ที่ผมเอาเรื่องนี้มาฝากทุกๆ ท่านเพราะไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสพบกับน้องคนนึงที่ผมไปวางแผนการเงินให้ โดยจากการสัมภาษณ์เพื่อทำแผนการเงิน ซึ่งผมต้องขอข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่าย เพื่อทำงบกระแสเงินสด

ปรากฎว่า รายได้ของน้องคนนี้ อายุประมาณ 25 ปี รายได้เดือนนึงประมาณ 15,000 บาท ครับ ทำงานประจำที่บริษัทเอกชนแห่งนึง ด้านบัญชี ปรากฎว่าน้องคนนี้มีรายเหลือ ต่อเดือนคือ 3,000-4,000 บาท ทุกเดือน โดยมีค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ดังนี้

  • ค่ากินอยู่ 7,500 บาท/เดือน
  • ค่าเดินทาง 2,500 บาท/เดือน 
  • ค่าซื้อของที่ชอบ 1,000 บาท/เดือน 
  • ให้แม่ 1,000 บาท/เดือน

ซึ่งพอดีน้องคนนี้ยังไม่มีภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เพราะ ยังอยู่กับพ่อแม่ รวมถึงการเดินทางก็ใช้รถประจำทาง สองแถว หรือไม่ก็ BTS แล้วแต่โอกาส

โดยน้องท่านนี้ก็เก็บเงินมาได้ประมาณ 2 ปีละ ก็มีเงินเหลือในบัญชีธนาคารประมาณ 100,000 บาท ซึ่งพอดีทางบริษัทก็มีโบนัสปลายปี ประมาณ 2 เดือน ก็เลยทำให้พอมีเหลือ แม้ว่าที่ผ่านมาอาจจะมีการถอนไปจ่ายค่ามือถือใหม่บ้างแล้ว

ซึ่งน้องท่านนี้มีต้องการเน้นการอยากวางแผนเกษียณ ซึ่งก็คงต้องใช้เงินจากที่เหลือต่อเดือน มาเก็บออม ซึ่งสุดท้ายน้องท่านนี้ก็ขอเริ่มต้นออมที่เดือนละ 2,000 บาท (ปีละ 24,000 บาท ก่อน)

ซึ่งจากเคสนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องที่ว่า 

"การเก็บเงินนั้น" ไม่สำคัญว่าเราจะมีรายได้มากแค่ไหน 

แต่สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะเริ่มเก็บให้ตัวเองเท่าไหร่ต่างหาก 

เพราะ หลายๆ คนแม้ว่าจะมีรายได้มาก บางคนอาจมีรายได้ 4-5 หมื่นต่อเดือน แต่พอจะให้เริ่มเก็บ มักจะบอกว่าตอนนี้ภาระเยอะ ยังต้องผ่อนบ้านอยู่เลย ยังผ่อนรถอยู่เลย เดี๋ยวหมดภาระก่อนค่อยเก็บนะ

ซึ่งเวลาเก็บเงินของเรานั้น ถ้ายิ่งเราเริ่มช้ามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเก็บยากขึ้นเท่านั้นครับ บางคนผมเจอคนที่มีรายได้ 6 หลักต่อเดือน แต่พอสัมภาษณ์กลับมาภาระหนี้สิน แถมต้องมาดูรายรับรายจ่าย แทบจะไม่เหลือเลย (บางคนเหลือแบบไม่ถึง 1,000 บาท ก็มี )

ดังนั้นอยากให้ทุกๆท่านจำไว้นะครับ ว่า "หาเงินเก่ง ก็ไม่ดีเท่าเก็บเงินเก่ง" ครับ "แต่ถ้าหาเงินเก่ง แถมเก็บเงินเก่งด้วย" นี่เค้าเรียกว่า "ว่าที่มหาเศรษฐี" เลยนะครับ

ขอให้ทุกๆคน มีเงินเก็บเยอะๆนะครับ

By
สุรกิจ พิทักษ์ภากร 
นักวางแผนการเงิน CFP ?
#?wealthplanner??

*** มุ่งให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่ดี ***

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.surakit.com