SMEs

 

SMEs 101: เริ่มต้นธุรกิจ ง่ายๆด้วย 6 ขั้นตอน

พอพูดถึง SMEs ใครๆก็คิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว ตอนนี้ใครๆก็หันมาให้ความสนใจกับ Startup กันหมด ซึ่งความจริงแล้วหลายๆคนยังเข้าใจคอนเซปท์ของ Startup คลาดเคลื่อนไป เพราะทุกคนคิดว่า SMEs คือร่างแปลงของ Startup นั่นแหละ!!! แต่ที่จริงแล้ว SMEs กับ Startup มีความแตกต่างกันพอสมควร เริ่มที่ขนาดกันก่อน ขนาดของธุรกิจนั้นถ้าให้เปรียบเทียบกันขนาดของธุรกิจ SMEs จะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของธุรกิจ Startup ที่อาจจะเริ่มต้นจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ข้อแตกต่างต่อมาก็คือแนวคิด ธุรกิจ SMEs จะมีแนวคิดเกี่ยวการพัฒนาหรือต่อยอดจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ในขณะที่ Startup นั้นจะเน้นที่การสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Grab, Uber เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่างๆที่มีอยู่ ข้อแตกต่างสุดท้ายคือ SMEs นั้นใช้เทคโนโลยีเดิมที่มีเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ Startup นั้นเน้นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อนเพื่อสร้างสินค้าและผลิตภัณฑ์

และเมื่อเหล่ามนุษย์เงินเดือนอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง ก็น่าจะเลือกทำธุรกิจที่เราเองมีความถนัดและยิ่งถ้าเราไม่ใช่สายเทคโนโลยีล่ะก็ ธุรกิจ SMEs คือคำตอบสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆให้มีโอกาสที่เริ่มต้นทำธุรกิจในแบบของเราเอง

 

  1. เริ่มต้นหาไอเดียสร้าง Product
    แน่นอนว่าถ้าเราต้องการขายผลิตภัณฑ์ (Product) สักอย่าง เราก็ต้องรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราคืออะไร หรือมีบริการอะไรที่คนต้องการ อาจจะหาไอเดียจากสิ่งที่เรามีความรู้มาก่อนหรือว่าลองเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราอยากทำมาตลอดก็ได้ แม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะยังไม่เคยมีคนทำมาก่อนเพราะไม่มีคนประดิษฐ์ขึ้นมา

    สิ่งต่อมาที่เราควรคิดก็คือชื่อของบริษัท ซึ่งชื่ออาจจะเป็นชื่อที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เพราะยิ่งธุรกิจเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ ชื่อบริษัทก็สามารถเปลี่ยนให้ชัดเจนและสื่อถึงผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่เราควรคิดถึงเวลาตั้งชื่อบริษัทมีวิธีการจำคือ ชื่อบริษัทควรมี ‘2 ง่าย’ นั่นคือ จำง่าย และ เข้าใจง่าย

  2. วาดแผนการตลาด
    ขั้นตอนหลังจากที่เราตัดสินใจเกี่ยวกับไอเดียสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แล้ว ต่อมาเรื่องที่ต้องทำให้เรียบร้อยคือเรื่องของการเขียนแผนธุรกิจ เพราะการเขียนแผนธุรกิจจะช่วยให้เรารู้ว่าขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำเพื่อให้ธุรกิจของเราดำเนินต่อไปได้คืออะไร การเขียนแผนธุรกิจนั้นยิ่งเขียนรายละเอียดมากเท่าไหร่ยิ่งดีต่อธุรกิจของคุณมากขึ้นเท่านั้น ตั้งแต่ลักษณะของธุรกิจ, ลักษณะของบริษัท ไปจนถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ของคุณ รวมทั้งข้อดีและข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นๆเพื่อใช้เปรียบเทียบกับบริษัทที่เป็นคู่แข่งของคุณ

    เมื่อได้แผนและมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือหา feedback เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา เริ่มจากคนใกล้ตัวอย่างญาติหรือเพื่อนๆก็ได้ เพราะคนเหล่านี้จะให้ความเห็นได้อย่างเร็วที่สุดและเมื่อเราได้ feedback กลับมาก็นำไปใช้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นแล้วก็ออกหา feedback วนกลับไปมาจนกว่าจะได้ผลงานที่ดีที่สุด

  3. วางแผนเรื่องการเงิน
    ขอให้คิดอยู่เสมอว่าเงินสำหรับการทำธุรกิจก็เหมือนกระแสเลือดสายสำคัญในร่างกายของเรา ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่างบที่เราใช้สร้างธุรกิจนั้นควรมีเราเท่าไหร่ หากเงินที่นำมาใช้ทำธุรกิจนั้นคือเงินที่มาจากการเก็บออม เราไม่ควรนำเงินออมทั้งหมดมาใช้ลงทุน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง หากนำเงินที่มีทั้งหมดมาลงทุน แล้วผลตอบแทนธุรกิจไม่ได้ตามที่หวังอาจจะทำให้สูญเสียเงินทั้งหมดไปได้

  4. หา Partner ที่วางใจได้
    เพราะการทำธุรกิจการมีหุ้นส่วนนั้นช่วยแบ่งเบาภาระที่เราต้องลงทุนไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบต่างๆหรือทรัพยากรอื่นๆ นั่นทำให้การคัดเลือกหุ้นส่วนสำคัญมาก เพราะคนที่จะมาร่วมทำธุรกิจนั้นต้องเห็นภาพรวมของธุรกิจที่ทำอยู่ในแบบเดียวกับที่เราเห็น คือแผนในการดำเนินธุรกิจควรจะเป็นภาพเดียวกัน หากเห็นภาพต่างกันหรือขัดแย้งกันย่อมไม่อาจทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้

  5. ศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับ SMEs แบบรอบด้าน
    หาที่ปรึกษาด้านกฎหมายสำหรับคอยให้คำปรึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจหรือแม้แต่กฎหมายด้านภาษีเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้หากเราได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยก็จะทำให้การดำเนินงานทำได้ง่ายขึ้น และอีก 1 เรื่องที่ควรทำคือ การเปิดบัญชีสำหรับเงินที่เป็นผลประกอบการเท่านั้น เราไม่ควรนำเงินมาใส่บัญชีส่วนตัวเพราะนั่นทำให้การจัดระบบบัญชีไม่แบ่งแยกชัดเจนและนั่นเป็นสาเหตุที่หลายบริษัท SMEs ต้องปิดตัวลงเพราะการไม่แบ่งแยกบัญชีให้ชัดเจน ไม่แบ่งว่าบัญชีไหนคือผลประกอบการทำให้เราไม่รู้ว่าเงินผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้นได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่

  6. เปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคุณ
    แน่นอนว่าการวางแผนเปิดตัวผลิตภัณฑ์นั้น เริ่มต้นจากการหาพื้นที่สำหรับจัดวางขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ คุณควรแบ่งส่วนพื้นที่ให้ชัดเจนว่าส่วนในคือสำนักงาน  และส่วนไหนคือส่วนที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์ และส่วนไหนสำหรับการพักผ่อน อย่าลืมตรวจสอบกฎหมายให้ดีด้วยเพราะธุรกิจบางประเภทไม่อนุญาตให้ดำเนินการภายในที่อยู่อาศัยได้ และตรวจสอบการติดต่อต่างๆภายในสำนักงานว่าสามารถใช้ได้ตามปกติ เพราะนั่นช่วยให้เราสามารถติดต่อกับลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์ของเราโดยตรงได้



SMEs เริ่มต้นง่ายๆ

 

วิธีการสร้างธุรกิจ SMEs แม้ว่าจะเริ่มต้นไม่ยากแต่ศิลปะในการบริหารงานนั้นเป็นเรื่องของประสบการณ์และศิลปะในการบริหารของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เหมือนกัน ซึ่งหากคุณสนใจเรื่องราวของการทำ SMEs ยังไงให้ประสบความสำเร็จทาง Money Ideas ขอนำเสนองานสัมนาดีๆที่งาน "New Gen SME จับจุดค้าปลีก 4.0" งานดีๆ ที่จัดขึ้นโดย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เซเว่น อีเลฟเว่น สมาคมการค้าปลีกและเอสเอ็มอีทุนไทย งานนี้มีทั้ง SMEs ตัวจริงที่ขายสินค้าผ่านร้านเซเว่นฯ และสสว. มาอยู่ในงานเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “กลยุทธ์การตลาดดิจิตอลสำหรับ SME” ที่ได้ Digital Agency ชื่อดังมาแชร์เทคนิคให้ฟังกัน บอกได้คำเดียวว่า SMEs ห้ามพลาด!

พบกันวันพฤหัสบดีที่ 27 เม.ย. นี้  ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ เวลา 13.00-17.00น. งานนี้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ  สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ 091-0047651 หรือลงทะเบียนออนไลน์ที่เว็บ http://www.cpall.co.th/inform/new-gen-sme/  งานนี้ ฟรี ฟรี ฟรี!

 

บทความนี้เป็น Advertorial