สวัสดีครับ วันนี้ผม Mr.Maibat มีช่องทางเพิ่มผลตอบแทนรูปแบบใหม่ในยุคดิจิตอลมาเล่าให้ฟัง มีชื่อว่า “การขายฝาก-รับซื้อฝากอสังหาฯ ผ่านระบบ Matching” ชื่ออาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่มีความน่าสนใจตรงที่การรับซื้อฝากเปิดโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดถึง 15% ต่อปี โดยการขายฝาก-รับซื้อฝากแบบใหม่นี้จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ภายใต้แบรนด์ ZAZZET ซึ่งเป็น Startup ในเครือของสามารถ คอร์ปอเรชั่น หลายคนคงชักสงสัยแล้วว่ากลไกทำงานอย่างไร ถูกกฎหมายหรือไม่ มีความเสี่ยงมากมั้ย และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง ตามอ่านต่อเลยครับ

การขายฝากอสังหาฯ คืออะไร?

การขายฝากอสังหาฯ คือ สัญญาซื้อขายอสังหาฯซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากนั้น สามารถไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ (ป.พ.พ. มาตรา ๔๙๑) โดยมีบุคคลอย่างน้อย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้นะครับ

1. ผู้ขายฝาก

เป็นผู้ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์ โดยทำสัญญาไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกิน 10 ปี โดยผู้ขายฝากมีสิทธิ์นำเงินมาไถ่อสังหาฯนั้นคืนกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา หากพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังไม่นำเงินมาชำระ ผู้ขายฝากหมดสิทธิ์ไถ่คืนทันที

2. ผู้รับซื้อฝาก

เป็นผู้ต้องการซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งหวังผลตอบแทนสูงและลดความเสี่ยงด้วยการรับซื้อฝาก ซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาทรัพย์จะตกไปยังผู้รับซื้อฝากทันทีที่จดทะเบียน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าผู้ขายฝากมีสิทธิ์ไถ่คืนตามเวลาในสัญญา

3. เจ้าพนักงานที่ดิน

เป็นผู้ดำเนินการให้สัญญาขายฝากถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากต้องทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่ตามโฉนด

โดยผลประโยชน์ตอบแทน และระยะเวลาในสัญญาขายฝากขึ้นอยู่กับผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากตกลงกัน แต่ต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด โดยผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 1.25% ต่อเดือน ส่วนระยะเวลาไถ่คืนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ซึ่งปัญหาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายจะเจอกันได้อย่างไร และที่สำคัญผลประโยชน์ตอบแทนกับระยะเวลาที่พอใจทั้งสองฝ่ายอยู่ที่เท่าไร ตรงจุดนี้เอง ZAZZET จะเป็นคนกลางเชื่อมให้เกิดธุรกรรมเร็วขึ้น ง่ายขึ้น ช่วยให้ความรู้และคำแนะนำในเรื่องการขายฝาก ช่วยดูแลให้การจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ขายฝากจึงไม่โดนขูดรีด และช่วยบริการเรื่องการทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินให้ด้วย

การขายฝากต่างกับจดจำนองอย่างไร?

สำหรับการขายฝาก หลังจากที่ทำสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แตกต่างจากการจดจำนองที่หลังจากการทำสัญญา กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะไม่ตกเป็นของผู้รับจำนอง แต่หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ที่จำนองไว้ต้องมีการฟ้องร้องบังคับคดีให้ศาลตัดสินยึดทรัพย์ก่อนเพื่อขายทอดตลาดซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลานานเป็นปี (การจำนองจึงมักได้วงเงินต่ำกว่าการขายฝาก) แต่ทั้งนี้ การขายฝากจะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจดจำนองครับ

บริการขายฝากออนไลน์

ยุคดิจิตอลแล้วการซื้อขายแทบทุกอย่างมีให้บริการกันทางออนไลน์ ซึ่งบริการขายฝากก็เป็นหนึ่งในนั้น ข้อดีก็คือสามารถดึงผู้สนใจซื้อและขายมาเจอกันทั่วประเทศ โอกาสที่ทั้งสองฝ่ายพอใจตกลงทำสัญญากันได้จึงมีสูงขึ้น ทาง ZAZZET จึงเห็นโอกาสนี้นำเสนอบริการขายฝากรูปแบบใหม่ผ่านออนไลน์โดยนอกจากจะเป็นเว็บไซต์รวบรวมทรัพย์และผู้รับซื้อฝากคุณภาพแล้ว

ZAZZET ยังมี บริการจับคู่ขายฝาก (Online Matching) ซึ่งคือบริการจับคู่ทรัพย์กับผู้รับซื้อฝากที่ใช่ ผ่านระบบการยื่นข้อเสนอด้วยราคาขายฝากและการจ่ายค่าตอบแทน โดยผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ ส่วนผู้ขายฝากเป็นผู้เลือกข้อเสนอที่ตรงกับความต้องการ

นอกจากนี้ ZAZZET ยังมีบริการเด่นที่มีข้อดีให้ผู้ขายฝาก และนักลงทุนอุ่นใจ ดังนี้

  • รวบรวมที่ดินผู้ขายฝากและนักลงทุนที่มีคุณภาพไว้ในที่เดียว โดยทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
  • บริการแนะนำบริษัทประเมินทรัพย์สินที่ได้รับการรับรองจาก กลต.
  • ผู้ขายฝากไม่ต้องกังวลเรื่องเครดิตบูโร สามารถขยายระยะเวลาไถ่ถอนได้
  • คุ้มค่าในผลตอบแทน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ผู้ขายฝากรับเงินก้อนทันทีวันโอน การจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • อำนวยความสะดวกตั้งแต่เริ่มต้นจนทำสัญญาขายฝากสำเร็จ ณ กรมที่ดิน
  • สะดวก รวดเร็ว ใช้งานเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชม.

ข้อควรระวังในการ ขายฝาก-รับซื้อฝาก

เหตุผลความต้องการเรื่องเงินของคนเราต่างกัน แต่การทำนิติกรรมสัญญาควรอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด พอครบกำหนดผู้ขายฝากก็อยากได้ที่คืน ผู้รับซื้อฝากก็อยากได้เงินต้นพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนคืน มาดูกันครับว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ข้อควรระวังสำหรับผู้ขายฝาก

  • ระยะเวลาในสัญญาไม่ควรสั้นจนเกินไป ผู้ขายฝากจะได้มีเวลาเพียงพอหาเงินมาไถ่คืน
  • หากเกิดปัญหาผู้ขายฝากไม่สามารถนำเงินมาไถ่คืนก็ควรรีบติดต่อกับผู้รับซื้อฝาก เพื่อบอกเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอเลื่อนระยะเวลาออกไป
  • หลีกเลี่ยงการขายฝากที่ระบุราคาขายในสัญญาไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ขายฝากไว้ที่ราคาจริง 1,000,000 บาท แต่ผู้รับซื้อฝากให้ระบุในสัญญาที่ราคา 1,200,000 บาท และถูกเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนอีกด้วย

ข้อควรระวังสำหรับผู้รับซื้อฝาก

  • เงินทุนที่นำมาให้กู้ยืมควรเป็นเงินเย็น เผื่อกรณีสินทรัพย์ที่ได้มาจากการขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สภาพคล่องไม่สูงนัก จึงต้องใช้เวลาหากต้องการขายออก
  • กรณีที่ผู้ขายฝากยังคงอยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้น และไม่สามารถชำระผลประโยชน์ตอบแทนรายเดือนตามที่คุยกันไว้ได้ อาจต้องหาวิธีการรับมือ

จะเห็นได้ว่า การขายฝาก – รับซื้อฝาก มีรายละเอียดที่ค่อนข้างเยอะแต่จริงๆแล้วเรา