกล้บ้าน หรือที่ทำงาน วิธีการเปิดแบบนี้จะสะดวกมากครับ เพราะว่าเวลาเราไปธนาคารก็สามารถซื้อกองทุนได้ทันทีครับ แต่ข้อเสียคือ มีกองทุนให้เลือกไม่มากเท่าไหร่นัก เพราะส่วนใหญ่ธนาคารก็จะขายเฉพาะกองทุนที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่อยู่ในเครือของธนาคารนั้น ๆ เป็นผู้ออกกองทุนมาครับ ทำให้ลำบากหากเราต้องเดินทางไปหลายธนาคารเพื่อเลือกซื้อกองทุนที่ถูกใจครับ และการดูแลติดตามผลตอบแทนก็ต้องดูแยกบัญชีครับ การเปรียบเทียบกองทุนก็ทำได้ยากครับ

 

2. เลือกเปิดบัญชีแบบ Selling Agent Account  โดยการเปิดบัญชีแบบนี้ จะเป็นการเปิดบัญชีกับ บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนขายกองทุนให้กับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หลาย ๆ ที่ครับ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ A เป็นตัวแทนขายกองทุนให้กับ บลจ.B และ บลจ.C ครับ ซึ่งข้อดีคือ เราสามารถซื้อกองทุนได้หลากหลายครับในที่ที่เดียวครับ สามารถซื้อ-ขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ แต่ข้อเสียคือ เราก็ต้องเปิดบัญชีซื้อ-ขายกองทุนโดยตรงกับแต่ละ บลจ. ครับ พูดง่าย ๆ ว่าต้องเปิดบัญชีซื้อ-ขายกองทุนหลายครั้ง และเวลาชำระเงินซื้อกองทุนก็ต้องโอนเงินเข้าไปที่แต่ละ บลจ. นั้น ๆ โดยตรงครับ เรียกได้ว่าถ้าซื้อหลายกองทุนก็ต้องโอนหลายครั้ง ที่สำคัญคือการติดตามดูแลผลการลงทุนและการสับเปลี่ยนกองทุนก็เป็นไปได้ยาก เพราะว่าบัญชีกองทุนอยู่แยกกันคนละบลจ. ครับ

 

3. เปิดบัญชีแบบ Omnibus account หรือมักจะเรียกกันว่าFund Supermart ครับ อย่างที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่าการซื้อผ่าน บล.ที่เป็นตัวแทนขายกองทุนของ บลจ. ต่าง ๆ นั้นน่าจะเป็นช่องทางที่สะดวกว่าการไปเลือกซื้อเองตามธนาคาร แต่การซื้อผ่าน ตัวแทนบางครั้งก็ต้องกรอกเอกสารมากมายเพื่อแยกซื้อกองทุนในแต่ละ บลจ. ครับ แต่ Omnibus account ที่ช่วยเรื่องนี้ได้ครับ โดยถ้าเราใช้บัญชีประเภทนี้แล้วละก็ จะเหมือนว่าเราไป shopping สินค้าต่าง ๆ ที่ห้างสรรพสินค้าเลยครับ คือเราสามารถเอากองทุนมาใส่ในตะกร้าเดียวกัน (Fund Supermart)  ไม่ต้องแยกกันเหมือนกับการซื้อผ่าน selling agent account ที่ต้องแยกตะกร้ากันครับ และที่สำคัญคือเวลาจ่ายเงินก็ไม่ต้องแยกตะกร้าด้วยครับ โดยผู้ที่ทำหน้าที่เป็น ตะกร้าให้เราคือ บริษัทหลักทรัพย์ นั่นเองครับ และจุดที่ดีก็คือเราสามารถติดตามผลการลงทุนของกองทุนทั้งหมดได้พร้อม ๆ กันครับ หรือจะโยกย้ายสับเปลี่ยนก็ทำให้เราเห็นความเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่าครับ

สรุปสั้น ๆ แบบนี้ครับ

- Selling agent account แยกบัญชีกองทุนตามที่เราซื้อจากแต่ละ บลจ.โดยเราต้องโอนเงินไปที่แต่ละบลจ.เอง

- Omnibus account รวมบัญชีซื้อ-ขายกองทุนเป็นที่เดียว การจ่ายเงินก็รวมไว้ที่เดียว ไม่ต้องโอนเงินไปหลายที่ และ เพื่อความสะดวกมากขึ้น เราสามารถทำการตัดเงินในบัญชีอัตโนมัติได้เลย (ATS) แต่ถ้าเป็นการตัด ATS ให้ระวังเรื่องค่าธรรมเนียมกันด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งจะมีการคิดค่าธรรมเนียมโอนเงินด้วย หากเป็นการโอนข้ามเขต หรือข้ามจังหวัดครับ

44

 

ส่วนค่าธรรมเนียมกองทุนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องจ่ายมากขึ้นะครับ เพราะว่าค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนั้นเท่ากับที่ท่านผู้อ่านเดินไปซื้อที่ธนาคารแหละครับ

ข้อควรระวัง *บัญชีแบบ Omnibus account ไม่สามารถซื้อ LTF RMF ได้นะครับต้องใช้บัญชีแบบ selling agent เท่านั้นครับ เพราะมีเรื่องของภาษีมาเกี่ยวด้วย

ระบบแบบนี้ค่อนข้างที่จะสะดวกมาก ๆ ยิ่งไปกว่านั้นFund supermart บางแห่งมีการบริการให้ด้านคำปรึกษาต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนรวม การวางแผนการเงิน และ วางแผนการลงทุน รวมถึงจะมีบทวิเคราะห์กองทุนรวม ข้อมูลกองทุนรวมที่ออกมาใหม่ อีกด้วยครับ ซึ่งจะมีนักวิเคราะห์กองทุนรวมที่คอยให้คำปรึกษาและ แนะนำกองทุนให้อย่างมืออาชีพเลยครับ

ความสะดวกสบายยังไม่จบเพียงเท่านี้ครับ เราสามารถซื้อกองทุนผ่าน Application ของสมารท์โฟน ได้แล้วด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบ IOS หรือ ระบบ Android ครับ

ส่วนนี่เป็นรายชื่อของ หลักทรัพย์ที่มี Fund Supermart ครับ ซึ่งแต่ละที่จะมีการจำหน่ายกองทุนของแต่ละ บลจ. ที่ไม่เท่ากันนะครับ มากบ้าง น้อยบ้าง ส่วนการบริการก็สำคัญครับ อย่างไรก็ ลองโทรติดต่อสอบถามกันได้เลยครับ
666