สวัสดีนักออมเงินทุกท่านนะจ๊ะ ช่วงที่ผ่านมามีแฟนเพจของอภินิหารเงินออมสอบถามกันเข้ามาบ่อยๆ ว่า ควรที่จะเริ่มออมเงินได้แล้วควรจะทำอย่างไรกับเงินออมก้อนนี้ดีคะ ในขณะที่บางคนแนะนำวิธีการเก็บรักษาเงินออมให้อยู่กับเราไปอีกนานๆ แต่ยังไม่กล้าลงทุนอะไรที่มันมีความเสี่ยงเพราะไม่อยากเห็นเงินต้นที่ได้ลงทุนไปลดลงในแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงทำให้กลัวจนนอนไม่หลับทำใจไม่ได้ และอีกสารพัดคำถามที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า...
ช่วยแนะนำที่เก็บเงินออมให้หน่อยค่ะ/ครับ
ทุกครั้งที่เจอคำถามแนวนี้ก็จะถามแฟนเพจกลับไปทุกครั้งว่า “อยากใช้เงินก้อนนี้ทำอะไร” ในระยะเวลาสั้น กลางและยาว เมื่อเราตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วเราก็ควรนำเป้าหมายมาจับคู่กับวิธีการเก็บเงินให้ตรงกับช่วงเวลาที่เราเลือกไว้ ตัวอย่าง อีก 2 ปี เก็บเงินเป็นค่าดาวน์บ้านจำนวน 200,000 บาท ในขณะเดียวกันก็กลัวความไม่แน่นอนว่า หากตัวเองเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ครอบครัวของเราก็จะต้องมาแบกรับภาระหนี้บ้านต่อไป
นั่นแสดงว่าเงินก้อนนี้ควรเก็บในที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นต้องปลอดภัย หลังจากนั้นเราค่อยเลือกวิธีเก็บเงินให้เหมาะกับเป้าหมายและความเสี่ยงของเรา รวมถึงวิธีคลายความกังวลต่างๆ ทางการเงินด้วย
ทางเลือกในการเก็บเงิน
เคยมั๊ยที่เราเปิด Google Maps แล้วเห็นเส้นทางที่เรากำลังจะไปเป็นสีแดงเข้ม(รถติดสุดๆ) จากนั้นเราก็เริ่มมองหาเส้นทางอื่นเพื่อเลี่ยงรถติด เรามีทางเลือกเพราะมีข้อมูลจาก Google Maps เรื่องผลิตภัณฑ์ทางการเงินก็เช่นกัน ยิ่งเรารู้จักวิธีการเลือกผลิตภัณฑ์หรือการเก็บเงินมากเท่าไหร่ เราก็จะมีทางเลือกในการเก็บเงินมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีช่องทางการเก็บรักษาเงินให้เราเลือกเยอะมาก ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบเข้าใจง่ายๆ เช่น การฝากออมทรัพย์ การฝากประจำ ไปจนถึงที่มีความเสี่ยงสูงที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบซับซ้อน ต้องใช้เวลาศึกษาหาข้อมูล เช่น กองทุนรวม หุ้น ทองคำ อนุพันธ์ เป็นต้น เมื่อเรารู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากขึ้นแล้ว จะทำให้มีทางเลือกในการเก็บรักษาเงินที่ตรงกับเป้าหมายของเรามากขึ้นนะจ๊ะ
ทางเลือกใหม่ในการเก็บรักษาเงินทั้งระยะสั้นและยาว
ในอนาคตเราจะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบต่างๆ มาจับคู่กันออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น อย่าง “บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน Super Fixed” (LH Bank Super Fixed 24M) ที่อภินิหารเงินออมกำลังจะรีวิวอยู่นี้ก็เช่นกัน ซึ่งตอบโจทย์เป้าหมายการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นการจับคู่กันระหว่าง “การฝากประจำและประกันชีวิต” ของธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงแค่นายหน้าประกันชีวิต เท่านั้น เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นทั่วไปให้เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน Super Fixed คืออะไร?
ถ้าเราเข้าไปซื้อของใน 7-11 ช่วงจ่ายเงินที่เคาเตอร์ น้องพนักงานก็มักจะแนะนำโปรโมชั่นใหม่ เช่น ถ้าซื้อขนมปังคู่กับนมยี่ห้อ abc ราคาจะลดเหลือ xx บาท พี่จะรับเพิ่มมั๊ยคะ? ฮึ ฮึ!! ผลิตภัณฑ์ทางการเงินก็ไม่น้อยหน้าเพราะมีแบบนี้เหมือนกันจ้า ทำคู่กันแล้วได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้น คือ บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน Super Fixed ถ้าเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 24 เดือน คู่กับประกันชีวิต LH Bank Life 510
เงินฝากประจำ : รับดอกเบี้ยรายเดือนสูงสุด 2.45%
ประกันชีวิต : รับเงินคืน 6% ทุกปี พร้อมความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 500% และสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ฟังอย่างนี้แล้วหลายคนคงเริ่มสนใจกันแล้วล่ะสิ ถ้าอย่างนั้นเราไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากประจำพิเศษตัวนี้กันหน่อยดีกว่าาต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง เพื่อมาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลที่ควรรู้อภินิหารเงินออมรวบรวมรายละเอียดมาให้แล้ว โดยจะแบ่งให้เห็นกันไปเลยว่าแต่ละผลิตภัณฑ์มีข้อมูลอะไรบ้าง รวมถึงข้อควรระวังต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่าถ้าไม่ทำตามเงื่อนไขจะมีข้อเสียอะไรที่จะเกิดขึ้นบ้างนะจ๊ะ
ภาพรวมของ “บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน Super Fixed”
ผลิตภัณฑ์ที่ 1 บัญชีฝากประจำ 24 เดือน
รายละเอียด
ธนาคารฯ จ่ายดอกเบี้ยรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันโดยอัตโนมัติ (ลูกค้าต้องมีบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารฯเพื่อรองรับการโอนดอกเบี้ยรายเดือน)
เงินฝากระยะเวลา 24 เดือนด้วยเงินก้อนครั้งเดียว
เงินฝากตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป รับดอกเบี้ย 2.40% (อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เราจะได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.04%)
เงินฝากตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป รับดอกเบี้ย 2.45% (อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เราจะได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.08%)
เงินฝากขั้นต่ำ 60,000 บาทขึ้นไป สูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเบี้ยประกัน
การคำนวณภาษีดอกเบี้ยรับเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ข้อมูลเพิ่มเติม
เรื่องดอกเบี้ยที่ถูกหักไปนั้น เราสามารถยื่นขอคืนภาษีได้ แต่ก็ต้องลองคำนวณก่อนว่าถ้านำมารวมยื่นจะเสียภาษีสูงขึ้นหรือไม่ (ถ้าเราฐานภาษีต่ำกว่า 15% ควรนำมารวมยื่น)
ผลิตภัณฑ์ที่ 2 ประกันชีวิต
ก่อนที่จะอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบประกันชีวิต LH Bank Life 510 อยากให้รู้จักแบบประกันชีวิตกันสักนิด เพื่อจะได้เห็นข้อแตกต่างของแต่ละแบบ ซึ่งประกันชีวิตนั้นมี 5 แบบ
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
จุดเด่น : เบี้ยประกันถูก คุ้มครองนานถึงอายุ 90 - 99 ปี
เหมาะกับใคร : ผู้ที่ต้องการได้รับความคุ้มครองระยะยาว สร้างเป็นกองมรดกให้ลูกหลาน
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
จุดเด่น : เน้นสร้างวินัยการออมเงิน รู้แน่นอนว่าได้รับเงินก้อนเท่าไหร่ มีเงินคืนรายปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
เหมาะกับใคร : ผู้ที่ต้องการบังคับให้ตนเองออมเงิน ได้รับความคุ้มครอง
ประกันชีวิตแบบบำนาญ
จุดเด่น: มีเงินคืนรายปีหลังเกษียณ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
เหมาะกับใคร : ผู้ที่ต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณ
ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
จุดเด่น : เลือกแบบประกันให้เหมาะกับตัวเราได้ เช่น เลือกเบี้ยประกันที่จ่าย เลือกทุนประกัน ส่วนเงินที่นำไปลงทุนในกองทุนรวมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง
เหมาะกับใคร : ผู้ที่เข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ พร้อมกับรับความคุ้มครองไปด้วย
เอาล่ะ ตอนนี้เราน่าจะพอเห็นภาพของแบบประกันชีวิตกันมากขึ้นแล้ว แต่ละแบบก็จะเหมาะกับเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งแบบประกันชีวิต LH Bank Life 510 จัดว่าเป็นประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่เน้นสร้างวินัยการออมเงิน รู้แน่นอนว่าในอนาคตเราจะมีเงินคืนและเงินก้อนเท่าไหร่
ความคุ้มครองชีวิตของ LH Bank Life 510
รายละเอียด
อายุรับประกันภัย 1 เดือน - 70 ปี
ไม่ต้องตรวจสุขภาพ (แต่เราก็ต้องบอกความจริงนะจ๊ะ)
เบี้ยประกันชีวิตเริ่มต้นที่ 60,000 บาท สามารถเลือกจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็น รายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน และรายเดือน (หญิงและชายจ่ายเบี้ยประกันเท่ากัน)
ชำระเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 10 ปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท (เฉพาะปีที่จ่ายเบี้ยจำนวน 5 ปี)
สิ้นปีที่ 1 - 9 รับเงินคืนปีละ 6% ของทุนประกัน และ ณ สิ้นปีที่ 10 ได้รับเงินคืน 500% ของทุนประกัน
รวมเงินคืนตลอดระยะเวลา 10 ปี คิดเป็น 554% ของทุนประกัน
เพื่อให้เราเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น มาดูตัวอย่างนี้กันนะจ๊ะ คุณสมหญิง เพศหญิง อายุ 35 ปี ทุนประกัน 1,000,000 บาท เบี้ยประกันปีละ 990,000 บาท
สิ่งที่คุณสมหญิงจะได้รับ
ปีที่ 1 - 9 ได้รับเงินคืน 6% ของทุนประกัน คือ ปีละ 60,000 บาท (มาจาก 1,000,000 x 6%)
ความคุ้มครองชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปีจาก 100% - 500% ของทุนประกัน คือ 5,000,000 บาท
รวมเงินคืนตลอดระยะเวลาทั้งหมด 10 ปี คิดเป็น 554% ของทุนประกัน จำนวน 5,540,000 บาท หักเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมด 4,950,000 บาท เป็นจำนวนเงินผลประโยชน์สุทธิ 590,000 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม
เงินคืนรายปีจากประกันชีวิต ไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายและไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้
เงินแต่ละช่วงเวลามีมูลค่าไม่เท่ากัน อนาคตมูลค่าเงินยิ่งลดลงเรื่อยๆ เช่น อดีตเงิน 100 บาทซื้อข้าวจานละ 25 บาทได้ 4 จาน ปัจจุบันราคาข้าวขึ้นเป็นจานละ 50 บาท เราซื้อข้าวได้แค่ 2 จานเท่านั้น ซึ่งการคิดเงินคืนของกรมธรรม์ตลอด 10 ปีที่ 554% นั้นเพื่อให้เราเข้าใจง่ายๆ เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วเราจะต้องดูที่อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) ซึ่งปัจจุบัน คปภ. ประกาศให้บริษัทประกันเปิดเผยข้อมูลตัวเลข IRR เพื่อให้ผู้ซื้อประกันชีวิตรู้ว่ากรมธรรม์นี้ให้ผลตอบแทนต่อปีกี่ %
เราสามารถคำนวณเองได้เพราะในอินเตอร์เน็ตมีวิธีและเครื่องคิดเลขทางการเงินช่วยคำนวณ จากข้อมูลแบบประกันนี้เงินคืนทั้งหมด 554% ของทุนประกันนั้นมี IRR อยู่ที่ 1.51%
สุดท้ายแล้วก็มีแต่ตัวเราเองเท่านั้นที่จะตอบได้ว่า “เราต้องการออมเงินเพื่อเป้าหมายอะไร” หลังจากนั้นค่อยเลือกวิธีการเก็บเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมายนั้นๆ เพราะ ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละแบบก็มีจุดเด่นและเหมาะกับเป้าหมายที่แตกต่างกัน เช่น
การฝากประจำ เน้นการเก็บเป็นเงินก้อนในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 12 เดือน , 24 เดือน , 36 เดือน
กองทุนรวม หุ้น เน้นการสร้างผลตอบแทนที่เติบโตในระยะยาว (ยิ่งความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง)
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เน้นสร้างวินัยการออมเงิน มีความคุ้มครองชีวิต
ข้อควรระวังที่เราต้องรู้จะได้ไม่เกิดปัญหา
1. การปิดบัญชีหรือถอนก่อนครบกำหนด
การฝากเงินไม่เกิน 3 เดือน ไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก
การฝากเงินตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ธ.จ่ายดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากจริง ในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์บุคคลธรรมดาวงเงินขั้นต่ำสุด และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. ประกันชีวิตจะไม่คุ้มครอง (ไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์) ถ้า…
ผู้ทำประกันชีวิตตั้งใจฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำประกันชีวิต หรือ วันต่ออายุกรมธรรม์ หรือ วันที่กลับคืนสู่สถานะเดิม ของกรมธรรมครั้งสุดท้าย หรือ ถูกผู้รับผลประโยชน์ฆ่าตาย
ถ้าผู้สมัครปกปิดรายละเอียดข้อมูลกับบริษัทประกัน เช่น บอกอายุไม่ตรงตามความจริงเพราะไม่อยากจ่ายเบี้ยสูง (จำนวนเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นจะจ่ายเบี้ยประกันสูงขึ้น) ตอบคำถามสุขภาพไม่เป็นความจริง
3. วิธีการแจ้งยกเลิกบัญชี
แจ้งผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคาร โดยยกเลิกประกันชีวิตได้ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ (เสียค่าธรรมเนียม 500 บาท) เราจะได้รับเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปกลับคืนมา และไม่ได้รับดอกเบี้ยจากการฝากประจำอีกด้วย
สรุปว่า…
อภินิหารเงินออมคิดว่า บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน Super Fixed นั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่ต้องการได้รับเงินก้อน รับดอกเบี้ยสูงแบบรายเดือน หรือ ต้องการสร้างวินัยในการออมเงินโดยใช้ประกันชีวิตเข้ามาเป็นตัวช่วย พร้อมกับได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วยจ้า
การรีวิวของอภินิหารเงินออมขอจบเพียงเท่านี้ หากต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ https://goo.gl/uDMTLB หรือ คุยกับน้องพนักงานที่สาขา LH Bank หรือ ติดต่อ Call Center ที่เบอร์ 02 - 3590000 นะจ๊ะ แอดมินโทรไปแล้วติดต่อได้ง่ายมาก ไม่ต้องกดเลขเยอะหรืออดทนรอสายนานๆ แถมยังให้ข้อมูลแน่นปึกอีกต่างหากจ้า
บทความนี้เป็น Advertorial