"ตราสารหนี้" ถือเป็นอีกสินทรัพย์ที่อยู่ในความสนใจของตลาดอยู่เสมอ
ตราสารหนี้ หรือ Bond ถือเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจักรวาลของการลงทุน โดยลักษณะกลไกของตราสารหนี้เหมือนกับการที่นักลงทุนรายย่อยนำเงินไปให้ผู้ออกตราสารกู้ และผู้ออกตราสารจะให้ผลตอบแทนนักลงทุนคืนมาในรูปของดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา และคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด หากนักลงทุนให้รัฐบาลกู้ (รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารหนี้) ตราสารหนี้ก็จะเรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาลอย่างที่เราคุ้นเคยกัน แต่ถ้านักลงทุนให้เอกชนกู้ (เอกชนเป็นผู้ออกตราสารหนี้) ตราสารหนี้ก็จะเรียกว่าตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ ตามแต่ลักษณะและเงื่อนไขปลีกย่อย
ทำไมตราสารหนี้จึงน่าลงทุน?
ตราสารหนี้ ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ มีความมั่นคงค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในตราสารทุน ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้หลักคือดอกเบี้ย (coupon) ซึ่งจะเป็นไปตามอัตราและระยะเวลาที่ระบุไว้ และโอกาสในการรับกำไรจากผลต่างราคา ตราสารหนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงในผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ตราสารหนี้ยังก็เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้กระจายความเสี่ยง ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลที่มีความมั่นคงถูกเรียกได้ว่าเป็นสินทรัพย์ไร้ความเสี่ยง (risk free assets) เลยทีเดียว เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบในเงินที่กู้มาอยู่ดี
แบบนี้อยากลงทุนตราสารหนี้ แต่อยากได้ผลตอบแทนสูงขึ้นได้ไหม?
คำตอบคือ “ได้แน่นอน” แต่นักลงทุนจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น อย่างแรก ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าจะให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ (ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน) โดยทั่วไปจะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล (ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ) เพราะเอกชนถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่า ดังนั้น ถ้านักลงทุนมองภาพความเสี่ยงของผู้ออกตราสารได้ชัดเจนก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนสูงขึ้นได้ เช่น เลือกลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่มีความมั่นคงสูงมาก เป็นต้น
อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้คือการจับจังหวะตลาดตราสารหนี้ในการลงทุน ถึงแม้ว่าตราสารหนี้จะไม่ได้มีความผันผวนสูงอย่างหุ้น แต่ตราสารหนี้ก็มีการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดรองเช่นเดียวกับหุ้นในตลาดหุ้น ดังนั้น การสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกวิธีหนึ่งคือการเลือกลงทุนในตราสารหนี้พื้นฐานดีที่มีแนวโน้มจะราคาสูงขึ้นในอนาคต อย่างเช่น ในประเทศที่ดอกเบี้ยนโยบายเป็นขาลง ราคาตราสารหนี้มักจะเป็นขาขึ้น เนื่องจากนักลงทุนหันมาซื้อตราสารหนี้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการฝากเงินธนาคาร เป็นต้น
หากฟังดูยากเกินไป...ก็สามารถเลือก "SCBINC" เป็นตัวช่วยได้
"SCBINC" หรือ SCB Income Fund เป็นกองทุนรวมผสมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ รวมไปถึงสินทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นลงทุนต่อในกองทุน PIMCO GIS Income Fund เป็นกองทุนรวมที่กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก อาทิเช่น พันธบัตร หุ้นกู้เอกชน และ Securitized asset บริหารโดยทีมจัดการลงทุนชั้นนำ ที่มีประสบการณ์การลงทุนยาวนาน ครอบคลุมการลงทุนหลากรูปแบบทั่วโลก
อย่างที่เล่าว่า "การสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นด้วยตราสารหนี้ต้องใช้ความเข้าใจในผู้ออกตราสารกับดอกเบี้ยที่เหมาะสม การกระจายความเสี่ยง และความเข้าใจในตลาดตราสารหนี้แต่ละประเทศ"
ซึ่ง SCBINC จะมาช่วยตรงนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม สร้างผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนในตราสารอย่างใดเพียงอย่างเดียว
ผลตอบแทนของ PIMCO GIS Income Fund เทียบกับ Benchmark
(ที่มา PIMCO ณ 30 พฤศจิกายน 2560)
จากผลตอบแทนย้อนหลังของ PIMCO GIS Income Fund ที่ SCBINC เลือกไปลงทุนก็พบว่า สามารถเอาชนะ Benchmark ได้ดี แถมยังได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจาก Morningstar อีกด้วย
ประวัติการจ่ายเงินปันผลตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
อีกหนึ่งบทพิสูจน์ความสำเร็จในการบริหารงานของกองทุน เมื่อพิจารณาจากประวัติการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอของกองทุน
"SCBINC" กำลังจะเปิด IPO ให้ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกในวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ ซึ่งหากนักลงทุนมีความสนใจในการลงทุนในตราสารหนี้ที่กระจายความเสี่ยงไปทั่วโลกก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของกองทุนรวมเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่ https://www.scbam.com/medias/campaign/2018/scbinc/scbinc.html
ตราสารหนี้ทั่วโลก ถือเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความซับซ้อนสูง เพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยมหภาคและนโยบายทางการเงินของแต่ละประเทศค่อนข้างมาก การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ทั้งในแง่ของการมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลติดตามให้ รวมไปถึงขนาดของเงินที่เริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วงเงินไม่มาก อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไปอาจเริ่มต้นลงทุนที่เงินหลักพัน
แต่ถ้านักลงทุนอยากลงทุนเองในตราสารหนี้ทั่วโลกอาจต้องใช้เงินขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทถึงจะลงทุนได้ แถมยังอาจจะมีประเด็นกฎหมายยิบย่อยมากมายเต็มไปหมดที่การลงทุนในกองทุนรวมจะแก้ปัญหาตรงนี้ให้หมดเลย
ฝาก "SCBINC" เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการตัดสินใจลงทุนด้วย (ฝากกันดื้อๆ อย่างนี้แหละ คนกันเอง อิอิ)
บทความนี้เป็น Advertorial