อย่าหลงรักกองทุน

  หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินคำพูด ประมาณว่า หากเป็นนักฆ่าก็อย่าหลงรักเป้าหมาย(ทำตัวเป็นมืออาชีพหน่อย) หากเป็นหญิงก็อย่าปล่อยใจให้กับผู้ชายที่เข้ามาจีบ หากเป็นตัวร้ายก็อย่าถูกใจพระเอก//นางเอก หรือ หากเป็นนกก็อย่ามีใจให้กับต้นไม้ (มั่วสุด ๆ) ส่วนท่านไหนจะมีคำคมอื่น ๆ ก็สามารถเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างนะครับ ผมชอบ !! 55+ เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ อารัมภบทมาตั้งนาน ผมกำลังจะบอกท่านว่า หากท่านเป็นนักลงทุน ละก็ "อย่าหลังรักกองทุน" ที่ท่านถือยู่นะครับ ทำไมน่ะหรือครับ ? ตามมาครับ ผมจะบอกสาเหตุที่เราไม่ควร รักกองทุนที่เราถืออยู่มากเกินไปให้ฟังครับ (เน้นหนักไปที่กองทุนหุ้นนะครับ)   1. ผลตอบแทนกองทุนไม่เป็นไปดังคาด นานติดต่อกันเกินไป แน่นอนครับว่าถ้ากองทุนที่เราถือครองอยู่นั้น ถ้าผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไป โดยที่อาจจะไม่เข้าตา หรือ ไม่ถูกใจอีกต่อไปเราก็ควรที่จะ "สับ"เปลียนกองทุนครับ ซึ่ง "อาจจะดูใจร้าย อาจจะดูเหมือนไม่แคร์ แต่ก็คงต้องบอกให้เธอไป อยากจะมีเหตุผล ..." (เอ๊ะ !! ท่านไหนอายุเกิน 35 อาจจะคุ้นกับเพลงนี้) แต่เชื่อเถอะครับว่า การเปลี่ยนกองทุนอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่คิดครับ อาจจะทำให้เราได้เจอกกองทุนหน้าใหม่ ๆ ไฉไลกว่าเก่าก็เป็นไปได้ครับ เรียกได้ว่าได้ ใหม่ลืมเก่า ได้หลังแล้วลืมหน้าเลยครับ !! แล้วเมื่อไหร่ดีละครับ ? ที่เราควรจะเปลี่ยนกองทุนในมือของเรา เพราะว่ากองทุนหุ้นเหล่านี้อาจจะไม่ได้โชว์ผลงานที่แย่แบบฉับพลันก็เป็นได้ไปครับ ซึ่งต้องบอกว่า เราติดตามให้ดี เหมือนเมียน้อยคุมสามีเอ้ย !! เมียหลวงตามคุมสามีครับ โดยต้องดูพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปบ่อย ๆ ครับ แต่ก็ไม่ต้องบ่อยมากก็ได้ครับ ประมาณว่า ปีละ 1 ครั้ง เช่นถ้าปีนี้กองทุนหุ้นที่เราถือครองอยู่ แพ้ผลตอบแทนจากกองทุนหุ้นที่เป็นเหมือนเกณฑ์มาตราฐานในการลงทุน ซึ่งได้แก่กองทุนตามดัชนี SET หรือ SET 50 ยิ่งแพ้มากก็ยิ่งเป็นจุดนึงที่เราควรจะต้องระวัง ต่อมากองทุนที่เราถือครอง แพ้ให้กับกองทุนที่เป็นรูปแบบเดียวกันครับ เช่นกองทุนที่เราถืออาจจะเคยเป็นกองทุน อันดับ 6 ของตาราง ปีที่แล้วกลายเป็นอันดับ 12 ของตาราง (เหมือนเวลาที่เราดูบอลเลยครับ) พอมาปีนี้กลายเป็นอันดับ 20 ของตาราง(ตกชั้นไปอยู่ ดิวิชั่น 2)  เราก็ควรที่จะเริ่มมอง และสังเกตได้แล้วครับ ว่ากองทุนที่เราถือนั้น ยังคุ้มค่าหรือไม่ครับ ถ้ากองทุนเริ่มจะผิดเพี๊ยนไปมาก ๆ ก็โดยให้เวลา 3 ปีในการปรับปรุงตัวแล้วยังแย่อยู่ เราก็ควรที่จะ "บอกลา" กับกองทุนแบบนี้ได้แล้วครับ เลี้ยงไปก็เสียข้าวสุก Website ที่ช่วยท่านได้ดีก็คือ SiamChart ครับ โดย Website นี้จะเรียงผลตอบแทนให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าไปดูได้เลยครับ ขอขอบคุณ SiamChart ด้วยนะครับ ^_^ ที่ช่วยเราคัดคนที่ไม่สม่ำเสมอกับเรา (เอีะ !!)   2. ค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้น อย่างไร้สาเหตุ ผมมักจะเห็นกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีและน่าประทับใจผู้ถือในระยะแรก ต่อมาพอมีคนไปสนใจมาก ๆ เข้า กองทุนนั้นก็เห็นว่ากองทุนได้รับความนิยม(เริ่มหล่อ) ก็เลยถือโอกาสปรับค่าตัว หรือ ที่เราเรียกว่า ขอปรับค่าธรรมเนียมกองทุนในการบริหารในแต่ละปีมากขึ้น ผมบอกได้เลยว่าไม่ผิดครับ ที่จะปรับขึ้น แต่ต้องสมเหตุผลด้วยเช่นกัน ถ้ากองทุนทำผลตอบแทนได้ดีสม่ำเสมอ และขอขึ้นค่าแรง ผมในฐานะของผู้ถือหน่วยก็ย่อมที่จะยินดี "จ่าย" ครับ แต่ถ้าค่าแรงที่จ่ายไปเริ่มไม่คุ้มกับผลที่ได้ ผมคงจะเริ่มที่จะพิจารณาความคุ้มค่าในการจ่ายเงินไปครับ หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ตัว หรือ ไม่รู้ด้วยซ้ำไปนะครับว่ากองทุนที่ท่านถือนั้น สามารถที่จะปรับค่าธรรมเนียมขึ้นได้นะครับ ต้องอย่าลืมที่จะตรวจสอบกันด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก็ยังดีครับ ว่ากองทุนที่ท่านถืออยู่ได้มีการปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร และอย่าลืมถามเหตุผลในการปรับขึ้นด้วยนะครับ ซึ่งถ้ามีเหตุอันควรในการปรับขึ้น ผมว่าก็ยังโอเค แต่ถ้าหากบริหารได้ไม่ดี แต่มีการปรับค่าธรรมเนียมขึ้น โดยอ้างนู่นอ้างนี่ ผมว่าอันนี้อาจจะต้องคุยกันยาวแล้วละครับ หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ากองทุนหุ้นที่คิดค่าธรรมเนียมเพียงปีละ 1.5 -2.5 % นั้นจะมีผลอะไรมาก จึงทำให้เราต้องมากังวล ในระยะสั้น ๆ เราอาจจะไม่เห็นความแตกต่างของค่าธรรมเนียมที่คิดมาในแต่ละปีครับ แต่ถ้าเราลงทุนเป็น 10 ปี บอกได้เลยครับ ว่าค่าธรรมเนียมนั้นมีผลค่อนข้างมากทีเดียวครับ อีกประเด็นที่สำคัญคือ เราสามารถหากองทุนที่ราคาถูก และให้ผลตอบแทนที่ดีได้เสมอครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนที่คิดค่าธรรมเนียมแพง ๆ ก็ได้ครับ อย่างที่หลายคนพูดไว้ ว่า หล่อ / สวยอย่างเรา เลือกได้...... (ขอเลือกหน่อยเถอะ เพราะทุกวันนี้ไม่ค่อยมีอะไรมาให้เลือก ต้องจำทน แบบชีวิตสมยอม 55+) 3. ผู้จัดการกองทุนเปลี่ยนไป อยู่ดี ๆ ก็ไม่รับสาย , อยู่ดี ๆ ก็ไม่ค่อยเอาใจ ,อยู่ดี ๆ ก็หาเรื่องทะเลาะ ,บอกเลิกกันง่าย ๆ ผมว่าหลาย ๆ ท่านที่เคยมีแฟนคงจะรู้สึกได้ กองทุนก็เป็นเช่นนั้นครับ 55+ (ผมล้อเล่นนะครับ) เนื่องจากสมัยนี้ ผู้จัดการกองทุนไมไ่ด้เป็นระบบแบบผู้จัดการกองทุนคนเดียว อีกแล้วครับ(ยกเว้นบางกองทุนที่ยังใช้ระบบนี้อยู่) ส่วนใหญ่จะเป็นระบบ ผู้จัดการกองทุนหลายคนครับ ที่ช่วยกันคัดเลือกหุ้น หรือ มีผู้ช่วยหลายคนมาช่วยกันดูครับ ดังนั้นต่อให้ผู้จัดการกองทุนเปลี่ยนไป ก็ไม่กระทบต่อการจัดการในกองทุนเสียเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นระบบมากขึ้น แต่ทว่า ถ้าผู้จัดการกองทุนที่เป็นหัวหอก หรือ มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจของแผนก หรือ ของ บลจ. นั้น ๆ ลาออก หรือ เปลีี่ยนที่ละ !! อันนี้ไม่แน่ว่าอาจจะทำให้กองทุน เกิดอาการระส่ำระสายได้นะครับ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผู้จัดการที่เป็นคนละแนวทางการบริหารที่แตกต่างกันออกไปครับ เช่น จากผู้จัดการกองทุนที่เป็นสาย Buy and Hold มาเป็นสายปรับ เปลีี่ยน หุ้นอย่างรวดเร็ว ว่องไว อันนี้อาจจะดูไม่กระทบมากนักครับ เนื่องจากถ้าผู้จัดการกองทุนคนใหม่ เปลี่ยนหุ้น และทำการเลือกหุ้นได้ถูกต้อง ผลตอบแทนในระยะสั้น ๆ ก็อาจจะดูดีขึ้นทันที แต่ถ้าเลือกผิดก็อาจจะมีโอกาสแก้ตัวได้เร็ว เพราะว่าแค่ปรับเปลี่ยนหุ้นในกองทุ&#x
Dr.Nut

Dr.Nut

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกองทุน การลงทุน และการเงิน