ปกติแล้วเรื่องการเงินก็จะมีเป้าหมายหลายอย่าง เช่น เก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ แต่งงาน ท่องเที่ยว เกษียณสุข หรือ เก็บเงินให้ลูกเรียนหนังสือ

หรือถ้าจะแยกออกมาก็ คือ "เป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว"

ซึ่งหากเป็นเป้าหมายระยะสั้นนั้น การออมก็คงเลือกสินค้าการเงินที่เสี่ยงมากไม่ได้ ดังนั้นส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ การฝากเงินกับธนาคาร หรือ กองทุนตราสารหนี้บ้าง เพราะ เสี่ยงมากไม่ได้

แต่เป้าหมายระยะสั้นนั้นถ้าเทียบความสำคัญแล้วก็คงไม่สำคัญมากเท่าเป้าหมายในระยะยาว เพราะ การออมระยะสั้นหากไม่บรรลุเป้าหมาย ก็อาจแค่เลื่อนเวลานั้นออกไป ก็สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้เหมือนกัน

แต่การออมเพื่อเป้าหมายระยะยาวนั้น เป็นเรื่องที่ทุกๆคนควรต้องตระหนักมากๆ เพราะ เป็นเป้าหมายที่พลาดไม่ได้

ซึ่งในเรื่องนี้ก็จะมี 2 เรื่องหลักๆที่ต้องการวางแผนคือ
1.เป้าหมายเพื่อการเกษียณอายุ (Retirement Planning)
2.เป้าหมายเพื่อการศึกษาบุตร (Education Planning)

แล้วทำไมถึงเป็นเป้าหมายที่พลาดไม่ได้ล่ะ?

เพราะ ทั้งสองเรื่องคือ เป้าหมายที่ระยะยาวมากๆ คือเกิน 10 ปี เช่น มีลูก ก็ต้องวางแผนถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 20-25 ปี หรือ เรื่องเกษียณอายุ ก็ต้องเตรียมให้มีเงินใช้ตั้งแต่อายุ 55 หรือ อายุ 60 ปี ซึ่งก็ใช้เวลาการออม ไม่ต่ำกว่า 20 ปี แน่ๆ

ซึ่งหากเราวางแผนไม่ดีพอ เราก็คงไม่สามารถกลับไปเริ่มใหม่ได้ หรือ จะเลื่อนเวลากลับไปก็คงไม่ได้
เช่น จะบอกให้ลูกรอหน่อยอีกสัก 5 ปีค่อยเรียนได้มั้ย เพราะ พ่อยังเก็บเงินไม่ได้
หรือ พอเกษียณอายุ 60 ปี ค่อยมาบอกกับตัวเองว่า เรายังเกษียณไม่ได้ ต้องหาไรทำก่อน แบบนี้ได้มั้ย?

ดังนั้น จึงอยากให้ทุกๆคน ควรต้องให้ความสำคัญของการวางแผนเก็บออมระยะยาวมากๆ และ ต้องเริ่มอย่างเร็วที่สุด เพราะ ส่วนใหญ่มักคิดว่า อีกตั้งนานค่อยเก็บเงิน ตอนนี้ใช้ไปก่อน ตอนนี้ยังอยากได้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนใหม่ อยากได้รถใหม่ ก็เลยยังไม่เริ่มออม

และที่สำคัญคือ การเก็บออม ไม่สำคัญว่าเราต้องมีรายได้เยอะๆก่อนค่อยเก็บ นะครับ แต่สำคัญที่เราสามารถเริ่มต้นเก็บได้ทุกๆเดือน ทุกๆปีเท่าไหร่ต่างหาก มีน้อยก็เก็บน้อย มีมากค่อยเก็บมาก

ดังนั้นจึงควรต้องเริ่มมีวินัยการออมตั้งแต่วันนี้นะครับ 

By
สุรกิจ พิทักษ์ภากร
นักวางแผนการเงิน CFP ‪
#‎wealthplanner‬

*** มุ่งให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่ดี ***

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.surakit.com