10 นิสัยการเงิน ที่เราควร Delete
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อ่านหนังสือการเงินก็แล้ว เข้าสัมนาการเงินก็แล้ว แต่กลับยังคงมีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆอยู่ แก้ไขไม่ได้สักที นั่นอาจเป็นเพราะนิสัยทางการเงินบางอย่างที่ทำให้การเงินของคุณไม่ก้าวไปไหน ลองเช็คดูว่าตัวคุณเองมีนิสัยทางการเงินเหล่านี้บ้างรึเปล่า?
ข้อ 1 นิสัยไม่วางแผนการเงิน
‘เงิน’ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่เชื่อว่าทุกวันนี้มีคนจำนวนไม่มากที่วางแผนการเงินของตัวเองอย่างจริงจัง หรือเริ่มวางแผนการเงินช้าไปเพราะคิดว่าอีกหน่อยค่อยเริ่มออมก็ได้ แต่หากเราไม่วางแผนการเงินให้ดี สิ่งที่ตามมามีมากมายเช่น
* เงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน เพราะทุกเดือนที่มีรายได้เข้ามา เงินส่วนใหญ่หมดไปกับค่าใช้จ่ายทั่วไปและเพื่อดำรงชีวิต ต้นเดือนรื่นเริงเพราะมีเงินจำนวนมาก แต่เมื่อเริ่มเข้ากลางเดือนก็การเงินเริ่มฝืดเคืองเพราะวางแผนการการใช้จ่ายไว้แบบพอดีเท่านั้น
* ไม่มีเงินเพื่อนำไปลงทุนต่อยอด ทุกการลงทุนจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน การลงทุนเป็นวิธีที่จะทำให้เงินเก็บของคุณเติบโตมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินเพื่อรับดอกเบี้ย หรือจะลงทุนทำธุรกิตใดๆก็ตาม แต่หากไม่วางแผนเงินออมให้ดี ก็ไม่มีทางนำเงินไปต่อยอดทางใดได้เลย
ข้อที่ 2 ใช้จ่ายเงินแบบไม่วางแผน
การใช้จ่ายเงินแบบไม่ยั้งคิด จะทำให้เรามีความสุขช่วงใช้เงิน แต่เราจะรู้สึกทุกข์เมื่อเงินที่มีหมดไปกับของขวัญชิ้นใหญ่ หรือไป Hang Out กับเพื่อนบ่อยๆ หรือการซื้อของเช่น เสื้อผ้า, กระเป๋า ที่ต้องการโดยไม่ควบคุมรายจ่อต่อเดือนให้ดี ทำให้แต่ละเดือนไม่มีเงินเหลือ
ข้อที่ 3 นิสัยไป ATM เป็นประจำ
พอคิดว่าเงินสดหมดเมื่อไหร่ก็ไปถอนเงินที่ ATM จะทำให้เราไม่รู้ว่าเงินในบัญชีเหลือเท่าไหร่ ลองเปลี่ยนเป็นกำหนดวันถอนเงินเดือนละ 2 ครั้ง โดยถอนเงินออกมาเท่าที่ต้องใช้ออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกันเพื่อเป็นการควบคุมรายจ่าย หรือการใช้บัตรเดบิตรเองควรใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนบัตรเครดิตให้เปลี่ยนวิธีการใช้เป็นรูดซื้อของเท่าไหร่ให้แยกเงินสำหรับจ่ายค่าของเท่านั้น จะทำให้เรารู้ว่าเงินที่เหลืออยู่จริงๆมีเท่าไหร่ เมื่อครบกำหนดก็จำเงินส่วนที่แยกออมาไปชำระก็จะไม่ต้องเสียค่าดอกเบี้ยแล้วยังควบคุมรายจ่ายให้ตนเองด้วย
ข้อที่ 4 ไม่รู้ว่าเดือนนี้ต้องใช้จ่ายอะไร
หากไม่คำนวณให้ดีว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง ก็จะไม่รู้ว่ารายจ่ายพิเศษหรือรายจ่ายฉุกเฉินเช่น เข้าโรงพยาบาล, ค่าซองงานแต่ง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะทำให้สภาพการเงินของเราเข้าสู่ภาวะลำบากจนอาจถึงขั้นต้องกู้เงินมาทำให้เราเข้าสู่วงจรการเป็นหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางออกคือเริ่มวางแผนรายจ่ายล่วงหน้า 12 เดือน ว่ามีอะไรบ้างและควรสำรองเงินสำหรับค่าใช้จ่ายพิเศษเท่าไหร่ จะทำให้การเงินของเรามีความมั่นคงเพิ่มขึ้น
ข้อที่ 5 นิสัยหนียวหนี้
ในบทความนี้คือหนี้บัตรเครดิต ซึ่งไม่ได้หมายถึงการไม่ยอมชำระหนี้เท่านั้น แต่รวมไปถึงการชำระหนี้แบบขั้นต่ำด้วย หากใช้บัตรเครดิตเต็มวงเงินแต่ชำระเพียงขั้นต่ำทุกเดือน ธนาคารเจ้าของบัตรจะยังคิดดอกเบี้ยจากยอดเต็มเหมือนเดิม (เช่นรูดซื้อของ 10,000 บาท ชำระขั้นตาำคือ 1,000 บาท แต่ธนาคารจะยังคิดดอกเบี้ยจากงินจำนวน 10,000 บาทเท่าเดิม) ไม่ได้ลดหย่อนตามจำนวนเงินที่จ่ายไป ทำให้จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นแบบไม่จำเป็น ดังนั้นสิ่งสำคัญของการชำระหนี้บัตรเครดิตคือ จ่ายครบและจ่ายตรง
ข้อที่ 6 นิสัยใช้ก่อนเก็บ
แม้จะมีรายได้จำนวนมาก แต่หากไม่วางแผนให้ดีก็จะไม่มีเงินเพื่อการออม เราควรเปลี่ยนความคิดจาก ‘ใช้เงินเหลือแล้วค่อยออม’ มาเป็น ‘ออมเงินก่อนแล้วค่อยใช้ที่เหลือ’ เพราะการออมเป็นรากฐานสู่ความร่ำรวย หากไม่เริ่มวางแผนเก็บเงินออมตั้งแต่วันนี้ ก็ถือว่าไม่ได้เริ่มต้นสู่ความร่ำรวยอย่างแน่นอน ลองเริ่มต้นออมเงินทุก 10% ของเงินเดือนแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการเริ่มต้นสู่ความมั่งคั่งแล้ว
ข้อที่ 7 นิสัยใช้เงินเกินตัว
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับรายจ่ายคือ ‘จ่ายเงินให้ต่ำกว่าที่หามาได้’ การใช้จ่ายกับสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, โทรศัพท์มือถือ ของเหล่านี้ควรซื้อหากจำเป็นต้องใช้หรือเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าหรือสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเรา แต่หากซื้อเพราะเป็นสินค้ารุ่นใหม่ รับรองได้เลยว่าอีกไม่นานรายได้ที่มีก็จะหมดไปแน่นอน
ข้อที่ 8 นิสัยไม่ใส่ใจดอกเบี้ย
บัตรเครดิตเป็นบัตรอำนวยความสะดวกด้านการเงินที่เกือบทุกคนมี แต่มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่ใช้บัตรเครดิตได้คุ้มค่าเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักวิธีการคิดดอกเบี้ย ทำให้ตกเป็นเหยื่อการใช้บัตรเครดิตได้ง่ายๆ ดังนั้นก่อนทำบัตรเครดิตทุกครั้งควรศึกษาและเลือกบัตรให้ตรงกับ Lifestyle ของเราเพื่อผลตอบแทนจากการใช้บัตรเครดิตนั้น อีกกรณีที่ควรใส่ใจคือการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมต่างๆ หากไม่คำนวณและศึกษาค่าธรรมเนียมให้ดี จะทำให้ต้องเสียเงินเหล่านี้ให้กับธนาคารแบบไม่รู้ตัว
ข้อที่ 9 นิสัยไม่ศึกษาก่อนเริ่มลงทุน
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนลงทุนทุกครั้งหากไม่ศึกษาวิธีการลงทุนและรายละเอียดต่างๆอย่างละเอียด ก็จะทำให้การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงมากแม้ว่าจะเป็นการลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากก็ตาม ดังนั้นก่อนลงทุนต้องศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆทุกครั้ง และไม่ควรลงทุนตามคนอื่นหรือตามข่าวที่ได้ยินมา เราควรศึกษาและเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองจะดีกว่า
ข้อที่ 10 นิสัยไม่จัดสรรสินทรัพย์
การจัดสรรสินทรัพย์คือการกระจายกาâ