กรีซ อยู่เต็มหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ต่างๆเต็มไปหมดในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาเศรษฐกิจกรีซที่เรื้อรังมานาน แท้จริงเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมถึงแก้ไขไม่ได้ วันนี้ เราไปทำความรู้จักกรีซให้มากขึ้นใน 1 บทความกันครับ
วิกฤตเศรษฐกิจยุโรป เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่วานิชธนกิจใหญ่อันดับ 1 ของโลกอย่าง Lehman Brothers ล้มพังต่อหน้าต่อตานักลงทุนทั้งหลาย และลุกลามจนเป็นวิกฤตของโลก
แต่ไม่ใช่ว่า หากไม่เกิดวิกฤตที่สหรัฐฯแล้วกรีซจะไม่มีปัญหาด้วย เพราะเศรษฐกิจของกรีซเองในช่วงก่อนปี 2009 นั้น รัฐบาลก่อหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Debt to GDP Ratio) อยู่ที่ราวๆ 100% ในปี 2009
การที่รัฐบาลกรีซก่อหนี้จำนวนมากขนาดนี้ เป็นเพราะ
- กรีซ ไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม รายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว
- กรีซ แทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ผลิตได้เอง หรือส่งออก จากข้อ 1. และ 2. กรีซจึงมีความเสี่ยงในแง่ของการหารายได้เข้าประเทศเป็นทุนเดิม
- รายจ่ายของกรีซหลักๆแล้ว เป็นสวัสดิการต่างๆที่ให้แก่ข้าราชการ ซึ่งคิดสัดส่วนเกิน 40% ของจำนวนประชากร รวมถึง สวัสดิการว่างงาน และสวัสดิการคนชรา ในกรีซนั้น ถือว่า ทำให้คนเหล่านั้นอยู่ได้อย่างสบายๆโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวเอง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ คือต้นทุนที่รัฐต้องแบกไว้เป็นจำนวนมากๆ ทุกๆปี
- การที่กรีซพยายามเข้าร่วมกลุ่มยูโรโซนในปี 2002 นั้น เป็นการทำลายโอกาสปรับตัวทางเศรษฐกิจและเปลี่ยนพฤติกรรมของรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง
ผมขอขยายความในข้อ 4 แบบนี้นะครับ ก่อนการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรป กรีซต้องใช้เงินสกุลตัวเองที่ชื่อ ดรักม่า (Drachma) ซึ่งไม่เป็นที่นิยมในตลาดโลกอยู่แล้ว พอกรีซได้เข้าร่วมประชาคมยุโรป ก็ย้ายไปใช้ค่าเงินสกุลยูโร (Euro) ซึ่งมีเสถียรภาพสูงกว่า มีอำนาจการต่อรองในเวทีโลกสูงกว่า และที่สำคัญคือ กรีซ สามารถกู้โดยใช้สกุลยูโร ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าเดิมเยอะมาก แผนของกรีซคือ พยายามแต่งหน้าทาปากให้สวย เพื่อที่จะได้เป็นหนึ่งในสมาชิกยูโรโซนในปี 2002 เมื่อเข้าร่วมได้ปั๊บ ก็ก่อหนี้มหาศาลเพื่อเอาไปจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ที่กรีซเป็นเจ้าภาพ เพื่อหวังจะดึงรายได้เข้าประเทศให้จงได้ แต่ผลก็คือ ขาดทุนมหาศาล หนี้บานขึ้นไปอีกระดับ
กรีซ พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองไหม ทำไมไม่เห็นปัญหาที่ก่อตัว?
จะบอกว่า นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายก็เตือนอยู่เรื่อยๆครับ แต่... ประชาธิปไตย กลับทำร้ายกรีซให้แย่กว่าเดิม เพราะโรงสร้างประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นข้าราชการ และคนสูงอายุ การจะออกนโยบายตัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพื่อลดภาระหนี้ มันไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ เพราะเท่ากับกำลังจะทำลายฐานเสียงตัวเอง
หลังเหตุการณ์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งนั้น ทำให้สุขภาพการเงินอันอ่อนแอของกรีซ กลับยิ่งทรุดลงไปอีก ในเดือน มีนาคม 2010 รัฐสภากรีซก็ถึงทางที่ต้องทำอะไรซักอย่าง ว่าแล้วก็ผ่านร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองเศรษฐกิจ โดยการดำเนินมาตรการลดค่าจ้างภาคเอกชน และเพิ่มภาษี แน่นอนครับ เหตุการณ์นี้ ประชาชนก็ลุกฮือ เพราะไม่พอใจว่า อะไรกัน ทำไมฉันโดนแต่ข้าราชการไม่โดน
ในปีเดียวกัน เดือนพฤษภาคม ข่าวว่า คลังของกรีซแทบไม่เหลือเงินที่จะใช้จ่ายได้แล้ว รัฐบาลกรีซจึงยอมเซ็นข้อตกลงกู้ยืมระหว่างกรีซ กับกลุ่มทรอยกา (TROIKA) ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรป (EU), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว กรีซเลยได้เงินกู้ 45,000 ล้านยูโร ทันทีปี 2010 เลย และข้อตกลงครั้งนั้น ก็ระบุว่า TROIKA จะทยอยให้เงินช่วยเหลือ รวมเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000 ล้านยูโร
ผ่านไป 1 ปี เข้าสู่ เดือน ก.ค. 2011 ปรากฏว่า ฐานะการเงิน และการคลังของกรีซไม่ดีขึ้นเลย (แหม่.. ก็ TROIKA เล่นคิดดอกเบี้ยตั้ง 5%) กรีซได้เงินจากการตัดค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ จ่ายคืนได้แค่ดอกเบี้ยเล็กน้อยเท่านั้น กรีซจึงจำเป็นต้องมีมาตรการรัดเข็มขัดและพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจลดจำนวนข้าราชการ รวมถึงเพิ่มภาษีขึ้นไปอีก แน่นอนครับ ประชาชนลุกฮือกันอีกรอบ แต่กรีซก็ผ่านช่วงเลวร้ายนั้นมาได้อีก
เข้าสู่ปี 2012 ในเดือน ก.พ. สถานการณ์ในกรีซยังไม่ดีขึ้น แต่ด้วยความที่กรีซเป็นหนึ่งในสมาชิกยูโรโซน จะให้กลุ่มยูโรทิ้งกรีซง่ายๆมันก็ใช่เรื่อง ดังนั้นสหภาพยุโรปเลยตัดสินใจอนุมัติวงเงินกู้ครั้งที่สองให้ 130,000 ล้านยูโร โดยเงินกู้เกือบครึ่งนั้นเป็นการให้กู้สถาบันการเงินกรีซ ซึ่งแต่เดิม มีเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินอื่นๆทั้งในยุโรปและนอกยุโรป สาเหตุก็เป็นเพราะ อยากดึงให้ธนาคารในกรีซมาร่วมกันรัดเข็มขัดเพิ่ม (ให้รับผิดชอบด้วย ว่างั้น) อีกเหตุผลคือ สร้างความเชื่อมั่นให้เหล่าเจ้าหนี้เดิมว่า ยูโร พร้อมรับผิดชอบ ด้วยการโยกหนี้เหล่านั้นมาเป็นของยูโรกรุ๊ปเอง แต่เงินกู้รอบสองนี้ กรีซต้องแลกมาด้วยมาตรการรัดเข็มขัด ตัดค่าใช้จ่ายอีกมากมายทีเดียวครับ
เดือน ก.ค. 2013 กลุ่มเจ้าหนี้ลงมติเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจกรีซฟื้นช้าเกินไป และรายจ่ายยังเยอะเกินไป ต้องรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นไปอีก!! ผลคือ กรีซต้องรับเงื่อนไขเจ้าหนี้ และปลดพนักงานข้าราชการทั่วประเทศ จนทำให้อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นไปที่ 30% การทำทั้งหมดนี้ โหดร้ายกับประชาชนกรีซมากกว่าเดิม แต่แลกกับเงินกู้จากกลุ่ม TROIKA เพียงแค่ 6,800 ล้านยูโร ซึ่งคิดเป็นไม่ถึง 3% ของเงินช่วยเหลือที่กรีซได้รับตั้งแต่ปี 2010 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เจ้าหนี้ไม่อยากให้เงินกรีซเพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้แล้ว และเริ่มไม่มั่นใจว่ากรีซจะจ่ายคืนได้ จึงให้เงินกู้น้อยลง และเสนอเงื่อนไขที่โหดมากขึ้น
ปี 2014 กรีซต้องจัดทำงบประมาณและกำหนดยุทธศาสตร์ทางการคลังระยะกลางระหว่างปี 2014-2017 และกฎการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ที่เข้มงวดขึ้น และปลายปี 2014 นี่เอง ที