ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทุกอุตสาหกรรมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็อย่างเช่น ร้านอาหารใช้โปรแกรม POS เข้ามาจัดการร้าน, พฤติกรรมการซื้อสินค้าของเราที่หันมาซื้อผ่านออนไลน์มากขึ้น, การเก็บรูปภาพต่าง ๆ ก็อยู่ในระบบคลาวด์มากขึ้น, การทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) หรือการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

จากข้อมูลของ Google ระบุว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยในปี 2565 มีมูลค่าทะลุ 1.29 ล้านล้านบาทเข้าไปแล้ว เศรษฐกิจดิจิทัลในที่นี้ไม่ได้นับเฉพาะอีคอมเมิร์ซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มสื่อออนไลน์ บริการทางการเงินดิจิทัล และอื่น ๆ แค่เพียงเท่านี้ก็เห็นได้แล้วว่า เทคโนโลยีมีบทบาทต่อเศรษฐกิจภาพรวมของไทยขนาดไหน นอกจากนั้น จากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Bangkok Post พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์หรือระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของไทยในปี 2565 ก็มีมูลค่ารวมกว่า 897,000 ล้านบาทเลยทีเดียว เพราะยิ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเติบโตมากเท่าไหร่ ธุรกิจ ทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศก็ยิ่งเติบโตขึ้นตามเท่านั้น

ดังนั้น หากบริษัทใดก็ตามที่เห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ และเห็นช่องว่างบางอย่างที่จะสามารถเข้ามาเติมเต็ม จนต่อยอดเป็นโอกาสทางธุรกิจได้ เช่น ธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ ธุรกิจให้บริการวางระบบและพัฒนาระบบแก่โรงงานต่าง ๆ ก็จะสามารถทำเงินได้อีกมหาศาล รวมถึงมีส่วนช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้น

และหนึ่งในบริษัทที่เห็นโอกาสดังกล่าว และกำลังจะจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ก็คือ G-Able ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบบครบวงจร

G-Able หรือ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำด้าน Tech Enabler ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ที่มีประสบการณ์ในสายงานเทคโนโลยีกว่า 33 ปี ทำงานร่วมกับแบรนด์ชั้นนำของโลกกว่า 100 แห่ง และมีโปรเจกต์ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 30,000 โปรเจกต์เลยทีเดียว

ธุรกิจของ G-Able อาจดูเป็นธุรกิจที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นเคยในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ นั่นก็เพราะบริการของ G-Able ให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจเป็นหลัก แต่บริการเหล่านี้เป็นเหมือน "ผู้ผลักดันและสนับสนุน" ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการดิจิทัลเหล่านั้นได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเปลี่ยนธุรกิจให้เข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น การนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นจึงเป็นหนึ่งในแผนของ G-Able เพื่อขยายการเติบโตในอนาคตด้วย

ปัจจุบัน G-Able สามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจหลักออกได้เป็น 3 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร, กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม และ กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม 

กลุ่มธุรกิจแรก คือการให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร (Enterprise Solution and Services) เป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทกว่า 76% เป็นธุรกิจที่ให้บริการโซลูชั่นทางเทคโนโลยี รวมถึงวางโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้กับธุรกิจอื่น ซึ่งโซลูชั่นเหล่านี้ประกอบด้วย โซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์, โซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์, โซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์, โซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล และ โซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ

กลุ่มธุรกิจที่สอง คือโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution) เป็นธุรกิจตัวแทนจำหน่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง G-Able เป็นตัวแทนหลักในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชั้นนำต่าง ๆ จาก “Oracle” และ “Veritas” โดย “Oracle” เป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการระบบที่ช่วยในการวางแผนธุรกิจ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ERP Enterprise Resource Planning ส่วน “Veritas” เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Protection ที่ช่วยดูแลข้อมูลสำคัญขององค์กร และมีระบบสำรองข้อมูลเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ไม่เพียงเท่านั้น ธุรกิจกลุ่มนี้ยังสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านทาง Application และ Service ของ G-Able เพื่อให้ลูกค้าใช้งาน System ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

และกลุ่มธุรกิจที่สาม คือบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม หรือ Software Platform โดย G-Able เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของตัวเอง และ Spin-off ออกมาเป็นบริษัทในเครือ เพื่อให้บริการในด้านต่าง ๆ

เช่น แพลตฟอร์มด้านการตลาดดิจิทัล (Marketing Technology) แบบครบวงจร โดย บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด (InsightEra), แพลตฟอร์มจัดการข้อมูล Big Data โดย บริษัท เบลนเดต้า จำกัด (Blendata), แพลตฟอร์มบริหารจัดการพื้นที่เช่า โดย บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด (MVerge) นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญด้านการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนถึงตอนนี้ G-Able กลายเป็นเจ้าของที่พร้อมให้บริการ 3 แพลตฟอร์ม รวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มใหม่เพิ่มเติมในอนาคต

ทั้งสามกลุ่มธุรกิจนี้อาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน แต่ถ้าดูดี ๆ จะเห็นว่า แต่ละกลุ่มธุรกิจนั้นช่วยเสริมความแข่งแกร่งของกันและกันได้เป็นอย่างดี 

ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้เอง จึงทำให้ G-Able สามารถรักษาระดับรายได้ไว้ได้อย่างดีแม้จะเจอกับวิกฤตโรคระบาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยการรักษาระดับรายได้ต่อปีประมาณ 5,000 ล้านบาท นับว่าเป็นผลงานที่ดีไม่น้อยเมื่อเทียบกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่บริษัทอื่น ๆ ต้องพบเจอ

สำหรับผลประกอบการในปีล่าสุด บริษัทมีรายได้จากการขายและให้บริการ 4,731.34 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 268.16 ล้านบาทนอกจากนี้บริษัทกำลังอยู่ในช่วงของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตในอนาคต ซึ่งจะมีโอกาสสร้างกำไรอีกมากและหากพิจารณาจากกำไรขั้นต้นที่ 1,003 ล้านบาท จะพบว่าอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 21.20% ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย

แน่นอนว่า อุตสาหกรรมใดก็ตามที่มีการเติบโตสูง หรือมีอัตรากำไรที่น่าดึงดูดใจ ย่อมมีผู้เล่นเข้ามาร่วมวงในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว กลุ่มอุตสาหกรรมโซลูชั่นทางเทคโนโลยีก็เช่นเดียวกัน ยิ่งมีคู่แข่งเข้ามามากเท่าไหร่ การสร้างความโดดเด่นให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคนอื่น ก็นับเป็นเรื่องยากมากขึ้นเท่านั้น

แต่สำหรับ G-Able สิ่งที่ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบที่ยากจะหาใครเทียบได้ก็คือ ความเป็นผู้นำในธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลแบบครบวงจร ตั้งแต่การเป็นตัวแทนจำหน่าย ไปจนถึงการให้บริการต่าง ๆ แบบครบถ้วน ที่สำคัญคือ บริษัทมีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองเพื่อให้บริการกับลูกค้า ซึ่งใน G-Able จะไม่ได้หยุดแค่ 3 แพลตฟอร์มนี้เท่านั้น เพราะด้วยประสบการณ์ของ G-Able ที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 33 ปี ให้บริการแก่ลูกค้ามานับพันราย บริษัทจึงสามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต

ด้วยเหตุนี้เอง G-Able จึงตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ ด้วยจุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อนำเงินทุนที่ได้ไปใช้พัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิมของบริษัทให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น รวมถึงชำระเงินกู้ยืมบางส่วน และนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท โดยคาดว่าจะเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า "GABLE"   ที่ราคาหุ้นละ 6.39 บาท

ติดตามอ่านได้ที่ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=490336&lang=th

บทความนี้เป็น Advertorial