ในช่วงปลายปีแบบนี้ หลายคนคงอยากได้มุมมองทางด้านเศรษฐกิจสำหรับช่วยตัดสินใจเลือกกองทุนเพื่อลงทุน บทความนี้จึงรวบรวมมุมมองที่น่าสนใจและกองทุนที่น่าลงทุนมาเล่าสู่กันฟังครับ โดยสรุปมาจากรายการกองทุนไหนดี ? ที่ได้แขกรับเชิญคนพิเศษอย่างคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์, CFA ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี มาพูดคุยกันในประเด็นนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องบอกว่ามีประเด็นทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ 3 ประเด็นที่เราต้องติดตามกันต่อไป และคาดว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในช่วงเวลานี้ ซึ่งได้แก่

  1. ปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อพื้นฐานยังมีระดับที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากภาพตลาดแรงงานของอเมริกาในตอนนี้ แต่อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงแบบช้า ๆ
  2. นโยบายของ FED ที่มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยอยู่ เพียงแต่จะขึ้นในอัตราและระยะเวลาที่ช้าลง
  3. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าเดิม แต่ในครั้งนี้อาจจะเป็นระดับอ่อน ๆ เนื่องจากระดับหนี้ของอเมริกาค่อนข้างน้อยกว่าที่ผ่านมา

ซึ่งเราอาจจะเรียกรวม ๆ ทั้งหมดนี้ว่ามันเป็นสถานการณ์ Stagflation ซึ่งในมุมการลงทุนที่ผ่านมา จะเห็นว่ากลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) อันดับ 1 ที่ทาง Fund Manager ทั่วโลกยังคงให้ความสนใจ คือ กลุ่ม Healthcare และไม่ใช่แค่ทาง Fund Manager เท่านั้นที่สนใจ ตัวนักลงทุนส่วนใหญ่ก็สนใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากสาเหตุดังนี้

  1. ความสามารถในการสร้างกำไร (EPS) เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีกำไรเป็นบวกอยู่ ถึงแม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ถดถอย (Recession) มาถึง 6 ครั้ง และแม้จะเกิดการเทขายทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ลดลง แต่ก็ยังคงมีความสามารถในการสร้างกำไรอยู่ ซึ่งหนึ่งจุดสำคัญ คือ ความสามารถในการขึ้นราคาของบริการทางด้าน Healthcare ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำไรเติบโตไม่ว่าจะมีสภาวะเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม โดยจะเห็นได้จากช่วงโควิดที่ผ่านมา
  2. ปัจจัยที่น่าสนใจอย่าง Aging Society หรือ สังคมผู้สูงวัย ซึ่งในจุดนี้นวัตกรรมต่าง ๆ ของ Healthcare ค่อนข้างมีโอกาสเกิดขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นยาประเภทใหม่ ๆ หรือ การอนุมัติการใช้ยาที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายการควบคุมราคายาที่เกิดขึ้นเสมอในช่วงการเลือกตั้งของอเมริกา ที่ดูเหมือนจะเบาบางลงไปเช่นเดียวกัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มอุตสาหกรรมนี้

ดังนั้นภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรม Healthcare จึงน่าสนใจและมีโอกาสเติบโตได้อยู่ ซึ่งกองทุนที่ทาง บลจ. กรุงศรี แนะนำก็คือกลุ่ม KFHEALTH ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JPMorgan Funds - Global Healthcare Fund ที่มีนโยบายเน้นการลงทุนใน กลุ่มธุรกิจ Healthcare ที่มี Innovation และสร้างโอกาสเปิดตลาดใหม่ ๆ ได้ โดยทีมผู้จัดการกองทุนที่แข็งแกร่งถึง 4 คน และหนึ่งในนั้นเป็นแพทย์ที่มีความรู้เรื่องอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่ามีความเชี่ยวชาญและชำนาญในการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว

พอร์ตการลงทุนของกองทุนนี้จะเน้นในส่วนที่มีโอกาสมากกว่า ในอุตสาหกรรมย่อย ๆ (Sub Sector)  ดังนั้นสัดส่วนการลงทุนในแต่ละหมวดอาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่เน้นการปรับพอร์ตในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนเมื่อเปรียบเทียบกับทางตลาดโดยรวมค่อนข้างดี ถึงแม้ว่าตอนนี้สถานการณ์อาจจะดูเหมือนติดลบอยู่ แต่ถ้าหากมองในระยะยาว 5 ปี ก็จะเห็นว่าผลตอบแทนนั้นยังเป็นบวกอยู่

สำหรับคำถามที่หลายคนอยากรู้ว่า กองทุนนี้เหมาะกับใคร ต้องบอกว่าเหมาะกับคนที่สนใจกลุ่มธุรกิจนี้ โดยมีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กองทุน KFHEALTH (ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน) หรือ KFHHCARE (ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน) ส่วนใครที่สนใจกองทุนประหยัดภาษี ก็จะมี KFHCARERMF ให้เลือกลงทุนได้เช่นเดียวกัน (ซึ่งกองทุน RMF ไม่มีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม Front end 1.5%) และสามารถเริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 500 บาท

นอกจากกลุ่ม HEALTHCARE แล้ว อีกกลุ่มที่น่าสนใจ คือ เวียดนาม ซึ่งในตอนนี้ดูเหมือนว่าจะมีปัจจัยลบอยู่ แต่ถ้าพิจารณาเรื่องของปัจจัยลบ เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง พบว่ามี 3 ประเด็น คือ

  1. ค่าเงิน DONG (VND) ที่อ่อนค่าลง แต่เป็นผลมาจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
  2. การปรับขึ้นดอกเบี้ย 2% ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อจัดการเรื่องค่าเงินที่อ่อนค่า
  3. ทางเวียดนามมีนโยบายการปราบปรามคอร์รัปชัน การปั่นหุ้น หรือออกอสังหาแบบผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งในระยะกลางดูเหมือนจะเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้น แต่ส่งผลดีต่อระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งของปัจจัยบวกก็มีเช่นเดียวกัน ถ้ามองในมุมของการเติบโตเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเร็ว และมีโอกาสเติบโตระยะยาวจากชนชั้นกลาง รวมถึงการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของประชากรที่เป็นหนุ่มสาว รวมถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการที่ย้ายฐานการผลิตมาเวียดนาม ทั้งยังมี FTA (การยกเว้นภาษี) ที่เป็นจุดแข็งของเวียดนามในตอนนี้

นอกจากนั้น ถ้าหากเรามองไปที่กำไรที่เกิดขึ้น ทางตลาดเวียดนามยังมีการเติบโตของกำไร (Earning Growth) ประมาณ 20% ในปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดจะปรับตัวลงมาก็ตาม ซึ่งส่งผลให้ P/E ของตลาดอยู่ที่ 9 กว่า ๆ เท่านั้น

  • โดยกองทุนของทาง บลจ.กรุงศรี ที่แนะนำนั้น มีทั้ง กองทุนเปิดอย่าง KFVIET มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ ดังนี้ JPMorgan Vietnam Opportunities Fund สัดส่วนการลงทุนไม่เกิน 79% ของ NAV
  • Lumen Vietnam Fund ประมาณ 0% - 30% ของ NAV
  • Xtrackers FTSE Vietnam Swap UCITS ETF ประมาณ 0% - 30% ของ NAV

โดยในปัจจุบัน กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนใน JPMorgan Vietnam Opportunities Fund ประมาณ 70% ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ กองทุน Lumen Vietnam (หุ้นขนาดกลางและเล็ก) ประมาณ 15% และ Xtrackers ETF อีกประมาณ 15% โดยกองทุนนี้มีการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงินด้วยเช่นกัน

สำหรับกองทุน KFVIETSSF / KFVIETRMF มีนโยบายลงทุนในกองทุน KFVIET-I  โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

อย่างไรก็ตามนอกจากกองทุนที่กล่าวมา สำหรับกองทุนกลุ่ม SSF/RMF ที่หลายคนกำลังมองหาเพื่อสิทธิลดภาษี บลจ.กรุงศรี ยังมีกองทุนอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • KFAFIXSSF/ KFAFIXRMF เป็นกองทุนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่กล้าลงทุนในหุ้น สามารถเลือกลงทุนในกลุ่มนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าได้
  • KFGBRANSSF/ KFGBRANRMF เน้นลงทุนหุ้นสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่มีแบรนด์แข็งแกร่ง มีลูกค้าซื้อใช้ประจำ ถือเป็นหุ้นกลุ่ม Defensive Quality ที่ไม่ผันผวนไปตามตลาด และมีความสามารถทำกำไรสูง
  • KFESGSSF/ KFESGRMF ลงทุนในธีม ESG เป็นธีมใหญ่ของโลก เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตแบบยั่งยืน Sustainable Growth ที่สม่ำเสมอ และมีโอกาสเติบโตในระยะยาว

สรุปสุดท้ายแล้ว ภาพรวมของการลงทุนที่ดีในช่วงนี้ คือ มองไปที่สินทรัพย์ที่มีความสามารถชนะเงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยได้ เน้นไปที่หุ้นที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Defensive หรือ Healthcare และมองไปยังหุ้นมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคตอย่างเวียดนาม และถ้าหากใครไม่ชอบความเสี่ยง ก็อย่าลืมการกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ควรเลือกให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เรารับได้และผลตอบแทนที่เราคาดหวังนั่นเองครับ

และที่สำคัญใครสนใจวางแผนลดหย่อนภาษีในช่วงนี้ ก็อาจจะเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีมาเป็นตัวช่วยในการลงทุนระยะยาวตามเป้าหมายของเรา ไม่ว่าจะเป็น SSF หรือ RMF  ได้เช่นเดียวกัน

สอบถามเพิ่มเติมพร้อมขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่บลจ.กรุงศรี โทร. 02-657-5757 หรือ www.krungsriasset.com  หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม | RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ

ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

KFHEALTH / KFHHCARE / KFHCARERMF

ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ JPM Global Healthcare Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV

ระดับความเสี่ยง 7 - เสี่ยงสูง

KFHHCARE

ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน

KFHEALTH / KFHCARERMF

ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ I กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน

KFVIET

ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ JPMorgan Vietnam Opportunities Fund สัดส่วนการลงทุนไม่เกิน 79% ของ NAV, Lumen Vietnam Fund ประมาณ 0% - 30% ของ NAV และ Xtrackers FTSE Vietnam Swap UCITS ETF ประมาณ 0% - 30% ของ NAV

ระดับความเสี่ยงกองทุน 6 : เสี่ยงสูง – กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

KFVIETSSF/ KFVIETRMF

ลงทุนในหน่วย CIS ชื่อกองทุน KFVIET-I (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ซึ่งมีการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนทั้งในกองทุนแบบ Active และ Passive เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด

ระดับความเสี่ยงกองทุน 6 : เสี่ยงสูง – กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

KFAFIX / KFAFIXSSF / KFAFIXRMF

ลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภทโดยไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภท ความเสี่ยงระดับ 4 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ

KFGBRAND / KFGBRANSSF / KFGBRANRMF

ลงทุนใน Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง กองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

KFESG / KFESGSSF / KFESGRMF

ลงทุนใน AB Sustainable Global Thematic Portfolio, Class S1 USD (กองทุนหลัก)โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง และกองทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน

บทความนี้เป็น Advertorial