บุคคลธรรมดาปี 2561 หักค่าใช้จ่ายอย่างไร? พรี่หนอมบอกเลยว่าปัญหาเรื่องการหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีความเข้าใจผิดกันมาช้านาน แชร์อัลบั้มนี้ไว้อ่านเพิื่อความเข้าใจที่ถูกต้องได้เลยครับ

สรุปประเด็นสั้นๆก่อนว่า สิ่งทีต้องรู้ในการหักค่าใช้่จ่ายคือ กฎหมายให้วิธีการหักค่าใช้จ่ายไว้ 2 วิธี นั่นคือ แบบเหมาเป็น % ตามที่กฎหมายกำหนด และการหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (หรือตามจริง) ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ (รายได้) ทางกฎหมาย

ประเด็นต่อมาคือ ถ้าจะหักแบบตามจริงให้ชัวร์ๆไม่มีปัญหา สิ่งที่ต้องทำคือ บัญชีรายรับรายจ่ายพร้อมกับหลักฐานต่างๆให้ครบถ้วนครับ

แต่ทำแล้วก็ไม่ต้องยื่นให้พี่สรรพากรทันทีนะครับ ยื่นเมื่อเขาขอดูเท่านั้น ซึ่งเวลายืนภาษีก็กรอกข้อมูลสรุปที่เรามีไป แค่นั้นก็จบแล้วจ้า #แต่ต้องเก็บหลักฐานพวกนี้ไว้อย่างน้อยห้าปีนะจ๊ะ


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


ก่อนจะพูดเรื่องการหักค่าใช้จ่ายนั้น ฟังตรงนี้ก่อนครับว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณได้ 2 วิธี คือ เงินได้สุทธิ และเงินได้พึงประเมิน ตามวิธีข้างต้น

ค่าใช้จ่ายจะใช้เมื่อเราคำนวณภาษีตามวิธีแรกเท่านั้นส่วนวิธีที่สองจะคำนวณก็ต่อเมื่อคนๆนั้นมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนเกิน 1,000,000 บาทครับผม

Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


เข้าใจก่อนว่า รายได้ทางกฎหมายนั้นมีทั้งหมด 8 ประเภท ซึ่งหักค่าใช้จ่า่ยได้ต่างกันตามแต่ละประเภทรายได ้ซึ่งหน้าที่ของเราคือต้องรู้ว่าเรามีรายได้ประเภทไหนตามกฎหมาย ดูได้ตามรูปถัดๆไปจ้า


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


วิธีหักค่าใช้จ่ายที่กฏหมายให้มี 2 แบบ
1. หัก % ตามที่กฎหมายกำหนด
2. หักตามจริงที่มีหลักฐานครบ


แต่ไม่ใช่ว่าเราจะเลือกได้ตามที่เราต้องการ เพราะมันขึ้นอยํู่ประเภทเงินได้ที่เรามีตามกฎหมายต่างหาก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเงินได้แต่ละประเภทถึงสำคัญนะครับผม


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มแรก คือประเภทที่ 1 -2 นั่นคือ เงินเดือนและค่าจ้าง (ฟรีแลนซ์) กลุ่มนี้หักได้แบบเหมาๆ ค่าใช้จ่ายสูงสุดคือ 50% ของรายได้แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ถ้าใครมีรายได้กลุ่มนี้ทั้งสองประเภทก็รู้ไว้ด้วยนะครับว่า คุณหัก % ค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทจ้า (ไม่ใช่ 200,000 นะ)


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มต่อมา คือ ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิทรัพย์สินทางปัญยา เงินรายปี ฯลฯ

สำหรับ ค่ากู้ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ หรือ ค่าสิทธิ์อย่างอื่น ซึ่งสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้อีกด้วยครับผม

กลุ่มนี้เลือกได้ว่าจะหักแบบไหน ถ้าเข้าข่ายรายได้กลุ่มลิขสิทธิ์ครับผม


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มนี้คือรายได้ประเภทที่ 4 กลุ่มนี้บอกเลยว่าหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลยจ้า #จบ


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มนี้จะเรียกว่าค่าเช่า คือ ใครมีทรัพย์สินให้เช่าจะเลือกหักได้ 2 วิธีครับ จะเหมาหรือตามจริงก็ได้ แต่ถ้าเหมาต้องหักตามที่กฎหมายกำหนดตามประเภทของทรัพย์สินที่แตกต่างกันครับ

อัตราที่ว่ามีตั้งแต่ 10-30% นะครับ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปมักจะ 30% จ้า


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มนี้มี 6 วิชาครับ เลือกหักได้ทั้งแบบเหมาหรือตามจริงเหมือนกัน ซึ่งประกอบด้วยอาชีพ แพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์

ถ้าเลือกหักเหมา กลุ่มแพทย์จะได้ถึง 60% ในขณะที่กลุ่มอื่นจะได้ 30% ครับ แต่ถ้าตามจริงก็ตามใครตามมันจ้า


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มนี้เรียกง่ายๆว่ารับเหมาครับ โดยหมายถึงต้องรับเหมาทำทุกอย่างตั้งแต่ค่าแรงยันค่าขอ

กลุ่มนี้จะเลือกหักได้ 2 วิธี คือ เหมา 60% หรือตามจริงครับผม


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


กลุ่มที่ 8 คือ กลุ่มที่ไม่เข้าพวก 7 กลุ่มแรกครับ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ทำธุรกิจ หรือ พาณิชยกรรมต่างๆ

โดยกลุ่มนี้จะเลือกหักได้ 2 วิธี คือ เหมา 60% หรือตามจริงครับผม แต่กรณีหักเหมาต้องเป็นอาชีพ 43 อาชีพตามนี้ครับhttp://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dc629.pdf

ถ้าธุรกิจเราไม่ได้อยู่ในกลุ่มค่าใช้จ่ายเหมา 43 ประเภทนี้ ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้นนะครับ

ป.ล. เงินปันผลกองทุนรวมอยู่กลุ่มนี้นะครับ และหักค่าใช้จ้่ายไม่ได้จ้า


Update ค่าใช้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา 2561


หลายคนมักเข้าใจผิดระหว่างค่าใช้จ่ายกับค่าลดหย่อนนะครับ ต้องบอกก่อนว่า ค่าใช้จ่ายนั้นจะเกี่ยวกับเงินได้แต่ละประเภท ถ้าเรามีเงินได้หลายประเภท เราก็จะหักค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ในขณะที่ค่าลดหย่อนเป็นของส่วนบุคคลตามที่รัฐเห็นว่าเป็นภาระ ดังนั้นทำความเข้าใจให้ดีก่อนที่จะเรียกนะครับ ไม่งั้นจะงงกันเลยล่ะจ้า

พรี่หนอมกำลังเขียนบทความเรืองนียาวๆให้อ่านกัน ใครอยากติดตามอ่านก็แอดไลน์ไว้ ที่ @TAXBugnoms หรือคลิกลิงค์https://line.me/ti/p/@taxbugnoms ครับผม