สวัสดีครับ กลับมาพบกับผม กัปตันแมนูไลฟ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนต่างประเทศกันอีกครั้งนะครับ จำได้ไหมว่า ก่อนหน้านี้เราได้พูดกันไปบ้างแล้วว่าประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียน่าลงทุนอย่างไร ? สำหรับวันนี้ผมจะมาเจาะจงเป็นรายประเทศกันต่อนะครับ เพื่อจะได้เห็นกันชัดเจนมากขึ้นว่ามีประเทศไหนกันบ้างที่มองกันว่าน่าจะเป็นอนาคตสำหรับการลงทุนของเอเชียในระยะถัดไปกันครับ

ท่านนักลงทุนทราบมั้ยครับว่า หลายปีก่อนหน้านี้มีประเทศๆ หนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่มีการเปิดประเทศให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาทำธุรกิจภายในประเทศ โดยมีเงินลงทุนจากต่างชาติ (FDI) ไหลเข้าประเทศนั้นอย่างมหาศาล และปัจจุบันยังมีการขยายสาธารณูปโภค รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพของประเทศในวันนี้กับเมื่อ 10 ปีก่อนนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทีเดียวครับ และถ้ายังนึกไม่ออกว่าประเทศนั้นคือประเทศอะไร ผมเฉลยให้ดีกว่าครับ...ประเทศที่ผมมองว่าเป็นอนาคตการลงทุนของเอเชียประเทศนั้นก็คือ...อินเดีย” นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่ทำให้ผมมองว่าอินเดียอาจจะไม่เป็นเพียงแค่อนาคตการลงทุนของเอเชียเท่านั้น แต่อาจจะไปได้ไกลถึงระดับโลก เนื่องมาจากว่า

Infographic Manulife อินเดีย อนาคตของเอเชีย-edit-01

 

1. อินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างประชากรที่แข็งแกร่ง

 

จากข้อมูลการสำรวจประชากรโลกโดย U.S. Census Bureau พบว่าประเทศอินเดียมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก (ประมาณ 1,251.69 ล้านคน) รองจากประเทศจีน (1,367.48 ล้านคน) โดยโครงสร้างประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในช่วงวัยเด็กและวัยแรงงาน นอกจากนี้ อินเดียยังมีประชากรชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนชาวต่างชาติได้เป็นอย่างมาก

Screen Shot 2558-12-22 at 15.26.27

คราวนี้เราลองมาพิจารณาตัวเลข GDP ของอินเดียกันบ้างนะครับ จะเห็นได้ว่าในปี 2014 นั้นประเทศอินเดียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ 2,067 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย และยังสูงเป็นอันดับ 10 ของโลก นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันต่ออีกว่าประเทศอินเดียจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2028 ข้างหน้านี้  

Screen Shot 2558-12-22 at 15.27.32

Source: www.tradingeconomics.com

 

2. อินเดียได้มีการปฏิรูปทั้งโครงสร้างทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ

ปัจจุบัน รัฐบาลอินเดียมีการเร่งปฏิรูปทั้งด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ เช่น ปรับปรุงเส้นทางรถไฟในเมืองต่าง ๆ ระบบขนส่งมวลชน ขยายเครือข่ายโทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ก่อสร้างท่าเรือ การทำถนน และสนามบินเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับการค้าและการลงทุนต่าง ๆ ที่กำลังขยายมากขึ้นในหลายเมืองของประเทศ ไม่เพียงแต่เฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น นอกจากการเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ในส่วนของการปฏิรูปเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดในรัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี (นายกรัฐมนตรี) นั่นก็คือ “Make in India” ที่มีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนในภาคผลิตต่าง ๆ ของประเทศ (ปัจจุบันมี 25 กลุ่มอุตสาหกรรม) ซึ่งอินเดียนั้นต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของโลกในอนาคตนั่นเอง

สำหรับอัตราเงินเฟ้อที่เคยเป็นปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอดีตของอินเดีย ปัจจุบันได้มีการควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ โดยธนาคารกลางของอินเดียได้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับราคาน้ำมันโลกได้ปรับตัวลดลงจึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของอินเดียในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5 จากที่เคยสูงถึงร้อยละ 11.16 ในช่วงปี 2013 ทางด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีแนวโน้มแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้อินเดียสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

Screen Shot 2558-12-22 at 15.29.09

Source: www.tradingeconomics.com

Screen Shot 2558-12-22 at 15.30.07

 

3. หลายปีมานี้ ต่างชาติให้ความสนใจกับตลาดหุ้นอินเดียกันมากขึ้น

 

หลังจากที่อินเดียมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในประเทศรวมถึงผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) จึงทำให้ประเทศอินเดียในปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่มีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนหรือทำธุรกิจกันเป็นอย่างมาก และจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐด้วยนโยบาย "Make in India" ตามที่ผมกล่าวถึงไปบ้างแล้วนั้น นอกจากจะส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ยังทำให้มี Fund flow จากทั่วโลกไหลเข้าตลาดหุ้นอินเดียค่อนข้างมาก และถึงแม้ว่าตลาดอินเดียจะเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มี P/E สูงเมื่อเทียบกับกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ด้วยกัน แต่ก็เป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีอัตราการโตของกำไรต่อหุ้นที่สูงมากๆ เช่นเดียวกันครับ

Screen Shot 2558-12-22 at 15.33.19

ดังนั้นถ้าเป็นระยะยาว หุ้นอินเดียยังถือว่ามีราคาไม่แพงและยังมีศักยภาพในการเติบโตและให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว นอกจากนี้ การมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินและการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงยังส่งผลดีต่อตลาดหุ้นอีกทางแล้วยังทำให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นของนักลงทุนในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นได้ถ้าเทียบกับปัจจุบันที่มีการลงทุนในตลาดหุ้นเพียงแค่ 3% ของสินทรัพย์ที่มีเท่านั้นเอง

เป็นอย่างไรบ้างครับ น่าจะพอได้ข้อมูลที่น่าสนใจไปไม่มากก็น้อยกันแล้วนะครับ อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าประเทศอินเดียยังมีอีกหลายปัจจัยให้ศึกษากันต่อไป หลักสำคัญก็คือการพัฒนาประเทศและทรัพยากรมนุษย์ของเค้าครับ อย่างที่ทราบกันว่า อินเดียมีบุคลากรที่เก่งและมีความสามารถอยู่อีกมากมาย แต่ประเทศจะนำคนเหล่านี้พัฒนาไปได้ไกลขนาดไหนคงต้องรอดูกันต่อไปครับ

ส่วนความเสี่ยงหลักๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงทางการเงินระหว