“ความเสี่ยง” ถือเป็นคำที่อยู่คู่กับตลอดหุ้นตลอดกาล เพราะความเสี่ยงถือเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ ยิ่งบริษัทเสี่ยง ภาพรวมตลาดเสี่ยง ราคาหุ้นและดัชนีตลาดหลักทรัพย์มักตกต่ำลงมาก จนเป็นโอกาสให้นักลงทุนที่มองเห็นถึงความผิดปรกติเข้าซื้อในช่วงจังหวะที่ราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น

ถ้า “ความเสี่ยง” คือสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ “การกระจายความเสี่ยง” ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

"การกระจายความเสี่ยง" ถือเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่นักลงทุนต้องให้ความสนใจ เพราะการลงทุนที่เสี่ยงมากไปอาจนำมาซึ่งการขาดทุนอย่างถาวรได้ (คิดภาพการถือหุ้นจนถึงวันที่บริษัทล้มละลาย) การกระจายความเสี่ยงจึงถือเป็นอีกเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญอย่างมาก โดยนักลงทุนแต่ละคนต่างมีความคิดที่หลากหลาย เช่น ถือหุ้นกระจายบริษัท ถือหุ้นกระจายอุตสาหกรรม รวมไปถึงถือหุ้นกระจายหลายประเทศ

โดยทั่วไปวิกฤตตลาดหุ้นแต่ละประเทศจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน (ถ้าไม่ใช่วิกฤตระดับโลก)

อย่างในปีค.ศ. 1997 หรือช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET index ตกลงจากจุดยอดที่ 1,789.16 จุดในปี 1994 จนมาทำจุดต่ำสุดในปี 1998 ที่ดัชนี 244.02 จุด หรือเทียบเท่ากับการขาดทุน 86.36% หากเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 1,000,000 บาท ผ่านไป 4 ปี นักลงทุนก็จะเหลือเงินเพียง 136,389 บาทเท่านั้น

แต่หากจะสังเกตในรูปภาพแสดงดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและดัชนี Shanghai Composite ของตลาดหุ้นจีนจะพบว่า นอกจากในปี 1997 ดัชนีทั้ง 2 ตลาดจะไม่ลดต่ำลงแล้ว ยังสามารถพุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ด้วย 

หรือหากจะสนใจที่วิกฤตฟองสบู่ดอทคอมของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะพบว่า ในช่วงปี 2000 – 2002 ดัชนี S&P 500 ตกต่ำลงอย่างมาก จาก 1,552.87 จุดในปี 2000 ลดลงเหลือเพียง 798.63 จุด หรือเทียบเท่ากับผลขาดทุน 48.57% ภายในเวลา 2 ปี แต่ตลาดหุ้นจีนกลับปรับตัวลดลงไม่ถึง 20% ในช่วงเดียวกันเท่านั้น

ประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นความน่าสนใจว่า การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศหรือ "Offshore Investment" ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงมาก

เพราะตลาดหุ้นแต่ละประเทศมักเกิดวิกฤตไม่พร้อมกัน เมื่อเกิดวิกฤตที่ตลาดหุ้นใดตลาดหุ้นหนึ่งในพอร์ตการลงทุน นักลงทุนก็จะไม่ขาดทุนหนักเท่าลงทุนอยู่ในตลาดเดียว แถมยังมีข้อดีในการสามารถปรับพอร์ต โดยการขายเงินลงทุนในตลาดที่ไม่เกิดวิกฤต ไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกในตลาดหุ้นช่วงที่เกิดวิกฤตได้

แต่ละประเทศแต่ละตลาดหุ้นก็มีความน่าสนใจที่แตกต่างกัน

ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาคือทุนนิยมแบบเต็มใบ 

บริษัทอยู่ในตลาดหุ้นหลายพันบริษัท การแข่งขันเป็นไปแบบเสรี ตลาดแข่งขันดุเดือดย่อมนำมาซึ่งผู้ชนะที่แข็งแกร่งและผู้แพ้ที่อ่อนแอและตายไป ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐจึงอยู่ที่นักลงทุนจะได้เห็นบริษัทที่แข็งแกร่งมากและจะแข็งแกร่งไปเรื่อยๆ อีก บริษัทจากอเมริกาจำนวนมากมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก มีประวัติศาสตร์กว่าร้อยปี และมีขนาดกิจการใหญ่กว่า GDP ของไทยทั้งประเทศเสียอีก

ตลาดหุ้นจีนคือการเติบโตแบบสังคมนิยม

รัฐบาลจีนรู้ดีว่าบริษัทในประเทศตนเองเก่งและไม่เก่งอะไร ด้วยความเป็นสังคมนิยม นักลงทุนจึงจะได้เห็นการแทรกแซงจากรัฐแบบชัดเจน อย่างที่แทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นในสหรัฐอเมริกาเลย ประเทศจีนเติบโตอย่างรุนแรงมาตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจจีนในยุคของเติ้งเสี่ยวผิงในปี 1978 GDP ของจีนเติบโตในอัตราสูงประมาณ 10% ทบต้นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างขณะที่เกิดวิกฤตดอทคอม วิกฤตซัพไพรม์ วิกฤตต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจของจีนก็ยังเติบโตต่อไปแบบแข็งแกร่ง

ตลาดหุ้นไทยคือโอกาสที่อยู่รอบตัว

ตลาดหุ้นไทยจัดอยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (EM; emerging market) ถึงแม้ว่าจะไม่มีความสามารถเชิงแข่งขันเท่ากับประเทศใหญ่ๆ แต่จุดเด่นของตลาดหุ้นไทยก็คือเป็นตลาดหุ้นของประเทศเราเอง เราสามารถเห็นโอกาสการลงทุนและความก้าวหน้าของกิจการที่อยู่รอบตัว ยิ่งมองมากสังเกตมาก เราก็ยิ่งมีโอกาสลงทุนในสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น เรามีความได้เปรียบชัดเจนในการรู้ก่อนเห็นก่อน และเข้าใจได้มากกว่า ถ้าเทียบกับการไปลงทุนในตลาดประเทศอื่น

การลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุนรวมถือเป็นตัวเลือกที่แนะนำเป็นอย่างมาก

การลงทุนในหุ้นต่างประเทศรายตัวถือว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงสูง เพราะด้วยปัจจัยที่เราอาจจะไม่สามารถติดตามข้อมูลการลงทุน หรือเข้าถึงกิจการต่างๆ ได้เท่ากับคนที่อยู่ที่ประเทศนั้นโดยตรง การลงทุนผ่านกองทุนรวมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะจะช่วยให้นักลงทุนรายย่อยที่ไม่สามารถติดตามกิจการได้หมดด้วยตนเอง หรือไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในหุ้นต่างประเทศมาก ได้ร่วมลงทุนและกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดหุ้นต่างประเทศได้

อย่างที่กล่าวว่าจุดเด่นของกองทุนรวมคือเหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาและไม่มีความรู้ที่จะลงทุนตรง ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลไม่ชัดในตลาดหุ้นไทย เพราะด้วยที่ข่าวสารอยู่รอบตัว กิจการอยู่รอบตัว หลายครั้งเราก็สามารถลงทุนได้โดยใช้ความพยายามไม่มาก แต่ประเด็นตรงนี้จะหายไปทันทีเมื่อเราลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ เพราะข้อมูลจะไกลขึ้น เข้าถึงยากขึ้น ยิ่งถ้าเราละเลยไม่ใส่ใจ เราอาจจะตัดขาดจากการติดตามกิจการและการลงทุนไปเลย

การลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมอีกทีหนึ่ง คือเรานำเงินไปซื้อกองทุนรวมที่ไปซื้อกองทุนรวมต่ออีกที ประเด็นนี้คือจะทำให้เกิดค่าธรรมเนียมขึ้น 2 ครั้งจากทั้งกองทุนรวมหลักและกองทุนรวมคนกลาง ซึ่งถือเป็นข้อด้อยเมื่อเทียบกับตัวเลือกที่จะไปลงทุนในกองทุนรวมตรงเลย แต่ข้อจำกัดสำคัญคือ ในประเทศไทยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไม่มากที่สามารถเปิดให้นักลงทุน ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศโดยตรงได้

“Citigold คือที่ปรึกษาการลงทุนแห่งเดียวในประเทศไทยที่ลูกค้าสามารถลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศหรือ Offshore ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านกองทุนรวมคนกลาง”

ซึ่งนอกจากช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมแล้ว ตัวเลือกการลงทุนยังมีมากกว่า เพราะกองทุนรวมต่างประเทศหลายกองก็ไม่มีกองทุนรวมคนกลางที่ไปจัดตั้งเปิดให้ลงทุนได้ โดยตัวเลือกการลงทุนก็มาจาก 10 บลจ. ชั้นนำในต่างประเทศ ดังนี้

    1. ALLIANCEBERNSTEIN (LUXEMBOURG) S.A.R.L.

    2. Allianz Global Investors

    3. BlackRock Global Funds

    4. Franklin Templeton Investments

    5. Invesco Asset Management

    6. JP Morgan Asset Management

    7. Legg Mason Global Asset Management

    8. PIMCO Global Advisors (Ireland) Limited

    9. SCHRODER INVESTMENT MANAGEMENT LUXEMBOURG S.A.

    10. UBS Fund Management (Luxembourg) S.A.

แน่นอนว่านักลงทุนไม่ต้องกังวลว่าจะเลือกกองทุนเองไม่ได้เพราะไม่คุ้นเคย

เนื่องจาก Citigold จะมีผู้ดูแลบัญชีที่ได้รับการฝึกจาก Citi | Wharton Global Wealth Institute ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำทั้งในของการจัดพอร์ตและกระจายความเสี่ยงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้

หากใครลงทุนอยู่แล้วหรือสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือกองทุนรวมต่างประเทศก็สามารถเข้าเป็นลูกค้า Citigold ได้โดยฝากเงินหรือลงทุนกับธนาคารซิตี้แบงค์รวม 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งต้องแอบกระซิบว่านอกจากจะได้ประโยชน์จากการมีผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำการลงทุนและซื้อกองทุนรวมต่างประเทศโดยตรงแล้ว ลูกค้า Citigold ก็ยังมีสิทธิพิเศษต่างๆ มากมายในด้านอื่นอีกด้วย

https://www.youtube.com/embed/GJUILnl3JU0

คลิกชม VDO ของคุณสู่ขวัญ บูลกุล แบรนด์แอมบาสเดอร์  Citigold
พูดถึงการลงทุนแบบ “Offshore Investment”

หากใครสนใจให้ทาง Citigold ช่วยดูแลการลงทุนหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนตรงในกองทุนรวมต่างประเทศก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://citi.asia/ThsCcGtL

ขีดเส้นใต้อีกครั้งว่าการลงทุนนี้เหมาะมากสำหรับคนที่กระจายพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศอยู่แล้วหรือสนใจจะกระจายการลงทุนไปต่างประเทศบ้าง ค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากการลงทุนตรงในกองทุนต่างประเทศ โดยไม่ผ่านกองทุนตัวกลาง อาจมีมูลค่าที่เยอะพอสมควรหากนำไปลงทุนทบเข้าไปในพอร์ตการลงทุน

ลงทุนศาสตร์ - Investerest

บทความนี้เป็น Advertorial