กิจกรรมตอนเช้าของหลายๆคนลืมตาพร้อมกับคว้ามือถือเปิดอ่านหน้าFeed Facebook เป็นอย่างแรก ดูว่าเอ๊ะ!! มีอะไรเกิดขึ้นบ้างนะ ยิ่งเปิดดูยิ่งรู้สึกจิตตก เพราะ…

 

เห็นเพื่อนอัพรูปนอนอาบแดดอยู่ริมทะเล
เพื่อนอีกคนกำลังเดินช้อปปิ้งกับเพื่อนที่ญี่ปุ่น
เพื่อนสมัยเรียนมัธยมกำลังเปิดธุรกิจส่วนตัว

 

#อ้าว...แล้วเราล่ะ

ยอมรับว่าบางครั้งเราก็แอบอิจฉาเพื่อนอยู่ลึกๆ ว่าทำไมเราไม่เป็นแบบเพื่อนบ้าง ถ้าหักห้ามความรู้สึก อย่างมี อยากเป็นเหมือนคนอื่นได้ เราก็จะใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร  แต่ถ้าความอยาก เข้าครอบงำ ประมาณว่า “เห็นคนอื่นมีอะไร เราก็ต้องมีด้วย” แบบนี้อาจจะเริ่มเดือดร้อนเงินในกระเป๋า ที่ต้องใช้จ่ายเพื่อจะได้มีรูปภาพสวยๆไปโพสให้เพื่อนดูว่าเราก็มีเหมือนกันนะ สุดท้ายก็เข้าสู่วงจร หนี้สินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขณะที่ “เราสร้างเงินได้อย่างจำกัด แต่ความต้องการของเรามีไม่จำกัด” สิ่งหนึ่งที่ทำได้ คือ การจัดลำดับ ความสำคัญ โดยรู้ว่าสิ่งไหนจำเป็นควรใช้จ่ายกับสิ่งนั้นก่อน เมื่อมีเงินเหลือค่อยใช้จ่ายกับสิ่งไม่จำเป็นต่อไป โดยแบ่งจัดสัดส่วนเงินไว้ตั้งแต่วันเงินเดือนออก ว่าเงินจะแบ่งไปอยู่ส่วนใดบ้างกี่ %

 

ตั้งงบรายจ่ายจากสมการเงินออม

เราใช้สมการเงินออมในการสร้างงบรายจ่ายได้ คือ 

 

รายได้ - เงินออม - หนี้สิน = รายจ่ายส่วนตัว

 

เมื่อเรามีรายได้เข้ามาแล้วก็นำไปออมทันที จากนั้นไปจ่ายภาระหนี้สินที่ติดค้างไว้ เหลือเงินแล้วค่อย นำมาเป็นเงินใช้จ่ายส่วนตัว สาเหตุที่ต้องจ่ายหนี้สินก่อนเพราะว่าเป็นเงินที่ต้องจ่ายประจำไม่สามารถ หยืดหยุ่นปรับลดลงได้หากไม่จ่ายชีวิตของเราก็จะเดือดร้อน เราควรแบ่งเงินให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อได้เห็นภาพรวมของเงินเดือนว่าไปทางไหนบ้าง

 

ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วนเงินเดือน

 

Screen Shot 2015-11-30 at 12.06.23

 

จากภาพนี้เป็นเพียงเงินเดือนตัวอย่างเท่านั้น รายละเอียดของรายจ่ายต่างๆขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละ ครอบครัว เป้าหมายหลักต้องการนำเสนอแนวคิดเขียนการแบ่งสัดส่วนเงินเดือนออกมาเท่านั้น   เพื่อที่เราจะเห็นภาพรวมว่าเงินเดือนของเราไปใช้จ่ายอะไรบ้าง (อ่านรายละเอียดการแบ่งสัดส่วนเงินเดือนอย่างเอียดได้ที่ บทความ 4 ขั้นตอนสร้างบัญชีเงินเดือนขั้นเทพ คลิกที่นี่)

 

จากตัวอย่างนี้เราจะแบ่งเป็นเงินออมจะ 30% ของรายได้ และส่วนของรายจ่ายจะเป็น 70% ของรายได้ หากเรามองแล้วว่าหนี้สินมากเกินไปจนทำให้รายจ่ายส่วนตัวเกิดสภาวะเงินตึงตัวอาจจะต้องใช้จ่ายแบบหนีบ ๆเพราะกลัวเงินไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน 

 

วิธีการปรับปรุงรายจ่าย

 

จากเหตุการณ์นี้ทำให้รู้ว่าตอนนี้ไม่ควรก่อหนี้บัตรเครดิตเพิ่มเพราะจะทำให้ส่วนของหนี้สินมากขึ้น รวมถึง ควรประหยัดรายจ่ายในชีวิตประจำวันว่าไม่ควรสังสรรค์กับเพื่อนมากเกินไป หรือปรับแพ็กเกจมือถือให้ ประหยัดและเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น

 

ดราฟ 4 ทนาคาน3

 

สรุปว่า...

การที่เราตั้งงบต่างๆชัดเจนว่ามีเงินออมและรายจ่ายกี่ % นั้นจะทำให้เรารู้ว่ามีเงินไว้สำหรับ จ่ายอะไรและเท่าไหร่บ้าง ไม่ใช้จ่ายเรื่อยเปื่อยว่าอยากได้อะไรก็ซื้อ ซึ่งจากภาพสรุปการแบ่งสัดส่วน เงินเดือนนั้นจะทำให้เราติดตามเงินเดือนได้อย่างใกล้ชิด สามารถปรับยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น ของแต่ละครอบครัวนะจ๊ะ

 

300x250-OTS+Rate (1)