“Meaning is the new money” คุณค่าและความหมายถือเป็นเงินอีกรูปแบบหนึ่ง คำว่า “Meaning is the new money” ไม่ใช่คำใหม่แต่มีมาก่อนหน้าแล้ว และถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้งในงานของ Harvard Business Review (HBR) หลังจากที่ก่อนหน้าเคยเผยแพร่งานวิจัยด้านนี้มาแล้วเกือบสิบปีก่อนหน้านี้หรือในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2011 

เนื้อหาในบทความระบุว่า ผู้คนยินดีที่จะทำงานที่มีรายได้น้อยลง แต่ถ้าเนื้องานนั้นมีคุณค่า มีความหมายก็สามารถชดเชยรายได้ที่ต่ำกว่าที่เคยยอมรับได้ เพียงแค่ฟังหรืออ่านดูถ้อยความนี้อาจจะให้ความรู้สึกโรแมนติกไปหน่อย แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเหมารวมได้ว่าผู้คนตัดสินงานที่คุณค่าจากเงินได้ทั้งหมด

ก่อนหน้านั้น ชิ้นงานที่เผยแพร่จาก HBR โดย Tammy Erickson เคยพูดถึงประเด็นนี้ว่าเขาทำการศึกษาวิจัยองค์กรต่างๆ ว่าจะรับมืออย่างไรกับความต้องการในศตวรรษ 21 สมมติฐานหลักของโจทย์นี้คือเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนศักยภาพของผู้คนที่ทำงานนั้นๆ ด้วย 

คุณค่าของงานที่ทำ สำคัญเทียบเท่ากับเงิน ความนิยมเช่นนี้ยังไม่ตกกระแส

การทำงานในโลกนี้ช่วงที่เขาทำวิจัยเกือบสิบปีก่อนหน้านั้น ระบุว่า จะมีการขยายความร่วมมือของผู้คนในระดับปัจเจกมากยิ่งขึ้น จะเรียกร้องให้ผู้คนเข้ามาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของงาน และความหมายของ the new money ก็คือสิ่งที่ผู้คนมองหาจากเนื้องาน คุณค่าที่ชัดเจนของบริษัท ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานวันต่อวัน การเกี่ยวพันกันกับเนื้องาน ตลอดจนความสำเร็จที่ได้หลังจากได้ร่วมมือกัน เป็นต้น

ว่ากันตามจริงแล้ว Studs Terkel เคยเขียนหนังสือเรื่องการทำงานที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 1947 แล้ว เนื้อหาหนังสือใกล้เคียงกับความหมายหรือคุณค่าของงานมีค่าเทียบเท่ากับการเงินซึ่งเป็นแรงจูงใจของคนทำงานด้วย เนื้อหาหนังสือไม่ได้พูดถึงเรื่อง “Meaning is the new money” โดยตรง แต่ก็ถือเป็นผลงานที่ฉีกแนวสำหรับยุคนั้น คือการพูดถึงคุณค่าและความหมายของงานที่ผู้คนทำ รวมถึงความรู้สึกที่พวกเขามีต่องานนั้นๆ 

กลับไปที่งานศึกษาของ HBR ที่พูดถึงการให้คุณค่าของงานพอๆกับคุณค่าของเงินนั้น ก็เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว เขาก็พบว่าพนักงานจาก 9 ใน 10 รายนั้นยินดีที่จะทำงานที่สร้างคุณค่าให้กับชีวิตมากกว่าจะเลือกเงินแต่คุณค่าของงานนั้นน้อยกว่า  คุณค่าของงานที่ทำ สำคัญเทียบเท่ากับเงิน ความนิยมเช่นนี้ยังไม่ตกกระแส

เขาได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้คนกว่า 2,000 ราย ก็พบว่า ผู้คนจำนวนร้อยละ 23 หรือประมาณกว่า 400 ราย ยินดีจะทำงานที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความหมายมากกว่าจะเลือกค่าตอบแทน

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจาก the Conference for Women โดย Shawn Achor ที่เป็นทั้งนักเขียน นักพูด และนักจิตวิทยาพบว่า ผู้คนในจำนวนกว่าร้อยละ 80 พอใจที่จะเห็นเจ้านายของตัวเองใส่ใจที่จะทำให้พวกเขาค้นหาคุณค่าและความหมายจากงานนั้นๆ จนประสบความสำเร็จในงานมากกว่าจะจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 

จากการศึกษาพบว่า คนทำงานในอัตราร้อยละ 69 จะไม่คิดวางแผนลาออกจากงานในอีก 6 เดือนถัดไปและจะยังทำงานต่อไปเฉลี่ย 7.4 เดือนหรืออาจจะนานกว่านั้นเมื่อเทียบกับคนทำงานที่ไม่เห็นคุณค่าของงานที่เขาทำ และยังมีการประเมินอีกในส่วนของงบประมาณขององค์กรที่สามารถรักษาคนไว้ได้และมีคนลาออกจากงานน้อยนั้นสามารถรักษาต้นทุนได้มากด้วย

นอกจากนี้ HBR ยังได้ขมวดปมที่ทำให้เห็นภาพว่าองค์กรจะสามารถสร้างคุณค่าให้กับเนื้องานได้ดังนี้ 

  • การทำให้พนักงานรู้สึกถึงความท้าทายในเนื้องานและเห็นโอกาสจากงานนั้น 

  • การสนับสนุนทางสังคมหรือความสัมพันธ์ในองค์กรยิ่งใกล้ชิด ยิ่งทำให้เกิดความผูกพันกับองค์กรและทำให้ความรู้สึกที่มีต่อเนื้องานที่ทำนั้นมีความหมาย 

  • การผลักดันให้คนทำงานมีความรู้และประสบการณ์ บรรดาผู้จัดการทั้งหลายต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนงานที่จะทำให้คนทำงานทำไปด้วยความคิดที่สร้างสรรค์

  • ควรมีการสนับสนุนให้คนทำงานรู้สึกถึงคุณค่าหรือความหมายของงานในทุกระดับ

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว CBSN ก็เคยหยิบงานวิจัยชิ้นนี้มาพูดถึงเช่นกัน ซึ่งก็ตรงกับงานวิจัยอีกชุดหนึ่งของ Alexandra Levit ว่า ความรู้สึกที่ต้องการงานที่ทรงคุณค่าและมีความหมายนี้คือความต้องการของคน Gen Y หรือคนรุ่นมิลเลนเนียลที่เกิดตั้งแต่ปี 1980-1995 

ความต้องการนี้ถูกวิจัยตั้งเกือบสิบปีมาแล้ว แต่ปรากฎว่าในตอนนี้ปี 2018 แล้ว ความรู้สึกที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของงานสำคัญกว่าเม็ดเงินที่ได้รับในแต่ละเดือนนั้นกลับเพิ่มมากยิ่งขึ้นและไม่มีทีท่าว่าจะลดลงง่ายๆ  ที่มา: Harvard Business Review (1), (2)  CBSNEWS Alexasdra Levit

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY Line@ : @aommoney Website : www.aomMONEY.com Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH