นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จทุกคน...ย้ำนะครับ ว่าทุกคน !! จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน และเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนทุกประเภท นั้นก็คือ ความมีวินัย แบบถึงขั้นไร้จิตใจ ใช้เพียงกระบวนการต่าง ๆ มาตัดสินใจในการลงทุนแทนที่จะทำตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต่าง ๆ ของการลงทุน

ซึ่งผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ หรือว่ารายย่อยเอง ก็มีปัญหาในเรื่องนี้เหมือน ๆ กัน ก็คือ พอเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อเงินลงทุน หรือพอร์ตการลงทุนของเราก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า อยู่ไม่สุข ทั้ง ๆ ที่มีการตั้งเป้าหมาย กำหนดวิธีการอย่างดีแล้ว หรือบางครั้งก็เกิดอาการกลัวมากจนทำให้เราตัดสินใจผิดพลาด หรือ เกิดอารมณ์โลภอยากได้มากขึ้นระหว่างการลงทุน

แต่นักลงทุนรายใหญ่ที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ก็สามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี เนื่องจากมีเวลาในการหาข้อมูลมาเพิ่มเติมความมั่นใจในการลงทุนแต่ละครั้งได้อย่างรวดเร็วกว่า ในทางกลับกันนักลงทุนรายย่อย หรือ รายละเอียด (เล็กกว่ารายย่อยอีก) ที่ไม่ได้มีเวลาในการหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาเสริมกำลังใจว่าสิ่งที่ลงทุนอยู่นั้นดี หรือไม่ดีอย่างไร หรือว่าบางคนอาจจะมีประสบการณ์ไม่เท่ากับคนที่ลงทุนมานานกว่า จึงทำให้บางครั้งเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า

ยิ่งบางช่วงเวลาที่มีความผันผวนสูง อาจจะทำให้นักลงทุนรายย่อยขายหุ้นในตอนที่ไม่ควรขาย เพราะว่าทำใจเห็นความผันผวนไม่ได้ แต่พอตลาดเข้าสู่ภาวะปกติ ก็ไม่ได้มีเวลาในการนำเงินกลับเข้ามาลงทุนได้อย่างถูกเวลาทำให้พลาดจังหวะในการลงทุนไป

หรือว่า บางครั้ง นักลงทุนรายย่อยอาจจะลงทุนในเฉพาะช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นเท่านั้น เพราะว่ากลัวการขาดทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ และมักจะมีการเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในภาวะที่เป็นขาขึ้น ทำให้นักลงทุนได้ ราคาหุ้น หรือ ราคาหน่วยลงทุนที่แพงเกินไป เมื่อลงทุนไปซักพักถ้าตลาดหุ้นปรับตัวเป็นขาลง หุ้น หรือกองทุนที่ซื้อไว้ ก็จะปรับตัวลดลงอย่างหนัก และต้องรอนานกว่าตลาดหุ้นจะกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง (นานจนเป็นชาวดอย) ด้วยหลาย ๆ สาเหตุนี้ ทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วยอย่างที่คาดไว้นั่นเองครับ

ซึ่งจริง ๆ แล้ว นักลงทุนไม่ต้องจับจังหวะการลงทุนได้ถูกต้อง หรือเก่งกาจมากก็ได้ แค่นักลงทุนลงทุนต่อเนื่องอย่างมีวินัย หรือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยเงินลงทุนต่อเดือนที่เท่า ๆ กันที่เรามักจะเรียกกันว่า DCA (Dollar Cost Average) เองก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแล้วครับ

ภาพเปรียบเทียบ ระหว่างผลตอบแทนแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ กับ ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้จริง หากเพิ่มเงินลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจังหวะที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น (ขวามือสุด)

แต่วิธีการนี้ อาจจะต้องใช้เวลา และความอดทนอยู่พอสมควรครับ เนื่องจากว่าวิธีการนี้ เป็นมุมมองของการสะสมหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้น ที่ดีเก็บไว้มาก ๆ โดยมองข้ามเรื่องของราคาไป เพราะว่า การซื้อแบบถัวเฉลี่ยนั้น ราคาหน่วยลงทุนนั้น จะถูกเฉลี่ยไปในแต่ละเดือน จนทำให้เราได้ราคาหน่วยลงทุน หรือ ราคาหน่วยลงทุนที่ดีเหมาะสม และไม่แพงจนเกินไป

พอตลาดหุ้นกลับตัวเป็นขาขึ้นที่ชัดเจนอีกครั้ง หรือ ต่อให้พึ่งผ่านวิกฤตมา ด้วยปริมาณหน่วยลงทุน หรือ หุ้นที่อยู่ในกองทุนที่มีคุณภาพดี ที่เราได้สะสมไว้มาก ๆ ก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีครับ

ตัวอย่างการสะสมหน่วยลงทุน หรือ ว่าการทำ DCA ที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงจะเห็นผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
(ตัวอย่างภาพจาก WealthMagik)

พออ่านมาถึงตรงนี้ นักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงจะมีคำถามว่า แล้วจะต้องลงทุนต่อเดือนเท่าไหร่ดี จึงจะบรรลุเป้าหมายเงินล้าน ตามมาเลยครับ ผมมีคำตอบให้กับนักลงทุนทุกคนครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า การเก็บเงินล้าน แบบลงทุนทุกเดือนนั้น ปัจจัยที่จะมีผลต่อความเร็วในการถึงเป้าหมายเงินล้านก็คือ อัตราผลตอบแทน และ ปริมาณเงินที่ลงทุนไปครับ

โดยอัตราผลตอบแทนจะขึ้นกับ สินทรัพย์ที่เราจะไปลงทุนด้วย เช่น ถ้าเราลงทุนใน กองทุนตราสารหนี้ก็จะได้ผลตอบแทนประมาณ 2-4% ต่อปี ถ้าลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ผลตอบแทนที่เราจะได้ก็จะอยู่ที่ประมาณ  5-8% ต่อปี และถ้าเรารับความเสี่ยงได้สูง การลงทุนในกองทุนหุ้นผลตอบแทนก็จะอยู่ที่ประมาณ 10-12% ต่อปีครับ

แต่ถึงแม้ว่าการลงทุนในหุ้น หรือกองทุนหุ้นนั้นจะมีความเสี่ยงก็จริง แต่การลงทุนแบบสม่ำเสมอทุกเดือนนั้น จะทำให้ความผันผวนลดลงไปได้อีกด้วยครับ ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนระยะยาวเอง ความเสี่ยงของการลงทุนนั้นก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ ครับ โดยจากสถิติถ้านักลงทุนลงทุนในหุ้นด้วยระยะเวลาประมาณ 20 ปี โอกาสขาดทุนแทบจะเป็นศูนย์เลยครับ (ที่มา : JP Morgan: Guide to the Market)

ดังนั้นถ้านักลงทุนเองลงทุนแบบรายเดือนไปในระยะยาวมาก ๆ ก็ถือว่าความเสี่ยงที่จะขาดทุนก็จะน้อยลงไปอีกทางด้วยครับ

หลาย ๆ คน พอได้ฟังแบบนี้คงเริ่มอยากที่จะลงทุนแบบรายเดือนกันแล้วใช่ไหมละครับ แต่คงจะติดปัญหาที่ว่าจะลงทุนกับที่ไหน และลงทุนสม่ำเสมอได้อย่างไร เพราะว่าบางทีก็ไม่ได้มีเวลาในการไปเลือกซื้อกองทุนได้อย่างอิสระ บางครั้งก็ต่อคิวค่อนข้างยาวครับ แถมบางครั้งก็งานยุ่งจนไม่ได้มีเวลาไปซื้อกองทุนได้อย่างที่ต้องการ แถมบางจังหวะที่เห็นหุ้นปรับตัวลดลงมาเยอะ ๆ จะซื้อกองทุน LTF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษี และเป็นการลงทุนระยะยาวก็ทำได้ยาก

ถ้านักลงทุนเองกลัวว่าตัวเองจะไม่มีวินัยในการลงทุน และอยากลงทุนทุกเดือน ประมาณว่าตัดเงินไปก่อนที่เราจะใช้หมด