เรารู้จักคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” นั้นเป็นความรัก ความปรารถนาดีของพ่อกับแม่ที่ทำทุกอย่างได้เพื่อลูก แต่เป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม ซึ่งองค์กรต่างๆก็เหมือนกับสถาบันครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ที่มีสวัสดิการรังแกฉันบางอย่างทำร้ายพนักงานทางอ้อม ถ้าปล่อยไว้เรื่อยๆก็จะเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อการเติบโตขององค์กร จะมีสวัสดิการในรูปแบบไหนบ้างที่เป็นสวัสดิการรังแกฉัน....

 

สวัสดิการรังแกฉัน = พ่อแม่รังแกฉัน??

 

[caption id="attachment_4769" align="aligncenter" width="596"]สวัสดิการรังแกฉัน สวัสดิการรังแกฉัน[/caption]

 

ความสัมพันธ์

สวัสดิการรังแกฉัน

==> องค์กรกับพนักงาน

 

พ่อแม่รังแกฉัน

==> พ่อแม่กับลูก

 

การดูแล

สวัสดิการรังแกฉัน

==> ให้สวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาสุขภาพ ค่าทำฟัน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก มีโปรแกรมฝึกอบรมพัฒนาตนเอง วันหยุดพักผ่อนประจำปี สนับสนุนหลายๆอย่างเพื่อให้พนักงานรักและภักดีกับองค์กร

 

พ่อแม่รังแกฉัน

==> เป็นที่พึ่งทางใจให้ลูก  เป็นที่ปรึกษา ให้การเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต ให้ค่าเล่าเรียน ค่าขนม ให้ยืมเงินไปทำธุรกิจ ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ลูกลำบากเหมือนตนเอง

 

รังแกฉัน

สวัสดิการรังแกฉัน

==> สวัสดิการให้กู้ดอกเบี้ยถูกในอัตราพนักงาน ขยายวงเงินกู้ให้พนักงาน (ทุกอย่างที่ทำให้พนักงานกู้เพิ่ม)

 

พ่อแม่รังแกฉัน

==> การเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินไป ลูกขออะไรก็ให้ทุกอย่าง ลูกไม่เคยทำอะไรผิดเลย ไม่ตีลูกเพราะกลัวลูกเจ็บหรือเสียใจ (ทุกอย่างที่ทำให้ลูกมีความสุข)

 

ผลร้าย

สวัสดิการรังแกฉัน

==> บริษัทได้รับผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะพนักงานมีความกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินจนไม่มีสมาธิทำงาน เมื่อมีการปล่อยกู้ที่เป็นสวัสดิการพนักงานจึงรีบทำเอกสารไปขอกู้มาชำระหนี้เดิม ซึ่งช่วงทำเอกสารขอกู้นั้นจะทำให้เสียงานเพราะต้องตกแต่งตัวเลขในบัญชีธนาคารตนเองเพื่อให้กู้ผ่านหรือหาวิธียืมสิทธิ์คนอื่นเพื่อกู้เงินได้มากขึ้น

ถ้าไม่มีสวัสดิการให้กู้ก็ใช้เวลางานหาเงินกู้ในรูปแบบต่างๆในเว็ปเพื่อหาเงินมาโป๊ะหนี้ที่ต้องใกล้ครบกำนหด เมื่อชำระหนี้ให้สบายใจแล้วจึงเริ่มทำงาน แล้วก็สร้างหนี้ก้อนใหม่ขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่มีที่ให้กู้ยืมจริงๆก็อาจจะใช้วิธีสุดท้ายที่สร้างความเสียหายให้แก่บริษัท นั่นคือ การยักยอกเงินบริษัท โดยการนำเงินไปหมุนจ่ายหนี้ก่อนแล้วจึงนำมาชำระคืนหรือขั้นเลวร้ายก็อาจจะนำออกไปแล้วไม่กลับมาคืนเลยก็ได้ ไม่มีใครอยากทำผิด แต่เพราะสถานการณ์บีบคั้น กดดันและหาทางออกไม่ได้จึงจำเป็นต้องทำแบบนั้น

 

พ่อแม่รังแกฉัน

==> พ่อแม่เสียใจกับพฤติกรรมนิสัยเสียที่ตนเองปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่เด็ก เพราะลูกจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้วินัยในด้านต่างๆ ดูแลตนเองไม่ได้ เข้ากับคนในสังคมไม่ได้เพราะเพื่อนไม่ตามใจเหมือนพ่อแม่ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย พอใช้เงินหมดก็ไปขอพ่อแม่ เสียวินัยทางการเงินอย่างแรง เจอปัญหาแก้ไขไม่ได้ก็อาจจะหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย

 

การแก้ไข

สวัสดิการรังแกฉัน

==> ควรเพิ่มสวัสดิการสอนพนักงานใช้เงินเป็น องค์กรควรสอนวิธีจับปลาให้พนักงาน ไม่ควรแจกจ่ายปลาให้ทานอิ่มแค่เพียงชั่วคราว องค์กรควรมีการสอนเรื่องวิธีการดูแลเงินของตนเองเพื่อให้เงินเดือนนั้นมีประโยชน์สูงสุด ได้เงินมาแล้วควรจัดการอย่างไร ออมเงินและใช้จ่ายอย่างไรอะไรที่ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ เมื่อเกิดหนี้สินก็ควรช่วยคิดวิธีการจ่ายหนี้ ไม่ใช่วิธีแจกเงิน เพราะมันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เป็นการซ่อนปัญหา เมื่อหนักขึ้นๆปัญหานั้นจะระเบิดออกมาเป็นปัญหาที่รุนแรงยากเกินกว่าจะแก้ไข

ไม่ควรเห็นพนักงานเป็นแหล่งรายได้ที่สร้างผลตอบแทนจากเงินกู้ยืม เพราะสุดท้ายแล้วองค์กรนั้นจะเสียประโยชน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การสอนให้คนคิดเป็นโดยการอุดรอยรั่วของรายจ่ายนั้นเหมือนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดให้คงอยู่ตลอดไป ทุกฝ่ายได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน ดังนั้น ถ้ามีสวัสดิการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้พนักงานควรพ่วงด้วย สวัสดิการการอบรมวิธีการจัดการเงินอย่างถูกต้อง และควรเพิ่มระเบียบวินัยการใช้จ่ายเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยพิจาณาการกู้ยืมด้วย

 

พ่อแม่รังแกฉัน

==> สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดทางด้านต่างๆให้ลูกว่าโลกแห่งความจริงที่กำลังจะเจอในอนาคตเป็นอย่างไร มันไม่ได้อบอุ่นหรือสวยงามมากเหมือนการอยู่กับพ่อแม่ สอนให้รู้จักคิดเป็น บางคนมีลูกดื้อมากเกินกว่าจะแก้ไขได้ก็อาจจะลองให้ลูกเรียนโรงเรียนประจำ เพราะเป็นการฝึกทุกอย่างให้รู้จักเวลาว่าตอนนี้ควรทำอะไร ทำทุกอย่างตามเวลาที่กำหนด การเข้าสังคมอยู่ร่วมกับคนอื่น การมีวินัยทางด้านการเงินว่าจะทำอย่างไรให้เงินที่มีอยู่นั้นพอใช้ในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือน

 

ไม่มีใครใช้เงินเป็นมาตั้งแต่เกิด

ทุกอย่างนั้นเกิดจากการปลูกฝัง

และเป็นทักษะที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ