เงื่อนไขลดหย่อนภาษี
- ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี เช่น มีรายได้ทั้งปี 500,000 บาท ก็ซื้อเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 75,000 บาท
- ซื้อเมื่อไหร่ เงินก้อนนั้นต้องถือไม่ต่ำกว่า 7 ปี (โดยนับแบบปีชนปี คือไม่ว่าจะซื้อวันไหนของปี ถ้าเป็นปีถัดไป ก็ถือว่าถือมาแล้ว 1 ปี) ห้ามขายก่อน 7 ปี
- ซื้อปีไหน ใช้เงินก้อนนั้นลดหย่อนปีนั้น ไม่ต้องซื้อทุกปี
เงื่อนไขลดหย่อนภาษี
- ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่เมื่อรวมเงินที่ซื้อ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญ (ถ้ามี) รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องซื้อทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี ไม่ต่ำกว่าปีละ 3% ของรายได้รวมทั้งปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่า) อย่างน้อย 5 ปี (โดยนับแบบวันชนวัน คือถ้าซื้อวันไหนของปี จะนับเป็น 1 ปีเมื่อถึงวันนั้นของปีถัดไป) จนถึงอย่างน้อยอายุ 55 ปี (ห้ามขายก่อน)
คราวนี้เรามาดูสินค้าในฝั่งของประกันกันบ้างครับ
คนส่วนใหญ่เองก็ชอบถามว่า ระหว่าง ประกัน กับ กองทุน เราจะเลือกอย่างไรดี
ซึ่งผมขอบอกว่าอย่างนี้ครับ กองทุน กับ ประกันนั้น มีหน้าที่ต่างกันครับ อย่าเอามารวมกันนะครับ กองทุนมีหน้าที่ในการลงทุนเพื่้อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้กับเราครับ
แต่ถ้าหากต้องการความคุ้มครองไม่ว่าจะเป็นหลังจากที่เราจากโลกนี้ไปเพื่อป้องกันให้คนข้างหลังจะไม่ลำบากได้ หรือว่าในช่วงที่เราป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็จะไม่ได้มาเป็นภาระให้กับเราก็ควรที่จะทำประกันไว้ครับ ลองคิดดูสิครับ หากเราเน้นแต่เรื่องลงทุน หากเกิดอุบัติเหตุหรือต้องเข้าโรงพยาบาล และหากไม่ได้มีประกันสุขภาพ หรือว่าประกันชีวิตไว้เลย เราก็ต้องขายกองทุนที่เราลงทุนไปออกมาเพื่อจ่ายค่ารักษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น บางครั้งกองทุน LTF / RMF ก็ยังขาดทุนอยู่เลย หรือบางครั้งไม่ครบกำหนดเวลาก็ต้องขายก่อน ทำให้เราผิดเงื่อนไขซึ่งก็ต้องคืนภาษีที่ลดหย่อนไป และก็ยังมีค่าปรับด้วยนะครับ ดังนั้น เราเองก็ควรที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงไว้ด้วยนั่นเองครับ เห็นไหมครับว่าประกันเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันครับ ในปัจจุบันเองสินค้าประกันเหล่านี้ก็พัฒนาตัวเองไปมากๆ เลยครับ ซึ่งผมจะขออนุญาตเล่าให้ฟังถึง ประกันที่เป็นรูปแบบใหม่ๆ ที่จะมาช่วยในการวางแผนการเงิน และภาษีไปพร้อม ๆ กันครับซึ่งพระเอกของเราก็คือ Krungthai-AXA
โดยแบ่งเป็น iRetire iShield & iHealthy
iShield (ประกันชีวิตแบบคุ้มครองชีวิต และ โรคร้ายแรง)
ประกันชีวิต คือ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงชนิดหนึ่ง ที่จะจ่ายเงินให้คนที่อยู่ข้างหลังตามวงเงินที่เราทำไว้ เมื่อเราเสียชีวิต หรือจ่ายเงินให้เรา ระหว่างที่อยู่ในระยะเวลาคุ้มครองและอยู่จนครบสัญญา แล้วแต่ประกันชีวิตแต่ละประเภท โดยที่ประกันชีวิตแบบทั่วไป ได้แก่ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา แบบสะสมทรัพย์ และแบบควบการลงทุน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันตามความจำเป็นหรือความต้องการ เงื่อนไขลดหย่อนภาษี- ลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่าย แต่รวมทุกแบบ ทุกกรมธรรม์แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- เฉพาะแบบที่มีระยะเวลาสัญญาความคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 10 ปีเท่านั้น
- ต้องจ่ายเบี้ยไปตลอดชีวิตครับ
- อายุมากขึ้นต้องจ่ายมากขึ้น
- จ่ายแล้วทิ้งเงินไปเปล่า ๆ เลย
- เลือกเวลาในการจ่ายได้ เช่น 5 ปี 10 ปี ฯลฯ
- ดอกเบี้ยคงที่
- ครบกำหนดสัญญามีเงินคืนให้
iRetire ประกันชีวิตแบบบำนาญ
คือประกันชีวิตที่มีทั้งความคุ้มครองชีวิต ผลตอบแทนคืนให้ระหว่างสัญญา เช่นเดียวกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แต่ต่างกันที่ประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีผลตอบแทนคืนให้เป็นประจำเท่ากันทุกปี ตั้งแต่ช่วงอายุหลังเกษียณ (55 , 60 หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกัน) ไปจนกว่าจะครบสัญญา เงื่อนไขลดหย่อนภาษี ซื้อเท่าไหร่ก็ได้ แต่นำค่าเบี้ยไปลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมเงินที่ซื้อ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF (ถ้ามี) รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งถ้าเป็นประกันบำนาญแบบเดิมๆ ที่เราเจอะส่วนใหญ่จะต้องจ่ายเบี้ยยาวๆ ไปครับ บางครั้งก็จนถึงอายุ 55 ปีเลยครับ แต่ในปัจจุบันถ้าหากเราเราเลือกซื้อ iRetire ก็สามารถเลือกที่จะจ่าย 1 ปี หรือ 5 ปี แบบสั้น ๆ ก็ได้ (นี่ก็เลือกได้อีกแล้วครับ)
สุดท้ายก็คือ iHealthy (ประกันสุขภาพ)
ประกันสุขภาพ คือ เครื่องมือที่ใช้คุ้มครองความเสี่ยงของค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยที่ถ้าหากเราตรวจพบโรค หรือเจ็บป่วยจากอาการที่เป็นไปตามเงื่อนไข บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินชดเชย หรือวงเงินคุ้มครองให้ ไม่เกินตามที่แผนประกันกำหนด ทำให้เราอุ่นใจได้ว่า หากเจ็บป่วย หรือต้องเข้าโรงพยาบาลฉุกเฉิน จะมีบริษัทประกันมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแพงๆ แทนเราให้ ไม่ต้องห่วงว่าจะมาสร้างผลกระทบกับเงินออมของเรานั่นเอง
เงื่อนไขลดหย่อนภาษี
- ซื้อเท่าไหร่ก็ได้ แต่นำค่าเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนได้รวมกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ใช้ลดหย่อนได้เฉพาะความคุ้มครองที่เกี่ยวกับลักษณะดังต่อไปนี้
- การรักษาพยาบาล หรือการชดเชยกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะจากการเจ็บป่วย
- การรักษาพยาบาล หรือการชดเชยกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ กระดูกแตกหัก จากอุบัติเหตุ
- ความคุ้มครองโรคร้ายแรง
- ความคุ้มครองโรคระยะยาว
วันนี้ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ
บทความนี้เป็น Advertorial